เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ความหมายและลวดลายบนสังคโลก
ลวดลายต่าง ๆ ที่ใช้ในการตกแต่งเครื่องสังคโลก แบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ ลวดลายที่พบเห็นได้ในธรรมชาติ เช่น ลายดอกไม้ ลายพันธุ์พฤกษา ลายสัตว์ และลวดลายประดิษฐ์ จำพวกลายเรขาคณิต ลายช่องกระจก ซึ่งลวดลายเหล่านี้ยังเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการรับอิทธิพลมาจากต่างชาติด้วย เช่น ลายพันธุ์ไม้ก้านขด ที่พบในภาชนะดินเผาของจีน ลายตาราง (หรือลายร่างแห หรือลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน) ที่สันนิษฐานว่าน่าจะสืบทอดมาจากลายประแจจีน เป็นต้น
ไม่เพียงช่วยให้เครื่องสังคโลกมีความสวยงามเท่านั้น แต่ลวดลายดังกล่าวยังถือเป็นลายมงคลที่ซ่อนความหมายต่าง ๆ ไว้อีกด้วย เช่น ลายดอกบัว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ความบริสุทธิ์ และฤดูร้อน ลายดอกเบญจมาศ หมายถึง การหยุดพักผ่อน การมีอายุยืน และฤดูใบไม้ร่วง ลายดอกโบตั๋น หมายถึง ความร่ำรวย เกียรติยศ ความรัก ความงาม และฤดูใบไม้ผลิ ลายดอกพิกุล และ ลายปลา หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ลายปลาคู่ หมายถึง ความปรองดองและความสุขในชีวิตสมรส ลายนกยูง หมายถึง ความงามและการมีเกียรติยศ
ลายดอกบัว
ลายดอกเบญจมาศ
ลายดอกพิกุล
ลายปลา
ลายนกยูง
ลายพันธุ์พฤกษา
ลายช่องกระจก
ลายตาราง หรือลายร่างแห
------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
------------------------------------------------
(จำนวนผู้เข้าชม 1386 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน