เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ไม้และเมล็ดพืชที่พบร่วมกับฐานสิ่งก่อสร้างอิฐจากการขุดค้นที่คลองคูเมืองเดิม (คลองบ้านขมิ้น)
ไม้และเมล็ดพืชที่พบร่วมกับฐานสิ่งก่อสร้างอิฐจากการขุดค้นที่คลองคูเมืองเดิม (คลองบ้านขมิ้น) เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
จากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่คลองคูเมืองเดิม(คลองบ้านขมิ้น) เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ ได้พบหลักฐานสำคัญ คือ ฐานสิ่งก่อสร้างอิฐที่อยู่บนฝั่งตะวันออกและตะวันตกของคลอง ซึ่งสามารถกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์จากตัวอย่างอิฐพบว่า มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๕ ฐานสิ่งก่อสร้างอิฐดังกล่าวมีการปักเสาไม้ขนาบเป็นแนว และการวางลำต้นของพืช และแผ่นไม้แทรกในชั้นการเรียงตัวของอิฐในลักษณะการเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างฐานสิ่งก่อสร้างอิฐนั้น จึงมีการนำส่งตัวอย่างไม้และเมล็ดพืชที่พบให้กรมป่าไม้ทำการวิเคราะห์ จำนวน ๑๑ ตัวอย่าง
ผลการวิเคราะห์พบว่า เสาไม้ที่ใช้ในการปักขนาบส่วนฐานสิ่งก่อสร้างอิฐ เป็นไม้ราชพฤกษ์(Cassia sp.) กระบก(Irvingia malayana Oliv. Ex A.Benn.)และไม้ยืนต้นซึ่งไม่สามารถระบุชื่อทางพฤกษศาสตร์ ส่วนลำต้นของพืชและแผ่นไม้ที่วางแทรกในชั้นการเรียงตัวของอิฐ แบ่งเป็นพืชหลายประเภท ได้แก่ ท่อนลำต้นของไม้สกุลไม้ราชพฤกษ์ (Cassia sp.) ตาล (Borassus sp.) และแผ่นไม้สัก (Tectona grandis L.f) ส่วนเมล็ดพืช ได้แก่ เมล็ดต้นหูกวาง (Terminalia catappa L.) เมล็ดของไม้วงศ์มะเกลือ(Diospyros sp.) ด้วยตัวอย่างที่มีจำกัดนี้ ทำให้ไม่สามารถระบุได้ถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ในอดีตของบริเวณคลองคูเมืองเดิม (คลองบ้านขมิ้น)ได้แน่ชัด แต่มีข้อน่าสังเกตว่า การเลือกใช้ไม้สักในการก่อสร้างนับแต่อดีต เป็นภูมิปัญญาของคนไทยในการเลือกประเภทไม้ที่คงทนต่อการฝังอยู่ใต้ดินในพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยยังพบการใช้เสาเข็มไม้สักปักแทรกเป็นระยะในชั้นอิฐผสมปูนตำก่อนชั้นอิฐของส่วนฐานรากอาคารสิ่งก่อสร้างที่ขุดค้นพบบริเวณสนามด้านข้างพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ในพระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า) ซึ่งปัจจุบัน คือ พื้นที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
----------------------------------
ที่มาของข้อมูล : กองโบราณคดี
----------------------------------
(จำนวนผู้เข้าชม 1482 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน