เครื่องมือช่วยการเข้าถึง
keyboard navigation
block animations
color contrast
เฉดสีเทา
สีปกติ
สีกลับกัน
text size
เพิ่มขนาดตัวอักษร
ลดขนาดตัวอักษร
readable
text
highlighting content
underline
links
underline
headers
images
titles
zoom in
big white
cursor
big black
cursor
zoom
screen
accessibility statement
report an accessibility problem
ล้างค่า
เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
วัสดุในการก่อสร้างปราสาทสด๊กก๊อกธม
วัสดุในการก่อสร้างปราสาทสด๊กก๊อกธม
• ไม้
เป็นวัสดุพื้นฐานที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารโดยทั่วไป ปราสาทเขมรมีการใช้ไม้มาทำเป็นประตู ฝ้าเพดาน และโครงสร้างหลังคา ปราสาทสด๊กก๊อกธมไม่พบหลักฐานที่เป็นไม้ อาจจะเกิดจากสภาพอากาศเป็นตัวแปรทำให้เสื่อมสภาพ แต่ก็มีการพบร่องเดือยบานประตู สันนิษฐานว่าบานประตูทำจากไม้
• กระเบื้องดินเผา
จากการสำรวจปราสาทสด๊กก๊อกธมพบว่ามีการใช้กระเบื้องดินเผามามุงหลังคา
• หินทราย
เพราะเป็นวัสดุที่มีความมั่นคงแข็งแรง หาได้ง่าย สลักลวดลายง่าย และมีความงดงาม จึงได้รับความนิยมนำมาสร้างปราสาทขอมมากที่สุด การนำวัสดุประเภทหินมาใช้สร้างปราสาทนั้น ช่างขอมรู้จักมาแล้วตั้งแต่ในยุคแรกเริ่ม เช่นเดียวกับอิฐ แต่ในระยะแรก นำมาใช้ประกอบ เพื่อความมั่นคงแข็งแรง เช่น ทำเป็นส่วนฐานอาคาร เสา กรอบประตู ทับหลัง ปราสาทสด๊กก๊อกธมใช้หินทรายในการสร้างตัวอาคาร เป็นหลัก
• ศิลาแลง
เป็นวัสดุที่มีความคงทนและ แข็งแรง เมื่ออยู่ใต้ดินจะอ่อนตัวสามารถตัด เป็นรูปทรงที่ต้องการได้ง่าย แต่เมื่อสัมผัส กับอากาศแล้วจะแข็งตัว ไม่สามารถตกแต่งเป็นรูปทรงได้ ดังนั้น จึงนิยมใช้ศิลาแลงมาทำเป็นส่วนฐานของอาคาร เพราะสามารถรับ น้ำหนักได้ดี ปราสาทสด๊กก๊อกธมนั้นปรากฎเพียงมีการนำศิลาแลงมาก่อเป็นกำแพง ฐานและฉนวนทางเดิน
-----------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : ปราสาทสด๊กก๊อกธม สำนักศิลปากรที่ ๕ https://www.facebook.com/104122911122606/posts/187544102780486/?extid=0&d=n
-----------------------------------------------
(จำนวนผู้เข้าชม 1427 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน