เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
เล่าเรื่องประติมานวิทยา: อภย(หัสตะ)มุทรา (Abhya(hasta)-mudrā)
อภยมุทรา หรือ อภยหัสตะ คือ ท่ามือยกขึ้นในระดับไหล่ ยื่นออกมาข้างหน้า หันฝ่ามือออก นิ้วทั้งห้าเหยียดตรงขึ้น เป็นท่าขจัดความหวาดกลัว เพราะแสดงการขับไล่สิ่งชั่วร้าย และป้องกันอันตรายของเทพเจ้าต่อผู้สักการบูชา ท่ามือดังกล่าวนี้ แสดงด้วยมือข้างขวา แทบไม่ปรากฏเลยในมือข้างซ้าย บางครั้งแสดงด้วยมือทั้งสองข้าง จัดเป็นมุทราทั่วไปของเทพและทิพยบุคคลต่าง ๆ ในทุกศาสนาของอินเดีย เทพเจ้าส่วนใหญ่แสดงมุทราดังกล่าวนี้
อาจเป็นไปได้ว่ากำเนิดของมุทรานี้เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง บางครั้งพบในศิลปะโรมัน รวมถึงในศิลปะคริสเตียน ในประเทศอินเดียจัดเป็นมุทราในยุคต้น ๆ นิยมทำในศิลปะคันธารราฐเนื่องในพุทธศาสนา แสดงในพระพุทธรูปปางแสดงธรรม ภายหลังแสดงในปางปราบช้างนาฬาคีรี ต่อมามีพัฒนาการทางความหมายหมายถึงการปกป้องคุ้มครอง เป็นลักษณะเฉพาะของรูปเคารพในพุทธศาสนาบางองค์ เช่น พระอโมฆสิทธิ (Amoghasiddhi) พระทีปังกร (Dipaṅkara) พระกนกมุนี (Kanakamuni) อโมฆปาศ (Amoghapāśa) อารยชางคุลี (Āryajāṅgulī) นามสังคีติ (Nāmasaṅgīti) ปัทมปาณิ (Padmapaṇi) ศิขิน (Śikhin) สิตาตปัตรา (Sitātapatrā) สุปริกีรติตนามศรี (Suparikīrtitanāmaśrī) อุษณีสวิชยา (Uṣṇīsavijayā) และอื่น ๆ
ในศาสนาฮินดู เป็นลักษณะของพระวิษณุ (Viṣṇu) ผู้ปกป้องระบบจักรวาล (อนันตาศายน-Anantāśayana) และพระศิวะนาฏราช (Śiva Nāṭarāja) ในท่าอนันทตาณฑวะ (Ānandatāṇḍava) และท่าเต้นรำอื่น ๆ มีความหมายถึงการปกป้องรักษาจักรวาล ในความหมายที่แคบลง เทพ และเทวีต่าง ๆ แสดงมุทรานี้ เพื่อแสดงการปกป้อง และแสดงความสง่างาม
อภยมุทรา เรียกอีกว่า อภยนททมุทรา (Abhyandada-mudrā) อภยประทานมุทรา (Abhyapratāna-mudrā) อภีติมุทรา (Abhīti-mudrā) ศานติทมุทรา (Śāntida-mudrā) และ วิศวาภยมุทรา (Viśvabhya-mudrā) บางครั้งจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของ ปตากามุทรา (Patākā-mudrā) หรือ “มือรูปธง”
------------------------------------------
ผู้เรียบเรียง เด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
------------------------------------------
หนังสืออ้างอิง
1. Gupte, Ramesh Shankar. Iconography of the Hindus, Buddhists and Jains. Bombay : D.B. Taraporevala, 1980.
2. Liebert, Gosta. Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism. Leiden: E.J. Brill, 1976.
3. Stutley , Margaret. The illustrated dictionary of Hindu iconography. London : Routledae & Kegan Paul, 1985. 4. Trilok Chandra Majupuria and Rohit Kumar Majuria. Gods, Goddesses & Religious Symbols of Hinduism, Buddhism & Tantrism [Including Tibetan Deities]. Lashkar (Gwalior): M. Devi, 2004.
(จำนวนผู้เข้าชม 4751 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน