เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
หงส์ประดับบนยอดเสา เมืองกำแพงเชร
นอกจากประติมากรรมรูปหงส์ดินเผาแล้ว (อ่านเพิ่มเติมได้ที่องค์ความรู้ เรื่อง ประติมากรรมดินเผารูปหงส์จากโบราณสถานวัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชร) เมืองกำแพงเพชรยังพบประติมากรรมรูปหงส์สำริดลงรักปิดทองที่ใช้ประดับบนยอดเสา โดยมีลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ ส่วนหัวมีหงอนสลักลายไทยพลิ้วลู่ลม ลำคอยาวระหง ลำตัวสลักลวดลายเลียนแบบลายของลำแพนหางนกยูง ปีกแผ่กว้าง หางสลักลายกระหนกเปลวอย่างอ่อนช้อย สง่า งดงามทั้งลำตัว ยืนบนฐานบัวหงายซ้อนกลีบอย่างประณีต
หงส์เป็นสัตว์ในจินตนาการและสัตว์ชั้นสูงที่มักปรากฏในวรรณคดี ตำนาน รวมทั้งคติความเชื่อในพระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู สมัยโบราณอาจใช้ห้อยโคมไฟตามทางด้านหน้าอุโบสถของวัดสำคัญและในวัง หรืออาจใช้แขวนตุง (ธง) ซึ่งมักพบอยู่ตามวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ทั้งนี้คงมีคติในการสร้างเพื่อถวายวัดเป็นพุทธบูชา โดยเชื่อว่าจะทำให้เกิดอานิสงส์ผลบุญแก่ผู้สร้างถวายเอง และยังเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
ประติมากรรมรูปหงส์ประดับบนยอดเสาที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร ได้แก่ วัดหงษ์ทอง ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี วัดปราสาท ตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร และวัดอัมพาพนาราม (วัดวังไทร) ตำบลวังไทร อำเภอคลองขลุง ซึ่งหงส์ประดับยอดเสาของวัดอัมพาพนารามได้จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร โดยพระครูบาน บุญญโชโต เจ้าอาวาสวัดอัมพาพนารามขณะนั้น มอบให้เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๕ กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ๒๕ ศิลปะรัตนโกสินทร์
-------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
-------------------------------------
บรรณานุกรม
- กัญญรัตน์ เวชชศาสตร์. การศึกษาเรื่องหงส์จากศิลปกรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : คุรุสภา, ๒๕๕๐. - ศิลปากร, กรม. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๗.
(จำนวนผู้เข้าชม 913 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน