นิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๓ เรื่อง ศิลปวิทยาการจากสาส์นสมเด็จ
นิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๓ เรื่อง ศิลปวิทยาการจากสาส์นสมเด็จ ระหว่างวันที่ ๑๙ สิงหาคม - ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ในยุคแรกเริ่มของการศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะของไทยเมื่อกว่า ร้อยปีที่ผ่านมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นปราชญ์ผู้บุกเบิกและนำแนวทางการรวบรวม ศึกษาและวิิเคราะห์ข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ถือได้ว่าแนวทางดังกล่าวเป็นรากฐานของกระบวนการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี พิพิธภัณฑสถาน วรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีและนาฏศิลป์อย่างเป็นแบบแผนของไทยในปัจจุบัน
จดหมายซึ่งเขียนด้วยลายพระหัตถ์ของทั้งสองพระองค์ประกอบด้วยพระวิจารณ์ และถ้อยอรรถาธิบายในเรื่องต่าง ๆ เป็นเอกสารอันทรงคุณค่าและมีคุณูปการต่อการศึกษา ศิลปะวิทยาการในหลายด้าน ในเวลาต่อมาทายาทของสองพระองค์จึงได้ส่งมอบจดหมายดังกล่าว ให้กับกรมศิลปากรเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการเก็บรวบรวมและอนุรักษ์เอกสารนี้ไว้เป็นสมบัติของชาติ โดยกรมศิลปากรได้นำจดหมายโต้ตอบบางฉบับของสองสมเด็จ ตีพิมพ์เป็นครั้งแรก ในวารสารศิลปากร เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๖ ชื่อบทความ “สาส์นสมเด็จ” จากนั้น กรมศิลปากร จึงอนุญาตให้เอกชนจัดพิมพ์เป็นหนังสือ “สาส์นสมเด็จ” เสมือนเป็นคัมภีร์ถ่ายทอดองค์ความรู้ในศาสตร์ และศิลป์หลายแขนงของไทยและเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่ตกทอดมาจวบจนทุกวันนี้
ด้วยพระอัจฉริยภาพอันโดดเด่นในด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี งานช่างและศิลปกรรมของทั้งสอง พระองค์ พุทธศักราช ๒๕๐๕ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จึงประกาศให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย” เป็นคนไทย คนแรกที่ได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก และในปีต่อมา UNESCO ก็ได้ประกาศยกย่องให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ “นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม” เป็นคนไทยคนที่สองที่ได้รับการ ยกย่องเป็น บุคคลสำคัญของโลก ถือเป็นเกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่ของชาติไทย
กรมศิลปากรได้รวบรวมองค์ความรู้แขนงต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ “สาส์นสมเด็จ” นำมาร้อย เรียงเป็นนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๓ “ศิลปวิทยาการจากสาส์นสมเด็จ” เพื่อเทิดพระเกียรติสองปราชญ์แห่งศิลปวิทยาการระดับโลก ด้วยความระลึกถึงและสำนึกในคุณูปการที่สองพระองค์ได้ทรงสร้างไว้ และต้องการสื่อสารให้ผู้ชมนิทรรศการได้เรียนรู้และมีความเข้าใจในประวัติศาสตร์ การศึกษาด้านโบราณคดีและศิลปกรรมของไทย อีกทั้งนิทรรศการครั้งนี้ จะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการศึกษาประวัติศาสตร์ ศิลปะวิทยาการแขนงต่าง ๆ อันมีรากฐานการศึกษาที่สองสมเด็จได้วางแนวทางไว้ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
ในยุคแรกเริ่มของการศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะของไทยเมื่อกว่า ร้อยปีที่ผ่านมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นปราชญ์ผู้บุกเบิกและนำแนวทางการรวบรวม ศึกษาและวิิเคราะห์ข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ถือได้ว่าแนวทางดังกล่าวเป็นรากฐานของกระบวนการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี พิพิธภัณฑสถาน วรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีและนาฏศิลป์อย่างเป็นแบบแผนของไทยในปัจจุบัน
จดหมายซึ่งเขียนด้วยลายพระหัตถ์ของทั้งสองพระองค์ประกอบด้วยพระวิจารณ์ และถ้อยอรรถาธิบายในเรื่องต่าง ๆ เป็นเอกสารอันทรงคุณค่าและมีคุณูปการต่อการศึกษา ศิลปะวิทยาการในหลายด้าน ในเวลาต่อมาทายาทของสองพระองค์จึงได้ส่งมอบจดหมายดังกล่าว ให้กับกรมศิลปากรเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการเก็บรวบรวมและอนุรักษ์เอกสารนี้ไว้เป็นสมบัติของชาติ โดยกรมศิลปากรได้นำจดหมายโต้ตอบบางฉบับของสองสมเด็จ ตีพิมพ์เป็นครั้งแรก ในวารสารศิลปากร เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๖ ชื่อบทความ “สาส์นสมเด็จ” จากนั้น กรมศิลปากร จึงอนุญาตให้เอกชนจัดพิมพ์เป็นหนังสือ “สาส์นสมเด็จ” เสมือนเป็นคัมภีร์ถ่ายทอดองค์ความรู้ในศาสตร์ และศิลป์หลายแขนงของไทยและเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่ตกทอดมาจวบจนทุกวันนี้
ด้วยพระอัจฉริยภาพอันโดดเด่นในด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี งานช่างและศิลปกรรมของทั้งสอง พระองค์ พุทธศักราช ๒๕๐๕ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จึงประกาศให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย” เป็นคนไทย คนแรกที่ได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก และในปีต่อมา UNESCO ก็ได้ประกาศยกย่องให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ “นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม” เป็นคนไทยคนที่สองที่ได้รับการ ยกย่องเป็น บุคคลสำคัญของโลก ถือเป็นเกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่ของชาติไทย
กรมศิลปากรได้รวบรวมองค์ความรู้แขนงต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ “สาส์นสมเด็จ” นำมาร้อย เรียงเป็นนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๓ “ศิลปวิทยาการจากสาส์นสมเด็จ” เพื่อเทิดพระเกียรติสองปราชญ์แห่งศิลปวิทยาการระดับโลก ด้วยความระลึกถึงและสำนึกในคุณูปการที่สองพระองค์ได้ทรงสร้างไว้ และต้องการสื่อสารให้ผู้ชมนิทรรศการได้เรียนรู้และมีความเข้าใจในประวัติศาสตร์ การศึกษาด้านโบราณคดีและศิลปกรรมของไทย อีกทั้งนิทรรศการครั้งนี้ จะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการศึกษาประวัติศาสตร์ ศิลปะวิทยาการแขนงต่าง ๆ อันมีรากฐานการศึกษาที่สองสมเด็จได้วางแนวทางไว้ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
(จำนวนผู้เข้าชม 1307 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน