อธิบดีกรมศิลปากรส่งผู้เชี่ยวชาญเร่งฟื้นคืนสภาพลายบานประตูวิหารวัดหมื่นล้าน จังหวัดเชียงใหม่
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวกรณีวัดหมื่นล้านทาสีแดงลบลายบานประตูวิหาร ซึ่งบานประตูบริเวณอกเลามีการจารึกอักษรธรรมล้านนาว่า “พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ แล จุลศักราช ๑๒๗๙ เดือน ๗ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วัน ๔ ได้ฉลองหน้ามุกวิหารหลังนี้ นิพพานปจฺจโยโหนตุโนนิจจํ” ปีพุทธศักราชที่ระบุในจารึก ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๖ หรือ ๑๐๓ ปีมาแล้ว
.
วัดหมื่นล้าน เป็นโบราณสถานที่ไม่ได้ประกาศขึ้นทะเบียน ตามประวัติระบุว่า สร้างโดยหมื่นโลกสามล้าน หรือ หมื่นด้งนคร ผู้เป็นขุนศึกคู่พระทัยของพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนาราชวงศ์มังราย ในปีมะเส็ง จุลศักราช ๘๒๒ หรือตรงกับ พ.ศ. ๒๐๐๒ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีบันทึกระบุว่า หลวงโยนะการพิจิตร ซึ่งเป็นคหบดีได้ สร้างขึ้นมาทดแทนของเดิมที่เสียหาย ช่วงปี จ.ศ. ๑๒๗๙ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๖๐
วิหารวัดหมื่นล้านเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาประยุกต์ โดยมีการบูรณะ ซ่อมแซม ต่อเติมมาหลายยุคหลายสมัย ตามการใช้ประโยชน์ของอาคาร ซึ่งในส่วนของกรณีการทาสีทับลายรดน้ำบนบานประตูวิหาร เป็นการซ่อมแซมบูรณะจากผู้มีจิตศรัทธาที่เข้ามาด้วยเจตนาดี แต่ขาดความเข้าใจในหลักการอนุรักษ์ อย่างไรก็ตาม สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ได้ประสานกับทางวัดให้ระงับการดำเนินการซ่อมบูรณะทั้งหมดไว้ก่อนแล้ว โดยในวันพุธที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓ กรมศิลปากรได้มอบให้สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ เข้าสำรวจเก็บข้อมูลโดยละเอียดเพื่อหารือร่วมกันในแนวทางการดำเนินการบูรณะที่เหมาะสมต่อไป โดยจะมอบให้ผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ฯ และกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังฯ กรมศิลปากร ร่วมตรวจสอบและหาวิธีการลอกสีที่ทาทับบานประตูนี้ออก เพื่อฟื้นคืนสภาพให้ได้มากที่สุดต่อไป
.
วัดหมื่นล้าน เป็นโบราณสถานที่ไม่ได้ประกาศขึ้นทะเบียน ตามประวัติระบุว่า สร้างโดยหมื่นโลกสามล้าน หรือ หมื่นด้งนคร ผู้เป็นขุนศึกคู่พระทัยของพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนาราชวงศ์มังราย ในปีมะเส็ง จุลศักราช ๘๒๒ หรือตรงกับ พ.ศ. ๒๐๐๒ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีบันทึกระบุว่า หลวงโยนะการพิจิตร ซึ่งเป็นคหบดีได้ สร้างขึ้นมาทดแทนของเดิมที่เสียหาย ช่วงปี จ.ศ. ๑๒๗๙ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๖๐
วิหารวัดหมื่นล้านเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาประยุกต์ โดยมีการบูรณะ ซ่อมแซม ต่อเติมมาหลายยุคหลายสมัย ตามการใช้ประโยชน์ของอาคาร ซึ่งในส่วนของกรณีการทาสีทับลายรดน้ำบนบานประตูวิหาร เป็นการซ่อมแซมบูรณะจากผู้มีจิตศรัทธาที่เข้ามาด้วยเจตนาดี แต่ขาดความเข้าใจในหลักการอนุรักษ์ อย่างไรก็ตาม สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ได้ประสานกับทางวัดให้ระงับการดำเนินการซ่อมบูรณะทั้งหมดไว้ก่อนแล้ว โดยในวันพุธที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓ กรมศิลปากรได้มอบให้สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ เข้าสำรวจเก็บข้อมูลโดยละเอียดเพื่อหารือร่วมกันในแนวทางการดำเนินการบูรณะที่เหมาะสมต่อไป โดยจะมอบให้ผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ฯ และกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังฯ กรมศิลปากร ร่วมตรวจสอบและหาวิธีการลอกสีที่ทาทับบานประตูนี้ออก เพื่อฟื้นคืนสภาพให้ได้มากที่สุดต่อไป
(จำนวนผู้เข้าชม 974 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน