เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ลูกปัดแก้วแบบมีตา
ลูกปัดแบบมีตามีแหล่งผลิตในแถบเมดิเตอร์เรเนียนในอาณาจักรกรีก โรมัน และเปอร์เซีย (ตั้งแต่ช่วง ๓๐๐ ปีก่อนพุทธศตวรรษ - พุทธศตวรรษที่ ๖) ลูกปัดแบบมีตาที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในพื้นที่คาบสมุทรอนาโตเลีย มีอายุถึง ๕๐๐-๓๐๐ ปีก่อนพุทธศตวรรษ และได้พบลูกปัดรูปแบบนี้ในอินเดียซึ่งพบมากในภาคเหนือและภาคกลางในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓ – ๗ เมืองโบราณของอินเดียที่พบลูกปัดมีตา คือ ตักศิลา อุชเชนศราวัสติ โกสัมภี และโกณฑิณยปุระ เป็นต้น ลูกปัดมีตาที่พบในอินเดียแสดงให้เห็นถึงการติดต่อค้าขายกับกรีก-โรมัน เปอร์เชีย สำหรับในประเทศไทยได้พบลูกปัดมีตาในแหล่งโบราณคดีสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ซึ่งมีอายุสมัยอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓-๕ โดยมักจะพบร่วมกับลูกปัดหินคาร์เนเลียนและอาเกต และยังพบในเมืองท่าโบราณทางภาคใต้ที่แหล่งโบราณคดีคลองท่อม (ควนลูกปัด) จังหวัดกระบี่ แหล่งโบราณคดีทุ่งตึก (เหมืองทอง) จังหวัดพังงา และแหลมโพธิ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี
สำหรับลูกปัดมีตาซึ่งเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง พบที่แหล่งโบราณคดีทุ่งตึก ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ซึ่งเป็นเมืองท่าโบราณในฝั่งอันดามัน เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๖ และยังพบลูกปัดมีตาในฝั่งอ่าวไทยที่แหล่งโบราณคดีแหลมโพธิ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานีซึ่งเป็นเมืองท่าที่เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๕ ลูกปัดมีตาจึงเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการติดต่อระหว่างเมืองท่าโบราณในภาคใต้และเมืองท่าของอินเดียซึ่งมีมาตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓–๕ รวมถึงในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๖
-----------------------------------
จัดทำข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
ที่มาข้อมูล :
ธราพงศ์ ศรีสุชาติ. “ลูกปัดต่างชาติในแหล่งโบราณคดีไทย,” ศิลปากรปีที่ ๓๓, ฉบับที่ ๑ (มีนาคม - เมษายน ๒๕๓๒):, ๑๔-๑๕. ผาสุข อินทราวุธ. สุวรรณภูมิจากหลักฐานทางโบราณคดี, กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์, ๒๕๔๘. บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ. ทุ่งตึก เมืองท่าการค้าโบราณ. กรุงเทพ : บริษัท สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด, ๒๕๕๒.
(จำนวนผู้เข้าชม 5007 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน