เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
เศียรพระพรหมในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
เศียรพระพรหมปูนปั้นประดับศาสนสถาน ได้จากวัดพระแก้ว กลางเมืองกำแพงเพชร ลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างยาว แสดงให้เห็นเพียงสามพักตร์ สวมกระบังหน้า พระขนงโกงต่อกันเหนือสันพระนาสิก พระเนตรเบิกโต พระโอษฐ์บางอมยิ้มเล็กน้อย
พระพรหมเป็นเทพสำคัญหนึ่งในสามองค์ของศาสนาฮินดูที่เรียกว่า ตรีมูรติ ซึ่งประกอบไปด้วยพระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ แต่ในคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนานั้น พระพรหมถือเป็นเทวดาองค์หนึ่งที่สถิตบนสวรรค์ชั้นสูงที่เรียกว่าชั้นพรหม (พรหมภูมิ) ซึ่งอยู่สูงกว่าเทวดาทั่วไป พระพรหมยังคงมีการเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในกามาวจรภพ
พุทธศาสนาได้แบ่งพระพรหมออกเป็น ๒ ประเภท คือ พรหมที่มีรูป เรียกว่า "รูปพรหม" มีทั้งหมด ๑๖ ชั้น และพรหมที่ไม่มีรูป เรียกว่า "อรูปพรหม" มีทั้งหมด ๔ ชั้น โดยอรูปพรหมจะสูงกว่ารูปพรหม พระพรหมได้ปรากฏอยู่ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในพระพุทธศาสนาอยู่หลายครั้งทั้งชาดกและพุทธประวัติ ซึ่งเรื่องราวตอนสำคัญที่พบในงานศิลปกรรม คือ พุทธประวัติตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์หลังจากเทศนาโปรดพุทธมารดา โดยพระพรหมได้ตามเสด็จลงมาทางบันไดแก้วที่อยู่ทางซ้ายของพระพุทธเจ้า ดังปรากฏเป็นภาพปูนปั้นเล่าเรื่องที่มณฑปวัดตระพังทองหลาง เมืองเก่าสุโขทัย
-------------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
-------------------------------------------------------------
บรรณานุกรม กรมศิลปากร. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๗.
(จำนวนผู้เข้าชม 1866 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน