ปี้ เบี้ยบ่อน
ปี้ คือสิ่งที่ใช้แทนเงินตราในบ่อนเบี้ย ทำจากวัสดุต่าง ๆ เช่น กระเบื้อง ทองเหลือง แก้ว มีรูปร่างและลวดลายหลากหลายแบบ กล่าวกันว่ามีมากกว่า ๕,๐๐๐ แบบ
ในช่วงปีพ.ศ. ๒๓๑๖ สยามประสบปัญหาการขาดแคลนเงินปลีก ประชาชนได้นำปี้มาใช้แทนเงินปลีก จนกระทั่งในปีพ.ศ.๒๔๑๗ ทางการได้พิมพ์อัฐกระดาษขึ้นใช้แทนเป็นการแก้ปัญหาชั่วคราว
บ่อนเบี้ย เป็นสถานที่สำหรับเล่นถั่วโป ไม่แน่ชัดว่าเริ่มมีในไทยเมื่อใด สันนิษฐานว่าเริ่มมีในชุมชนที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก เนื่องจากเป็นการพนันประเภทที่ชาวจีนในอดีตนิยมเล่น การเล่นถั่วโปนั้นสามารถเล่นได้เฉพาะผู้ที่รัฐอนุญาตแล้วเท่านั้น โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตต้องเสียเงินเข้าท้องพระคลัง จึงเกิดขึ้นเป็นอากรบ่อนเบี้ยขึ้น
ในสมัยอยุธยากำหนดให้สามารถเล่นถั่วโปได้เฉพาะชาวจีนเท่านั้น พบว่ามีการขอตั้งบ่อนเบี้ยขึ้นในพื้นที่ที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก ต่อมาในสมัยธนบุรีจึงอนุญาตให้คนไทสามารถเล่นถั่วโปได้ อาจเนื่องจากว่าเป็นช่วงศึกสงครามจึงผ่อนปรนให้ไพร่พลได้เล่นเพื่อผ่อนคลาย และอนุญาตให้เล่นต่อมาเรื่อย ๆ
ในสมัยรัชกาลที่ ๒ มีรายได้จากอากรบ่อนเบี้ยเพิ่มขึ้น มีการแบ่งแขวงอากรบ่อนเบี้ย โดยบ่อนเบี้ยได้แพร่หลายออกไปตามหัวเมืองมากขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๓ การค้าเจริญขึ้นมีการจัดระเบียบภาษีอากรต่าง ๆ และมีการตั้งอากรหวยเพิ่มขึ้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการตั้งอากรการพนันขึ้นโดยกำหนดประเภทการพนันที่จะต้องเสียภาษีให้แก่อากรบ่อนเบี้ย ในช่วงรัชกาลที่ ๔ จึงมีรายได้จากการจัดเก็บอากรบ่อนเบี้ยในแต่ละปีเพิ่มขึ้น จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้โปรดให้ลดจำนวนบ่อนเบี้ยลงตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ เป็นต้นมา โดยค่อย ๆ ลดจำนวนบ่อนเบี้ยลงเรื่อย ๆ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ โปรดให้เลิกบ่อนเบี้ยที่อยู่ตามหัวเมืองทั้งหมดทุกมณฑล และค่อย ๆ ลดจำนวนบ่อนที่เหลือในกรุงเทพฯ ลง ต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๕๙ ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้เลิกหวยและบ่อนเบี้ยทั้งหมด และทรงตั้งพระราชบัญญัติห้ามเล่นหวยเล่นถั่วโปในพระราชอาณาจักรโดยมีพระราชประสงค์ให้ไพร่บ้านพลเมืองได้มีเงินไว้ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพให้เป็นประโยชน์แก่ตน
สำหรับการตั้งนายอากรบ่อนเบี้ยนั้น รัฐเป็นผู้กำหนดแขวงสำหรับทำอากร ในช่วงสิ้นปีผู้ที่ประสงค์จะเป็นนายอากรจะต้องยื่นเรื่องต่อเจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติว่าจะขอผูกอากรในพื้นที่แขวงใด หากแขวงนั้นมีผู้ยื่นหลายรายจะมีการประมูล ผู้ที่ประมูลได้ต้องมีผู้รับรองจากนั้นต้องส่งเงินงวดล่วงหน้า ๒ เดือน หากสิ้นปีไม่มีผู้ใดประมูลต่อนายอากรคนเดิมก็จะได้ทำต่อไป
ในการเปิดบ่อนเบี้ยนายอากรได้ผลิตปี้ขึ้นใช้แทนเงินปลีก ในระยะแรกปี้ผลิตขึ้นจากโลหะหรือแก้ว ต่อมาจึงเริ่มใช้ปี้ที่ผลิตจากกระเบื้องเคลือบซึ่งสั่งผลิตจากจีน โดยนายอากรแต่ละคนใช้ปี้ที่มีลวดลายต่างกันไป แต่กำหนดมูลค่าปี้เป็นมาตรฐานที่ราคาปี้ละ ๑ สลึง ๑ เฟื้อง และ ๒ ไพ เวลาคนเข้าไปเล่นเบี้ยจะต้องนำเงินไปแลกปี้ เมื่อเล่นเสร็จจึงนำเงินที่มีอยู่ไปแลกเป็นเงินกลับไป แต่บางครั้งผู้เล่นยังไม่นำปี้ไปแลกเป็นเงิน เนื่องจากเชื่อว่าจะนำมาแลกเป็นเงินเมื่อไหร่ก็ได้ จึงเริ่มมีการชำระหนี้หรือซื้อสินค้าโดยใช้ปี้แทนเงินตรา เมื่อมีการเปลี่ยนนายอากรหรือมีผู้ทำปี้ปลอมขึ้นนายอากรสามารถยกเลิกปี้แบบเดิม โดยประกาศว่าจะยกเลิกปี้แบบเดิมให้ผู้ที่มีปี้แบบเดิมนำปี้มาแลกเงินคืนในระยะเวลาที่กำหนด นายอากรจึงมักได้กำไรจากปี้ที่ไม่มีผู้นำกลับมาแลกอีกด้วย
------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
https://www.facebook.com/NanNationalMuseum1987/photos/a.1180075428787896/3115307448598008/
------------------------------------------------
เอกสารประกอบ
เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงค์ : นวรัตน์ เลขะกุล สนพ.สารคดี, ๒๕๔๗
ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๗ ตำนานเรื่องเลิกหวยแลบ่อนเบี้ยในกรุงสยาม
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔ ตอน ๓๖ ประกาศวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๔๓๐ หน้า ๒๘๘
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕ ตอน ๓๗ ประกาศวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๔๓๑ หน้า ๓๑๗
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖ ตอน ๓๘ ประกาศวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๔๓๒ หน้า ๓๓๑
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖ ตอน ๕๐ ประกาศวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๓๒ หน้า ๔๓๖
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘ ตอน ๔๐ ประกาศวันที่ ๓ มกราคม ๒๔๓๘ หน้า ๓๖๔
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐ ตอน ๘ ประกาศวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๓๖ หน้า ๙๗
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๕ ตอน ๑๒ ประกาศวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๔๑ หน้า ๑๒๗
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๑ ตอน ๔๘ ประกาศวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๗ หน้า ๘๗๕
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๖ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๒ หน้า ๒๔๙๕
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๘ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๔๕๔ หน้า ๒๗๓๓
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๐ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๕๖ หน้า ๒๘๐๗
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๑ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๗ หน้า ๒๗๙๘
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๒ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๔๕๘ หน้า ๓๑๐๖
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๔ ตอน ๐ก ประกาศวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๖๐ หน้า ๔
ในช่วงปีพ.ศ. ๒๓๑๖ สยามประสบปัญหาการขาดแคลนเงินปลีก ประชาชนได้นำปี้มาใช้แทนเงินปลีก จนกระทั่งในปีพ.ศ.๒๔๑๗ ทางการได้พิมพ์อัฐกระดาษขึ้นใช้แทนเป็นการแก้ปัญหาชั่วคราว
บ่อนเบี้ย เป็นสถานที่สำหรับเล่นถั่วโป ไม่แน่ชัดว่าเริ่มมีในไทยเมื่อใด สันนิษฐานว่าเริ่มมีในชุมชนที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก เนื่องจากเป็นการพนันประเภทที่ชาวจีนในอดีตนิยมเล่น การเล่นถั่วโปนั้นสามารถเล่นได้เฉพาะผู้ที่รัฐอนุญาตแล้วเท่านั้น โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตต้องเสียเงินเข้าท้องพระคลัง จึงเกิดขึ้นเป็นอากรบ่อนเบี้ยขึ้น
ในสมัยอยุธยากำหนดให้สามารถเล่นถั่วโปได้เฉพาะชาวจีนเท่านั้น พบว่ามีการขอตั้งบ่อนเบี้ยขึ้นในพื้นที่ที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก ต่อมาในสมัยธนบุรีจึงอนุญาตให้คนไทสามารถเล่นถั่วโปได้ อาจเนื่องจากว่าเป็นช่วงศึกสงครามจึงผ่อนปรนให้ไพร่พลได้เล่นเพื่อผ่อนคลาย และอนุญาตให้เล่นต่อมาเรื่อย ๆ
ในสมัยรัชกาลที่ ๒ มีรายได้จากอากรบ่อนเบี้ยเพิ่มขึ้น มีการแบ่งแขวงอากรบ่อนเบี้ย โดยบ่อนเบี้ยได้แพร่หลายออกไปตามหัวเมืองมากขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๓ การค้าเจริญขึ้นมีการจัดระเบียบภาษีอากรต่าง ๆ และมีการตั้งอากรหวยเพิ่มขึ้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการตั้งอากรการพนันขึ้นโดยกำหนดประเภทการพนันที่จะต้องเสียภาษีให้แก่อากรบ่อนเบี้ย ในช่วงรัชกาลที่ ๔ จึงมีรายได้จากการจัดเก็บอากรบ่อนเบี้ยในแต่ละปีเพิ่มขึ้น จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้โปรดให้ลดจำนวนบ่อนเบี้ยลงตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ เป็นต้นมา โดยค่อย ๆ ลดจำนวนบ่อนเบี้ยลงเรื่อย ๆ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ โปรดให้เลิกบ่อนเบี้ยที่อยู่ตามหัวเมืองทั้งหมดทุกมณฑล และค่อย ๆ ลดจำนวนบ่อนที่เหลือในกรุงเทพฯ ลง ต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๕๙ ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้เลิกหวยและบ่อนเบี้ยทั้งหมด และทรงตั้งพระราชบัญญัติห้ามเล่นหวยเล่นถั่วโปในพระราชอาณาจักรโดยมีพระราชประสงค์ให้ไพร่บ้านพลเมืองได้มีเงินไว้ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพให้เป็นประโยชน์แก่ตน
สำหรับการตั้งนายอากรบ่อนเบี้ยนั้น รัฐเป็นผู้กำหนดแขวงสำหรับทำอากร ในช่วงสิ้นปีผู้ที่ประสงค์จะเป็นนายอากรจะต้องยื่นเรื่องต่อเจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติว่าจะขอผูกอากรในพื้นที่แขวงใด หากแขวงนั้นมีผู้ยื่นหลายรายจะมีการประมูล ผู้ที่ประมูลได้ต้องมีผู้รับรองจากนั้นต้องส่งเงินงวดล่วงหน้า ๒ เดือน หากสิ้นปีไม่มีผู้ใดประมูลต่อนายอากรคนเดิมก็จะได้ทำต่อไป
ในการเปิดบ่อนเบี้ยนายอากรได้ผลิตปี้ขึ้นใช้แทนเงินปลีก ในระยะแรกปี้ผลิตขึ้นจากโลหะหรือแก้ว ต่อมาจึงเริ่มใช้ปี้ที่ผลิตจากกระเบื้องเคลือบซึ่งสั่งผลิตจากจีน โดยนายอากรแต่ละคนใช้ปี้ที่มีลวดลายต่างกันไป แต่กำหนดมูลค่าปี้เป็นมาตรฐานที่ราคาปี้ละ ๑ สลึง ๑ เฟื้อง และ ๒ ไพ เวลาคนเข้าไปเล่นเบี้ยจะต้องนำเงินไปแลกปี้ เมื่อเล่นเสร็จจึงนำเงินที่มีอยู่ไปแลกเป็นเงินกลับไป แต่บางครั้งผู้เล่นยังไม่นำปี้ไปแลกเป็นเงิน เนื่องจากเชื่อว่าจะนำมาแลกเป็นเงินเมื่อไหร่ก็ได้ จึงเริ่มมีการชำระหนี้หรือซื้อสินค้าโดยใช้ปี้แทนเงินตรา เมื่อมีการเปลี่ยนนายอากรหรือมีผู้ทำปี้ปลอมขึ้นนายอากรสามารถยกเลิกปี้แบบเดิม โดยประกาศว่าจะยกเลิกปี้แบบเดิมให้ผู้ที่มีปี้แบบเดิมนำปี้มาแลกเงินคืนในระยะเวลาที่กำหนด นายอากรจึงมักได้กำไรจากปี้ที่ไม่มีผู้นำกลับมาแลกอีกด้วย
------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
https://www.facebook.com/NanNationalMuseum1987/photos/a.1180075428787896/3115307448598008/
------------------------------------------------
เอกสารประกอบ
เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงค์ : นวรัตน์ เลขะกุล สนพ.สารคดี, ๒๕๔๗
ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๗ ตำนานเรื่องเลิกหวยแลบ่อนเบี้ยในกรุงสยาม
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔ ตอน ๓๖ ประกาศวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๔๓๐ หน้า ๒๘๘
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕ ตอน ๓๗ ประกาศวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๔๓๑ หน้า ๓๑๗
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖ ตอน ๓๘ ประกาศวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๔๓๒ หน้า ๓๓๑
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖ ตอน ๕๐ ประกาศวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๓๒ หน้า ๔๓๖
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘ ตอน ๔๐ ประกาศวันที่ ๓ มกราคม ๒๔๓๘ หน้า ๓๖๔
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐ ตอน ๘ ประกาศวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๓๖ หน้า ๙๗
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๕ ตอน ๑๒ ประกาศวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๔๑ หน้า ๑๒๗
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๑ ตอน ๔๘ ประกาศวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๗ หน้า ๘๗๕
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๖ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๒ หน้า ๒๔๙๕
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๘ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๔๕๔ หน้า ๒๗๓๓
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๐ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๕๖ หน้า ๒๘๐๗
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๑ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๗ หน้า ๒๗๙๘
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๒ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๔๕๘ หน้า ๓๑๐๖
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๔ ตอน ๐ก ประกาศวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๖๐ หน้า ๔
(จำนวนผู้เข้าชม 3958 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน