เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
โบราณสถานศาลตาผาแดง
โบราณสถานศาลตาผาแดงตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองสุโขทัยติดกับตระพังตระกวน วัดสระศรี ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และใกล้กับประตูเมืองด้านเหนือ ปรากฏหลักฐานในแผนที่สมัย รัชกาลที่ ๕ เรียกว่า ศาลเทพารักษ์ใหญ่ หรือศาลตาผ้าแดง
ลักษณะโบราณสถานเป็นแบบปราสาทขอม หลังเดี่ยว ก่อด้วยศิลาแลงทั้งองค์ ส่วนล่างเป็นฐานบัวลูกฟัก ส่วนเรือนธาตุมีห้องยาว ยื่นออกไปจากตัวปราสาททางด้านตะวันออกและตะวันตก โดยห้องด้านตะวันออกมีความยาวกว่าด้านตรงข้าม ส่วนยอดปราสาทพังทลาย
เมื่อกรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งและบูรณะศาลตาผาแดง ได้พบชิ้นส่วนประติมากรรมรูปเคารพสลักจากศิลาลอยตัว จำนวน ๔ องค์ มีทั้งรูปบุรุษและสตรี สันนิษฐานว่าเป็นรูปเคารพเนื่องในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู อาทิ พระศิวะ นางอัปสร และทวารบาล ประดับด้วยเครื่องทรงตกแต่งอย่างงดงาม เมื่อได้ศึกษาเปรียบเทียบแล้วอาจเทียบได้กับศิลปะแบบเขมรสมัยบายนตอนต้น ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง สุโขทัย
โบราณสถานแห่งนี้เป็นหลักฐานยืนยันถึง การมีชุมชนที่มีวัฒนธรรมเขมรนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูปะปนในแถบนี้แล้ว เมื่อประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘
--------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล: อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
(จำนวนผู้เข้าชม 6347 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน