การสำรวจจารึกวัดราชคฤห์วรวิหาร
การสำรวจจารึกวัดราชคฤห์เกิดขึ้นจากกลุ่มงานภาษาโบราณ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก กรมศิลปากร ได้รับการประสานงานจาก กองโบราณคดี กรมศิลปากร ว่าพบจารึกบริเวณด้านข้างของพระพุทธบาทจำลอง ณ บริเวณมณฑป บนเขามอ ของวัดราชคฤห์ แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ จึงได้เดินทางไปดำเนินการตรวจสอบจารึกพระพุทธบาทจำลอง วัดราชคฤห์ เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๓
สภาพจารึกฐานพระพุทธบาทในมณฑปบนเขามอ วัดราชคฤห์ กรุงเทพฯ
เมื่อเข้าไปตรวจสอบสภาพของฐานพระพุทธบาทและจารึกพบว่าฐานพระพุทธบาทจำลองนี้สร้างจากปูนหล่อ มีขนาด (รวมฐาน) ความกว้างด้านบน ๙๖ ซม. ความกว้างด้านล่าง ๙๒ ซม. ความยาว ๒๖๐ ซม. ความสูง ๗๕ ซม. วัดโดยรอบรอยพระพุทธบาท ๕๒๐ ซ.ม. ลักษณะภายนอกมีการลงรักปิดทอง ประกอบกับรักที่ทาไว้มีความชื้นและเหนียว ทำให้ไม่สามารถทำสำเนาจารึกด้วยกระดาษเพลาได้ ทางคณะสำรวจฯ จึงดำเนินการทำสำเนาด้วยการลงแป้งบริเวณตัวจารึกเพื่ออ่านถ่ายถอดและตรวจสอบวิเคราะห์ จากนั้นก็ทำการบันทึกภาพ พร้อมทั้งดำเนินการลงทะเบียนจารึก
นายเทิม มีเต็ม ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากรและนักภาษาโบราณ ตรวจสอบจารึก
นักภาษาโบราณดำเนินการลงแป้งเพื่ออ่านตรวจสอบวิเคราะห์
ดำเนินการลงทะเบียนและอ่านตรวจสอบวิเคราะห์
ซึ่งรายละเอียดของการลงทะเบียนจารึกฐานพระพุทธบาทในมณฑปบนเขามอ วัดราชคฤห์ กรุงเทพฯ มีดังนี้
ทะเบียนจารึก
ชื่อจารึก จารึกพระพุทธบาทจำลอง
ทะเบียนจารึก กท.๓๐๕
อักษร ไทย
ศักราช พุทธศักราช ๒๓๔๒
ภาษา ไทย
ด้าน/บรรทัด ๑ ด้าน ๑ บรรทัด
วัตถุจารึก รอยพระพุทธบาท
ลักษณะวัตถุ ปูนลงรักปิดทอง
ขนาดวัตถุ รอยพระพุทธบาทรวมฐาน ด้านบนกว้าง ๙๖ ซม. ด้านล่างกว้าง ๙๒ ซม. ยาว ๒๖๐ ซม. สูง ๗๕ ซ.ม. วัดโดยรอบ ๕๒๐ ซม.
รอยพระพุทธบาท ด้านบนกว้าง ๖๒.๕ ด้านล่างกว้าง ๔๔ ซ.ม. ยาว ๑๖๒ ซ.ม. จารึก สูง ๕.๕ ซ.ม. ยาว ๑๔๒ ซ.ม.
พบเมื่อ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ //สถานที่พบ มณฑปบนเขามอ วัดราชคฤห์ แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ผู้พบ กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี กองโบราณคดี
ปัจจุบันอยู่ที่ มณฑปบนเขามอ วัดราชคฤห์ แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ประวัติ กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี กองโบราณคดี สำรวจพบเมื่อ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓
เมื่ออ่านถ่ายถอดและวิเคราะห์จารึกฐานพระพุทธบาทจำลองนี้ได้ความว่า
คำอ่าน
๏ วัน ๖ ๑๕ ๒ จุลศักราช ๑๑๖๑ ปีมแมเอกศกเจ้าพญาพระคลังหล่อลายลักษณพระพุทธบาทฉลององคสมเดจ์พระพุทธิเจ้าไว้ในสาษนาจงเปนปัจจัย (แก่) พระนิพานขอแผ่กุสนนี้ ให้แก่สมณอาณาประชาราษฎรแลสรรพสัตวทังปวงจงทัว
คำปัจจุบัน
๏ วันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ จุลศักราช ๑๑๖๑ ปีมะแมเอกศก เจ้าพระยาพระคลังหล่อลายลักษณ์พระพุทธบาทฉลององค์สมเด็จพระพุทธิเจ้าไว้ในศาสนาจงเป็นปัจจัย (แก่) พระนิพพานขอแผ่กุศลนี้ ให้แก่สมณอาณาประชาราษฎรแลสรรพสัตว์ทั้งปวงจงทั่ว
จากการอ่านถ่ายถอดและวิเคราะห์พบว่ารอยพระพุทธบาทจำลองจารึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย จุลศักราช ๑๑๖๑ รอยพระพุทธบาทจำลองนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ จุลศักราช ๑๑๖๑ ปีมะแมเอกศก ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๓๔๒ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑ )
ส่วนผู้ที่สร้างพระพุทธบาทจำลองนี้คือเจ้าพระยาพระคลัง ซึ่งในช่วงเวลานี้สันนิษฐานว่าน่าจะหมายถึง เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าตรงกับประวัติความเป็นมาของวัดราชคฤห์ดังนี้
“วัดราชคฤห์ เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนปลาย หรือก่อนสมัยกรุงธนบุรี โดยพวกนาย กองมอญที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร และตั้งบ้านเรือนอยู่ในแขวงบางยี่เรือ เมื่อสร้างเสร็จแล้วมีชื่อเรียกตามสถานที่ตั้งว่า “วัดบางยี่เรือ” บางทีก็เรียกว่า “วัดบางยี่เรือมอญ” หรือ “วัดมอญ”ที่เรียกเช่นนี้ คงสืบเนื่องจากเดิมมีพระมอญจำพรรษาอยู่ ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี คงจะมีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดเพราะเชื่อกันว่าพระยาพิชัย (พระยาพิชัยดาบหัก) แม่ทัพสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นผู้สร้างพระอุโบสถ (ปัจจุบันคือพระวิหารใหญ่) และพระปรางค์เหลี่ยมย่อไม้ยี่สิบ ด้านหน้าพระวิหารใหญ่ มาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดบางยี่เรือมอญ หรือวัดมอญ ขึ้นเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า “วัดราชคฤห์” ในการนี้ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เสนาบดีกรมท่า ได้สร้างเขามอเป็นภูเขาประดับด้วยหินจากทะเลบนยอดเขาสร้าง “มณฑปจตุรมุข” เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง สร้างพระสถูปและนำพระบรมธาตุมาบรรจุไว้”
----------------------------------------------
ข้อมูล : นางศิวพร เฉลิมศรี นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
----------------------------------------------
บรรณานุกรม
พระคลัง (หน), เจ้าพระยา. จารึกเรื่องสร้างภูเขาที่วัดราชคฤห์. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๖. พระคลัง (หน), เจ้าพระยา. ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตศรีวิชัยชาดก กลอนจารึกเรื่องสร้างภูเขา วัดราชคฤห์. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๕๐๗. ราชบัณฑิตยสถาน. ประวัติวัดราชคฤห์. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๒๘.
สภาพจารึกฐานพระพุทธบาทในมณฑปบนเขามอ วัดราชคฤห์ กรุงเทพฯ
เมื่อเข้าไปตรวจสอบสภาพของฐานพระพุทธบาทและจารึกพบว่าฐานพระพุทธบาทจำลองนี้สร้างจากปูนหล่อ มีขนาด (รวมฐาน) ความกว้างด้านบน ๙๖ ซม. ความกว้างด้านล่าง ๙๒ ซม. ความยาว ๒๖๐ ซม. ความสูง ๗๕ ซม. วัดโดยรอบรอยพระพุทธบาท ๕๒๐ ซ.ม. ลักษณะภายนอกมีการลงรักปิดทอง ประกอบกับรักที่ทาไว้มีความชื้นและเหนียว ทำให้ไม่สามารถทำสำเนาจารึกด้วยกระดาษเพลาได้ ทางคณะสำรวจฯ จึงดำเนินการทำสำเนาด้วยการลงแป้งบริเวณตัวจารึกเพื่ออ่านถ่ายถอดและตรวจสอบวิเคราะห์ จากนั้นก็ทำการบันทึกภาพ พร้อมทั้งดำเนินการลงทะเบียนจารึก
นายเทิม มีเต็ม ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากรและนักภาษาโบราณ ตรวจสอบจารึก
นักภาษาโบราณดำเนินการลงแป้งเพื่ออ่านตรวจสอบวิเคราะห์
ดำเนินการลงทะเบียนและอ่านตรวจสอบวิเคราะห์
ซึ่งรายละเอียดของการลงทะเบียนจารึกฐานพระพุทธบาทในมณฑปบนเขามอ วัดราชคฤห์ กรุงเทพฯ มีดังนี้
ทะเบียนจารึก
ชื่อจารึก จารึกพระพุทธบาทจำลอง
ทะเบียนจารึก กท.๓๐๕
อักษร ไทย
ศักราช พุทธศักราช ๒๓๔๒
ภาษา ไทย
ด้าน/บรรทัด ๑ ด้าน ๑ บรรทัด
วัตถุจารึก รอยพระพุทธบาท
ลักษณะวัตถุ ปูนลงรักปิดทอง
ขนาดวัตถุ รอยพระพุทธบาทรวมฐาน ด้านบนกว้าง ๙๖ ซม. ด้านล่างกว้าง ๙๒ ซม. ยาว ๒๖๐ ซม. สูง ๗๕ ซ.ม. วัดโดยรอบ ๕๒๐ ซม.
รอยพระพุทธบาท ด้านบนกว้าง ๖๒.๕ ด้านล่างกว้าง ๔๔ ซ.ม. ยาว ๑๖๒ ซ.ม. จารึก สูง ๕.๕ ซ.ม. ยาว ๑๔๒ ซ.ม.
พบเมื่อ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ //สถานที่พบ มณฑปบนเขามอ วัดราชคฤห์ แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ผู้พบ กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี กองโบราณคดี
ปัจจุบันอยู่ที่ มณฑปบนเขามอ วัดราชคฤห์ แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ประวัติ กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี กองโบราณคดี สำรวจพบเมื่อ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓
เมื่ออ่านถ่ายถอดและวิเคราะห์จารึกฐานพระพุทธบาทจำลองนี้ได้ความว่า
คำอ่าน
๏ วัน ๖ ๑๕ ๒ จุลศักราช ๑๑๖๑ ปีมแมเอกศกเจ้าพญาพระคลังหล่อลายลักษณพระพุทธบาทฉลององคสมเดจ์พระพุทธิเจ้าไว้ในสาษนาจงเปนปัจจัย (แก่) พระนิพานขอแผ่กุสนนี้ ให้แก่สมณอาณาประชาราษฎรแลสรรพสัตวทังปวงจงทัว
คำปัจจุบัน
๏ วันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ จุลศักราช ๑๑๖๑ ปีมะแมเอกศก เจ้าพระยาพระคลังหล่อลายลักษณ์พระพุทธบาทฉลององค์สมเด็จพระพุทธิเจ้าไว้ในศาสนาจงเป็นปัจจัย (แก่) พระนิพพานขอแผ่กุศลนี้ ให้แก่สมณอาณาประชาราษฎรแลสรรพสัตว์ทั้งปวงจงทั่ว
จากการอ่านถ่ายถอดและวิเคราะห์พบว่ารอยพระพุทธบาทจำลองจารึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย จุลศักราช ๑๑๖๑ รอยพระพุทธบาทจำลองนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ จุลศักราช ๑๑๖๑ ปีมะแมเอกศก ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๓๔๒ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑ )
ส่วนผู้ที่สร้างพระพุทธบาทจำลองนี้คือเจ้าพระยาพระคลัง ซึ่งในช่วงเวลานี้สันนิษฐานว่าน่าจะหมายถึง เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าตรงกับประวัติความเป็นมาของวัดราชคฤห์ดังนี้
“วัดราชคฤห์ เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนปลาย หรือก่อนสมัยกรุงธนบุรี โดยพวกนาย กองมอญที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร และตั้งบ้านเรือนอยู่ในแขวงบางยี่เรือ เมื่อสร้างเสร็จแล้วมีชื่อเรียกตามสถานที่ตั้งว่า “วัดบางยี่เรือ” บางทีก็เรียกว่า “วัดบางยี่เรือมอญ” หรือ “วัดมอญ”ที่เรียกเช่นนี้ คงสืบเนื่องจากเดิมมีพระมอญจำพรรษาอยู่ ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี คงจะมีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดเพราะเชื่อกันว่าพระยาพิชัย (พระยาพิชัยดาบหัก) แม่ทัพสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นผู้สร้างพระอุโบสถ (ปัจจุบันคือพระวิหารใหญ่) และพระปรางค์เหลี่ยมย่อไม้ยี่สิบ ด้านหน้าพระวิหารใหญ่ มาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดบางยี่เรือมอญ หรือวัดมอญ ขึ้นเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า “วัดราชคฤห์” ในการนี้ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เสนาบดีกรมท่า ได้สร้างเขามอเป็นภูเขาประดับด้วยหินจากทะเลบนยอดเขาสร้าง “มณฑปจตุรมุข” เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง สร้างพระสถูปและนำพระบรมธาตุมาบรรจุไว้”
----------------------------------------------
ข้อมูล : นางศิวพร เฉลิมศรี นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
----------------------------------------------
บรรณานุกรม
พระคลัง (หน), เจ้าพระยา. จารึกเรื่องสร้างภูเขาที่วัดราชคฤห์. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๖. พระคลัง (หน), เจ้าพระยา. ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตศรีวิชัยชาดก กลอนจารึกเรื่องสร้างภูเขา วัดราชคฤห์. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๕๐๗. ราชบัณฑิตยสถาน. ประวัติวัดราชคฤห์. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๒๘.
(จำนวนผู้เข้าชม 3344 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน