พระพุทธรูปยืน ปางแสดงธรรม(วิตรรกมุทรา)
พระพุทธรูปยืน ปางแสดงธรรม(วิตรรกมุทรา)
วัสดุ : ศิลา
อายุ/สมัย : ทวารวดี (อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓)
ขนาด : สูง ๑๖๑.๕ เซนติเมตร, กว้าง ๕๔ เซนติเมตร
สถานที่พบ : วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
ปัจจุบัน : จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _
พระพุทธรูปปางแสดงธรรม คือ พระพุทธรูปที่แสดงการยกพระกรข้างขวาหรือทั้งสองข้างอยู่ระดับพระอุระ หันฝ่าพระหัตถ์ออกด้านหน้าจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นวงกลม เรียกว่า วิตรรกมุทรา สื่อถึงท่าทางตอนพระพุทธเจ้ากำลังเทศนา สั่งสอนพระธรรม เช่น พุทธประวัติตอนแสดงธรรมโปรดพระมารดา เป็นต้น
ในประเทศไทยนิยมสร้างพระพุทธรูปปางแสดงธรรม โดยเฉพาะในวัฒนธรรมทวารวดี มีเอกลักษณ์เด่น คือ การแสดงมุทราทั้งสองพระหัตถ์ ซึ่งปรากฏอยู่ใน ๒ ลักษณะ ลักษณะแรกพระอังคุฐกับพระดัชนีชนกันเป็นวงกลมปลายนิ้วพระหัตถ์ที่เหลือชี้ขึ้น และอีกลักษณะพระอังคุฐกับพระดัชนีชนกันเป็นวงกลมปลายนิ้วพระหัตถ์ที่เหลืองอเข้าหาฝ่าพระหัตถ์หรือพระอังคุฐ ท่าทางการแสดงธรรมทั้งสองพระหัตถ์ถือเป็นพัฒนาการสำคัญที่สื่อถึงความเป็นพื้นเมืองของศิลปะทวารวดีอย่างแท้จริง
จังหวัดลพบุรีพบพระพุทธรูปปางแสดงธรรมทั้งสองพระหัตถ์หลายองค์ที่เป็นหลักฐานสำคัญแสดงพัฒนาการศิลปะทวารวดี เช่น พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรมพบที่จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันประดิษฐาน ณ ระเบียงคด วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ และพระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม พบที่เขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นต้น
นอกจากตัวอย่างข้างต้นแล้วในพื้นที่จังหวัดลพบุรียังพบพระพุทธรูปปางแสดงธรรมอีกหลายองค์ เช่น พระพุทธรูปประทับยืนบนฐานบัวมีจารึกภาษาสันสกฤต ตัวอักษรปัลลวะกล่าวถึงผู้สร้างพระพุทธรูป ครองจีวรห่มคลุมเรียบ ชายจีวรด้านหน้าตกลงมาเป็นวงโค้ง พระเศียรและพระกรทั้งสองข้างหักหายไป แต่จากร่องรอยที่เหลืออยู่สันนิษฐานได้ว่า พระหัตถ์ทั้งสองอยู่ในท่าแสดงธรรม ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าชมได้ ทุกวันพุธถึงวันอาทิตย์ เวลา ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.
+ + + + + + + + + + + + + + + + + + +
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
อ้างอิง
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทยไทย รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี, ๒๕๕๖. ____________. ศิลปะทวารดี วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรก เริ่มในดินแดนไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒ นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
วัสดุ : ศิลา
อายุ/สมัย : ทวารวดี (อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓)
ขนาด : สูง ๑๖๑.๕ เซนติเมตร, กว้าง ๕๔ เซนติเมตร
สถานที่พบ : วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
ปัจจุบัน : จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _
พระพุทธรูปปางแสดงธรรม คือ พระพุทธรูปที่แสดงการยกพระกรข้างขวาหรือทั้งสองข้างอยู่ระดับพระอุระ หันฝ่าพระหัตถ์ออกด้านหน้าจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นวงกลม เรียกว่า วิตรรกมุทรา สื่อถึงท่าทางตอนพระพุทธเจ้ากำลังเทศนา สั่งสอนพระธรรม เช่น พุทธประวัติตอนแสดงธรรมโปรดพระมารดา เป็นต้น
ในประเทศไทยนิยมสร้างพระพุทธรูปปางแสดงธรรม โดยเฉพาะในวัฒนธรรมทวารวดี มีเอกลักษณ์เด่น คือ การแสดงมุทราทั้งสองพระหัตถ์ ซึ่งปรากฏอยู่ใน ๒ ลักษณะ ลักษณะแรกพระอังคุฐกับพระดัชนีชนกันเป็นวงกลมปลายนิ้วพระหัตถ์ที่เหลือชี้ขึ้น และอีกลักษณะพระอังคุฐกับพระดัชนีชนกันเป็นวงกลมปลายนิ้วพระหัตถ์ที่เหลืองอเข้าหาฝ่าพระหัตถ์หรือพระอังคุฐ ท่าทางการแสดงธรรมทั้งสองพระหัตถ์ถือเป็นพัฒนาการสำคัญที่สื่อถึงความเป็นพื้นเมืองของศิลปะทวารวดีอย่างแท้จริง
จังหวัดลพบุรีพบพระพุทธรูปปางแสดงธรรมทั้งสองพระหัตถ์หลายองค์ที่เป็นหลักฐานสำคัญแสดงพัฒนาการศิลปะทวารวดี เช่น พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรมพบที่จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันประดิษฐาน ณ ระเบียงคด วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ และพระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม พบที่เขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นต้น
นอกจากตัวอย่างข้างต้นแล้วในพื้นที่จังหวัดลพบุรียังพบพระพุทธรูปปางแสดงธรรมอีกหลายองค์ เช่น พระพุทธรูปประทับยืนบนฐานบัวมีจารึกภาษาสันสกฤต ตัวอักษรปัลลวะกล่าวถึงผู้สร้างพระพุทธรูป ครองจีวรห่มคลุมเรียบ ชายจีวรด้านหน้าตกลงมาเป็นวงโค้ง พระเศียรและพระกรทั้งสองข้างหักหายไป แต่จากร่องรอยที่เหลืออยู่สันนิษฐานได้ว่า พระหัตถ์ทั้งสองอยู่ในท่าแสดงธรรม ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าชมได้ ทุกวันพุธถึงวันอาทิตย์ เวลา ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.
+ + + + + + + + + + + + + + + + + + +
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
อ้างอิง
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทยไทย รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี, ๒๕๕๖. ____________. ศิลปะทวารดี วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรก เริ่มในดินแดนไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒ นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
(จำนวนผู้เข้าชม 8748 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน