ร้อยเรื่อง(เล่า)เมืองสามอ่าว ตอน ถ้ำพระยานคร (๒) บ่อพระยานคร
การเดินทางไปเที่ยวยังถ้ำพระยานครปัจจุบันนี้ มี ๒ เส้นทางหลักคือ เดินเท้าข้ามสันเขาจากหาดบางปูมายังหาดแหลมศาลาซึ่งเป็นที่ตั้งของถ้ำพระยานคร หรือโดยทางเรือโดยนั่งเรือโดยสารจากหาดบางปูมายังหาดแหลมศาลาและเดินเท้าเพื่อขึ้นเขาไปยังถ้ำประยานคร บริเวณพื้นราบเชิงเขาของทางเดินขึ้นสู่ถ้ำ ด้านขวามือ จะมีบ่อน้ำอยู่ ๑ บ่อ มีการสร้างศาลาคลุมบ่อน้ำไว้ เรียกว่า “บ่อพระยานคร” มีลักษณะเป็นบ่อน้ำกรุด้วยอิฐฉาบปูน ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางขอบบ่อด้านในประมาณ ๑.๓๘ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางขอบบ่อด้านนอกประมาณ ๑.๘๔ เมตร ลึกประมาณ ๔ เมตร ไม่ทราบประวัติการก่อสร้างที่ชัดเจนว่าสร้างขึ้นสมัยใด สันนิษฐานน่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ เจ้าพระยานครผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช ได้พักหลบพายุที่ชายหาดแห่งนี้เป็นเวลานาน จึงได้สร้างบ่อน้ำเพื่อใช้ดื่ม*
และในเอกสารจดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ จ.ศ. ๑๒๐๐ ชื่อ รายงานระยะทาง จ.ศ.๑๒๐๐ (พ.ศ.๒๓๘๑) จดหมายเหตุลมเมื่อออกมาแต่กรุง... (ระยะทางยกกองทัพไปตีเมืองไทรย) หน้า ๘-๑๑ ได้กล่าวถึงเส้นทางเดินเรือจากช่องแสมสารไปยังเขาสามร้อยยอด และมีการแวะพักเติมน้ำจืดตรงบริเวณเขาสัตกูด ซึ่งน่าจะหมายถึงบ่อน้ำนี้เช่นกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้ “...๘ ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๘ ค่ำ พอสว่างเห็นช่องแสมสารพอเป็นเงาๆ ลมสลาตันพัดกล้าไปจนบ่ายโมงหนึ่งแล้ว ..เปลี่ยนเป็นลมสำเภาพัดอ่อนๆมาจนบ่ายสามโมง น้ำขึ้นลมสำเภาพัดกล้าหนักๆ มาจนเพลาบ่ายสี่โมงเศษ เห็นเขาสามร้อยยอด ครั้นเพลาบ่ายหกโมงเศษ เรือมาถึงฝั่งทางตะวันตกตรงเขากะโหลก ทอดนอนอยู่ที่นั่นคืนหนึ่ง ลมสลาตันพัดกล้าหนักอยู่จนสว่าง
ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เพลาเช้าออกเกา** ลมสลาตันอีกร้อยหนึ่งจึงเข้ายังสัตกูดได้ พอได้ตักน้ำในวันนั้น...
ในหนังสือชีวิวัฒน์ นิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ใน พ.ศ.๒๔๒๗ เมื่อครั้งเสด็จประพาสในแหลมมลายูฝั่งตะวันออก ในส่วนหัวเมืองตะวันตก ได้มีการกล่าวถึงเขาสามร้อยยอด และบ่อน้ำนี้ ว่า "เรือสุริยมณฑลทอดสมอน้ำลึก ๑๐ ศอก ไกลจากฝั่งประมาณ ๖๐ เส้น ในเกาะตะกูดตรงหน้าอ่าวศาลาบ่อน้ำ ปากทางที่จะขึ้นถ้ำสามร้อยยอด ดูไปจากเรือมีเขาหลายชั้นแลเห็นศาลาแต่ไกล ศาลานั้นตั้งอยู่ไกลจากทะเลประมาณ ๒๐ เส้น ศาลานั้นขื่อกว้าง ๑๐ ศอก ๓ ห้อง ห้องกลางนั้นมีบ่อน้ำๆ จืดสนิท ...”
ส่วนในสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๘ กล่าวถึงบ่อน้ำนี้ไว้ว่า "ที่ชายทเลหน้าเขาถ้ำนี้มีบ่อน้ำ ๑ บ่อ กลม ขุดกว้างประมาณ ๔ ศอก ลึก ๖ ศอก ก่ออิฐเป็นขอบโดยรอบแต่ท้องบ่อขึ้นมา และศาลา ๑ หลัง มุงกระเบื้องไทยครอบบ่อน้ำนั้นพื้นศาลาก็โบกปูนเต็มไปถึงขอบบ่อ น้ำในบ่อจืดพอใช้ได้ บ่อนี้เรียกว่าบ่อพระยานครประมาณว่าทำมาได้สัก ๗๐ ปีแล้ว สันนิษฐานว่าจะเปนเจ้าพระยานคร "น้อยกลาง" เปนผู้สร้างเพราะในสมัยนั้นการไปมาระหว่างกรุงเทพพระมหานคร กับเมืองนครศรีธรรมราชใช้เรือแจวเรือพายเลียบไปตามฝั่งแวะหยุดพักเปนระยะ ที่น่าเขาสามร้อยยอดนี้น่าจะเปนที่พักแรมทางแห่งหนึ่ง และเปนเขาที่มีถ้ำงดงามน่าดู ท่านคงจะเห็นถ้ำนั้นมีผู้คนไปเที่ยวมาก จึงได้สร้างบ่อน้ำไว้ให้เปนสาธารณทาน ด้วยเหตุนี้ถ้ำนั้นจึงมีนามว่าถ้ำบ่อพระยานคร อีกชื่อ ๑ คือหมายความว่า ถ้ำที่มีบ่อน้ำพระยานครสร้าง"
ภาพ : บ่อพระยานคร
ภาพ : สภาพปัจจุบันบ่อพระยานคร
*ทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ ๒ กองโบราณคดี กรมศิลปากร,๒๕๓๘ หน้า ๑๐๐
**เกา หมายถึง อาการที่สมอเรือครูดไปตามพื้นท้องน้ำ ไม่ยึดอยู่กับที่
-------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวกรรณิการ์ เปรมใจ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี
-------------------------------
ที่มาของข้อมูล :
กรมศิลปากร. ทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ ๒. กรุงเทพฯ: กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๓๘. พยุง วงษ์น้อย และคณะ. พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์. รายงานการสำรวจทางโบราณคดี กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี, ๒๕๔๑ สมุดราชบุรี สยามรัฐพิพิธภัณฑ์ พ.ศ.๒๔๖๘. โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย:พระนคร(กรุงทพฯ),๒๔๖๘. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช. “เขาสามร้อยยอดแขวงเมืองปราณ” ใน ชีวิวัฒน์ เรื่องเที่ยวต่าง ๆ ภาค ๗. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๑. (จัดพิมพ์เผยแพร่ในงานเฉลิมพระเกียรติ จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงษาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ครบ ๑๕๐ ปีประสูติ). สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. จดหมายเหตุลม เรื่องระยะทางยกกองทัพไปตีเมืองไทรย เลขที่ ๒๒/๑, ๒๒/๒ (จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ จ.ศ. ๑๒๐๐)
และในเอกสารจดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ จ.ศ. ๑๒๐๐ ชื่อ รายงานระยะทาง จ.ศ.๑๒๐๐ (พ.ศ.๒๓๘๑) จดหมายเหตุลมเมื่อออกมาแต่กรุง... (ระยะทางยกกองทัพไปตีเมืองไทรย) หน้า ๘-๑๑ ได้กล่าวถึงเส้นทางเดินเรือจากช่องแสมสารไปยังเขาสามร้อยยอด และมีการแวะพักเติมน้ำจืดตรงบริเวณเขาสัตกูด ซึ่งน่าจะหมายถึงบ่อน้ำนี้เช่นกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้ “...๘ ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๘ ค่ำ พอสว่างเห็นช่องแสมสารพอเป็นเงาๆ ลมสลาตันพัดกล้าไปจนบ่ายโมงหนึ่งแล้ว ..เปลี่ยนเป็นลมสำเภาพัดอ่อนๆมาจนบ่ายสามโมง น้ำขึ้นลมสำเภาพัดกล้าหนักๆ มาจนเพลาบ่ายสี่โมงเศษ เห็นเขาสามร้อยยอด ครั้นเพลาบ่ายหกโมงเศษ เรือมาถึงฝั่งทางตะวันตกตรงเขากะโหลก ทอดนอนอยู่ที่นั่นคืนหนึ่ง ลมสลาตันพัดกล้าหนักอยู่จนสว่าง
ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เพลาเช้าออกเกา** ลมสลาตันอีกร้อยหนึ่งจึงเข้ายังสัตกูดได้ พอได้ตักน้ำในวันนั้น...
ในหนังสือชีวิวัฒน์ นิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ใน พ.ศ.๒๔๒๗ เมื่อครั้งเสด็จประพาสในแหลมมลายูฝั่งตะวันออก ในส่วนหัวเมืองตะวันตก ได้มีการกล่าวถึงเขาสามร้อยยอด และบ่อน้ำนี้ ว่า "เรือสุริยมณฑลทอดสมอน้ำลึก ๑๐ ศอก ไกลจากฝั่งประมาณ ๖๐ เส้น ในเกาะตะกูดตรงหน้าอ่าวศาลาบ่อน้ำ ปากทางที่จะขึ้นถ้ำสามร้อยยอด ดูไปจากเรือมีเขาหลายชั้นแลเห็นศาลาแต่ไกล ศาลานั้นตั้งอยู่ไกลจากทะเลประมาณ ๒๐ เส้น ศาลานั้นขื่อกว้าง ๑๐ ศอก ๓ ห้อง ห้องกลางนั้นมีบ่อน้ำๆ จืดสนิท ...”
ส่วนในสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๘ กล่าวถึงบ่อน้ำนี้ไว้ว่า "ที่ชายทเลหน้าเขาถ้ำนี้มีบ่อน้ำ ๑ บ่อ กลม ขุดกว้างประมาณ ๔ ศอก ลึก ๖ ศอก ก่ออิฐเป็นขอบโดยรอบแต่ท้องบ่อขึ้นมา และศาลา ๑ หลัง มุงกระเบื้องไทยครอบบ่อน้ำนั้นพื้นศาลาก็โบกปูนเต็มไปถึงขอบบ่อ น้ำในบ่อจืดพอใช้ได้ บ่อนี้เรียกว่าบ่อพระยานครประมาณว่าทำมาได้สัก ๗๐ ปีแล้ว สันนิษฐานว่าจะเปนเจ้าพระยานคร "น้อยกลาง" เปนผู้สร้างเพราะในสมัยนั้นการไปมาระหว่างกรุงเทพพระมหานคร กับเมืองนครศรีธรรมราชใช้เรือแจวเรือพายเลียบไปตามฝั่งแวะหยุดพักเปนระยะ ที่น่าเขาสามร้อยยอดนี้น่าจะเปนที่พักแรมทางแห่งหนึ่ง และเปนเขาที่มีถ้ำงดงามน่าดู ท่านคงจะเห็นถ้ำนั้นมีผู้คนไปเที่ยวมาก จึงได้สร้างบ่อน้ำไว้ให้เปนสาธารณทาน ด้วยเหตุนี้ถ้ำนั้นจึงมีนามว่าถ้ำบ่อพระยานคร อีกชื่อ ๑ คือหมายความว่า ถ้ำที่มีบ่อน้ำพระยานครสร้าง"
ภาพ : บ่อพระยานคร
ภาพ : สภาพปัจจุบันบ่อพระยานคร
*ทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ ๒ กองโบราณคดี กรมศิลปากร,๒๕๓๘ หน้า ๑๐๐
**เกา หมายถึง อาการที่สมอเรือครูดไปตามพื้นท้องน้ำ ไม่ยึดอยู่กับที่
-------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวกรรณิการ์ เปรมใจ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี
-------------------------------
ที่มาของข้อมูล :
กรมศิลปากร. ทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ ๒. กรุงเทพฯ: กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๓๘. พยุง วงษ์น้อย และคณะ. พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์. รายงานการสำรวจทางโบราณคดี กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี, ๒๕๔๑ สมุดราชบุรี สยามรัฐพิพิธภัณฑ์ พ.ศ.๒๔๖๘. โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย:พระนคร(กรุงทพฯ),๒๔๖๘. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช. “เขาสามร้อยยอดแขวงเมืองปราณ” ใน ชีวิวัฒน์ เรื่องเที่ยวต่าง ๆ ภาค ๗. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๑. (จัดพิมพ์เผยแพร่ในงานเฉลิมพระเกียรติ จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงษาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ครบ ๑๕๐ ปีประสูติ). สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. จดหมายเหตุลม เรื่องระยะทางยกกองทัพไปตีเมืองไทรย เลขที่ ๒๒/๑, ๒๒/๒ (จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ จ.ศ. ๑๒๐๐)
(จำนวนผู้เข้าชม 3863 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน