อธิบดีกรมศิลปากรตรวจติดตามโครงการบูรณะพระอุโบสถวัดมาตุคุณาราม จังหวัดพังงา
อธิบดีกรมศิลปากร ตรวจติดตามการดำเนินโครงการบูรณะพระอุโบสถวัดมาตุคุณาราม ตำบล กระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ซึ่งกรมศิลปากรได้อุดหนุนงบประมาณในการดำเนินงาน เพื่ออนุรักษ์โบราณสถานอันเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติ
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ทางวัดมาตุคุณาราม โดยพระครู สัจจญาณประยุต เจ้าอาวาส ได้หารือมายังสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช เพื่อบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถวัดมาตุคุณาราม เนื่องจากในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมา พระอุโบสถมีสภาพชำรุดทรุดโทรม หลังคารั่ว เครื่องไม้หลังคาผุกร่อน ฯลฯ เป็นอุปสรรคต่อการประกอบศาสนกิจของสงฆ์ โดยวัดมีงบประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการสำรวจสภาพความชำรุด จัดทำรูปแบบรายการ และประมาณการค่าใช้จ่ายในการบูรณะอุโบสถวัดมาตุคุณาราม เป็นเงินทั้งสิ้น ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท จึงได้ขอตั้งงบประมาณในลักษณะงบอุดหนุน โดยกรมศิลปากรได้จัดสรรงบประมาณให้เป็นเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท จากนั้นวัดมาตุคุณาราม ได้ว่าจ้างผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์ และมีผลงานเป็นที่ยอมรับมาทำการบูรณะ เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๓ มีกำหนดแล้วเสร็จ ภายในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ นับเป็นการประสานความร่วมมืออย่างดีระหว่างวัดและกรมศิลปากร ทั้งด้านการทำงานและงบประมาณ โดยมีเป้าหมายร่วมกันเพื่ออนุรักษ์โบราณสถานอันเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติให้ยั่งยืนสืบไป
วัดมาตุคุณาราม สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. ๒๓๓๐ – ๒๓๔๐ โดยพระยาโลหะภูมิพิสัย (ขุนดำ ณ ตะกั่วทุ่ง) เป็นผู้สร้าง เพื่อตอบแทนคุณมารดา จึงมีนามว่า “วัดมาตุคุณาราม” แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดใหม่” เพราะสร้างขึ้นคู่กับวัดบูรณารามที่มีอยู่เดิม วัดนี้ได้รับการอุปถัมภ์บำรุงเป็นอย่างดีจากตระกูล ณ ตะกั่วทุ่ง ๓ ชั่วอายุคนติดต่อกันมา คือ พระตะกั่วทุ่ง (ขุนดำ) พระตะกั่วทุ่ง (ถิน) พระตะกั่วทุ่งอ่อน (อ่อน) สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถ รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่ออิฐถือปูน มีมุขด้านหน้าและด้านหลัง ประตูประดับลวดลายปูนปั้นรูป วงโค้งแสดงอิทธิพลศิลปะตะวันตก หลังคาเครื่องไม้ทรงจั่วซ้อนกัน ๒ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ภายในอุโบสถประดิษฐานกลุ่มพระพุทธรูปปูนปั้นโบราณศิลปะพื้นถิ่นภาคใต้ มีพระประธานปางปาลิไลยก์ ขนาบข้างด้วยพระพุทธรูปปางมารวิชัยและปางสมาธิ รอบอุโบสถมีใบเสมา ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมทรงดอกบัวตูม กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดมาตุคุณาราม ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๐ ง หน้า ๙ วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๙
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ทางวัดมาตุคุณาราม โดยพระครู สัจจญาณประยุต เจ้าอาวาส ได้หารือมายังสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช เพื่อบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถวัดมาตุคุณาราม เนื่องจากในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมา พระอุโบสถมีสภาพชำรุดทรุดโทรม หลังคารั่ว เครื่องไม้หลังคาผุกร่อน ฯลฯ เป็นอุปสรรคต่อการประกอบศาสนกิจของสงฆ์ โดยวัดมีงบประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการสำรวจสภาพความชำรุด จัดทำรูปแบบรายการ และประมาณการค่าใช้จ่ายในการบูรณะอุโบสถวัดมาตุคุณาราม เป็นเงินทั้งสิ้น ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท จึงได้ขอตั้งงบประมาณในลักษณะงบอุดหนุน โดยกรมศิลปากรได้จัดสรรงบประมาณให้เป็นเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท จากนั้นวัดมาตุคุณาราม ได้ว่าจ้างผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์ และมีผลงานเป็นที่ยอมรับมาทำการบูรณะ เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๓ มีกำหนดแล้วเสร็จ ภายในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ นับเป็นการประสานความร่วมมืออย่างดีระหว่างวัดและกรมศิลปากร ทั้งด้านการทำงานและงบประมาณ โดยมีเป้าหมายร่วมกันเพื่ออนุรักษ์โบราณสถานอันเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติให้ยั่งยืนสืบไป
วัดมาตุคุณาราม สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. ๒๓๓๐ – ๒๓๔๐ โดยพระยาโลหะภูมิพิสัย (ขุนดำ ณ ตะกั่วทุ่ง) เป็นผู้สร้าง เพื่อตอบแทนคุณมารดา จึงมีนามว่า “วัดมาตุคุณาราม” แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “วัดใหม่” เพราะสร้างขึ้นคู่กับวัดบูรณารามที่มีอยู่เดิม วัดนี้ได้รับการอุปถัมภ์บำรุงเป็นอย่างดีจากตระกูล ณ ตะกั่วทุ่ง ๓ ชั่วอายุคนติดต่อกันมา คือ พระตะกั่วทุ่ง (ขุนดำ) พระตะกั่วทุ่ง (ถิน) พระตะกั่วทุ่งอ่อน (อ่อน) สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถ รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่ออิฐถือปูน มีมุขด้านหน้าและด้านหลัง ประตูประดับลวดลายปูนปั้นรูป วงโค้งแสดงอิทธิพลศิลปะตะวันตก หลังคาเครื่องไม้ทรงจั่วซ้อนกัน ๒ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ภายในอุโบสถประดิษฐานกลุ่มพระพุทธรูปปูนปั้นโบราณศิลปะพื้นถิ่นภาคใต้ มีพระประธานปางปาลิไลยก์ ขนาบข้างด้วยพระพุทธรูปปางมารวิชัยและปางสมาธิ รอบอุโบสถมีใบเสมา ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมทรงดอกบัวตูม กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดมาตุคุณาราม ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๐ ง หน้า ๙ วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๙
(จำนวนผู้เข้าชม 1212 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน