เล่าเรื่องประติมานวิทยา: กลศะ (Kalaśa)
กลศ (Kalaśa) หรือ กุมภะ (Kumbha) คือ หม้อ/เหยือก/โถ/แจกัน บรรจุน้ำ รูปทรงน้ำเต้า คอสูง ปากแคบ คล้ายขวด ไม่มีพวย ไทยเรามักเรียกว่า “คนโท” นิยมใช้เป็นองค์ประกอบสถาปัตยกรรมส่วนยอดวิหารในอินเดีย ในสมัยพระเวทเรียกว่า “หม้อเต็มด้วยน้ำ” ได้แก่ ปูรณ-กลศ (Pūrṇa-kalaśa) ปูรณ-กุมภะ (Pūrṇa-kumbha) หรือ ปูรณฆฏะ (Pūrṇa-ghaṭa) เชื่อว่าบรรจุน้ำอมฤต/น้ำศักดิ์สิทธิ์ ถือเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ภูมิปัญญา ความบริสุทธิ์ แหล่งกำเนิดของชีวิต และความเป็นอมตะ บางครั้งกลศก็เต็มด้วยเหรียญเงิน ข้าว อัญมณี และทองคำ หรือส่วนผสมของสิ่งกล่าวแทนน้ำ
กลศใช้เป็นหม้อน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม เช่นใช้ในพิธีหลั่งน้ำโสม (สุรา) เพื่อบวงสรวงเทพเจ้าตั้งแต่สมัยพระเวท ใช้หลั่งน้ำลงดิน หรือหลุมเสาเอกก่อนการก่อสร้าง เพื่อความเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ ยังใช้เป็นหม้อน้ำติดตัวคนเดินทางโดยเฉพาะพวกนักพรต นักบวชชาวอินเดียทั้งในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ
ทางประติมานวิทยาเป็นสัญลักษณ์แสดงลักษณะของเทพเจ้าหลายพระองค์ เช่น พระพรหมา (Brahma) เทพผู้สร้าง ทรงหม้อน้ำในพระหัตถ์ข้างหนึ่ง น้ำซึ่งบรรจุอยู่ภายในกล่าวว่าเป็นน้ำเมื่อแรกกำเนิดจักรวาล พระพรหมทรงโลกขึ้นโดยหย่อนเมล็ดพืชลงในน้ำนั้น พระลักษมี (Lakṣamī) เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ และพระศิวะ (Śiva) ในฐานะเทพคุรุ
ในศาสนาพุทธ พระโพธิสัตว์ถือกลศเป็นสัญลักษณ์แสดงลักษณะของนักบวช เช่น พระปัทมปาณี (Padmapanī) พระไมเตรยะ (Maitreya) พระนางภฤกุฏี (Bhṛkuṭi) กลศในพุทธศาสนาจัดเป็นหม้อน้ำอมฤต หรือหม้ออาหารทิพย์ หรือยาอายุวัฒนะ
ภาพ 1. เหรียญเงินทวารวดี รูปกลศ หรือ ปูรณกลศ พบที่จังหวัดนครปฐม พุทธศตวรรษที่ 12 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ภาพ 2. สัญลักษณ์มงคลรูปกลศะ บนแผ่นหินสลัก ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12-16 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ภาพ 3. กลศ ศิลปะอินเดียแบบคันธารราฐ พุทธศตวรรษที่ 7 – 8 ปกติมักถือในหัตถ์ของพระโพธิสัตว์ไมเตรยะ British Museum
ภาพ 4. พระศิวะสี่กร แสดงปางประทานพร ถือตรีสูร สรรปะ (งู) และ กลศะ ศิลปะอินเดีย พุทธศตวรรษที่ 16 Asian Art Museum of San Francisco
--------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล: นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อ้างอิง
1. ดรรชนีภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี
2. Gods, Goddesses & Religious Symbols of Hinduism, Buddhism & Tantrism
3. Iconography of the Hindus, Buddhists and Jains 4. https://en.wikipedia.org/ wiki/Kalasha
กลศใช้เป็นหม้อน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม เช่นใช้ในพิธีหลั่งน้ำโสม (สุรา) เพื่อบวงสรวงเทพเจ้าตั้งแต่สมัยพระเวท ใช้หลั่งน้ำลงดิน หรือหลุมเสาเอกก่อนการก่อสร้าง เพื่อความเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ ยังใช้เป็นหม้อน้ำติดตัวคนเดินทางโดยเฉพาะพวกนักพรต นักบวชชาวอินเดียทั้งในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ
ทางประติมานวิทยาเป็นสัญลักษณ์แสดงลักษณะของเทพเจ้าหลายพระองค์ เช่น พระพรหมา (Brahma) เทพผู้สร้าง ทรงหม้อน้ำในพระหัตถ์ข้างหนึ่ง น้ำซึ่งบรรจุอยู่ภายในกล่าวว่าเป็นน้ำเมื่อแรกกำเนิดจักรวาล พระพรหมทรงโลกขึ้นโดยหย่อนเมล็ดพืชลงในน้ำนั้น พระลักษมี (Lakṣamī) เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ และพระศิวะ (Śiva) ในฐานะเทพคุรุ
ในศาสนาพุทธ พระโพธิสัตว์ถือกลศเป็นสัญลักษณ์แสดงลักษณะของนักบวช เช่น พระปัทมปาณี (Padmapanī) พระไมเตรยะ (Maitreya) พระนางภฤกุฏี (Bhṛkuṭi) กลศในพุทธศาสนาจัดเป็นหม้อน้ำอมฤต หรือหม้ออาหารทิพย์ หรือยาอายุวัฒนะ
ภาพ 1. เหรียญเงินทวารวดี รูปกลศ หรือ ปูรณกลศ พบที่จังหวัดนครปฐม พุทธศตวรรษที่ 12 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ภาพ 2. สัญลักษณ์มงคลรูปกลศะ บนแผ่นหินสลัก ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12-16 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ภาพ 3. กลศ ศิลปะอินเดียแบบคันธารราฐ พุทธศตวรรษที่ 7 – 8 ปกติมักถือในหัตถ์ของพระโพธิสัตว์ไมเตรยะ British Museum
ภาพ 4. พระศิวะสี่กร แสดงปางประทานพร ถือตรีสูร สรรปะ (งู) และ กลศะ ศิลปะอินเดีย พุทธศตวรรษที่ 16 Asian Art Museum of San Francisco
--------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล: นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อ้างอิง
1. ดรรชนีภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี
2. Gods, Goddesses & Religious Symbols of Hinduism, Buddhism & Tantrism
3. Iconography of the Hindus, Buddhists and Jains 4. https://en.wikipedia.org/ wiki/Kalasha
(จำนวนผู้เข้าชม 3421 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน