อธิบดีกรมศิลปากรตรวจเยี่ยมงานอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานวิหารไทยลื้อ วัดดอนมูล จ.น่าน
วันจันทร์ที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๖.๐๐ น. นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร ตรวจเยี่ยมงานอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานวิหารไทยลื้อ วัดดอนมูล ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน โดยมีนายเทอดศักดิ์ เย็นจุระ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ รายงานความคืบหน้าการบูรณะฯ โดยท่านอธิบดีกรมศิลปากรสั่งการให้ศึกษารายละเอียดแบบ อาคารก่อสร้าง ตลอดจนศิลปกรรมปูนปั้นต่างๆ และบูรณะฯ ให้คงสภาพเดิมมากที่สุด
วิหารไทลื้อ วัดดอนมูล อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ เสร็จเมื่อ ๒๓๘๐ ต่อมา พ.ศ.๒๔๐๐ ได้ทำการซ่อมแซมพระวิหารตกแต่งฐานชุกชี และพ.ศ.๒๔๗๑ ได้ทำการซ่อมแซมโดยได้เปลี่ยนหลังคาไม้แป้นเกล็ดแต่ก็ยังคงรูปแบบดั้งเดิมเอาไว้ จากนั้น พ.ศ.๒๔๙๐ ได้ซ่อมแซมพระวิหารครั้งใหญ่ คือเปลี่ยนเสาไม้ เป็นเสาก่ออิฐถือปูน เหตุเพราะเสาไม้ผุเหลือไว้เพียง ๒ ต้น ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันมีการเจาะขยายช่องหน้าต่างอีกเล็กน้อย ปิดประตูด้านหลังพระประธาน (เดิมพระวิหารไทลื้อมีประตู ๓ ด้าน คือ ด้านหน้าทางทิศตะวันออก ด้านหลังทางทิศตะวันตก และด้านข้างทางทิศใต้) เหลือเพียง ๒ ด้าน และทำการตกแต่งพระประธาน ทำดาวเพดาน ซุ้มพระประธานในการบูรณะครั้งนี้ยังคงรักษารูปแบบดั้งเดิมเอาไว้ โดยเฉพาะโครงสร้างหลังคา เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๙ วิหารหลังนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะฐาน และเสาไม้ ๒ ต้นที่เหลือได้ผุและทรุดลงเล็กน้อย จึงได้เปลี่ยนหลังคาเป็นไม้แป้นเกล็ดเหมือนเดิมและได้เทฐานคอนกรีตเสริมฐานเดิม ซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานรางวัลอนุรักษ์ศิลปกรรมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๓
วิหารไทลื้อ วัดดอนมูล อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ เสร็จเมื่อ ๒๓๘๐ ต่อมา พ.ศ.๒๔๐๐ ได้ทำการซ่อมแซมพระวิหารตกแต่งฐานชุกชี และพ.ศ.๒๔๗๑ ได้ทำการซ่อมแซมโดยได้เปลี่ยนหลังคาไม้แป้นเกล็ดแต่ก็ยังคงรูปแบบดั้งเดิมเอาไว้ จากนั้น พ.ศ.๒๔๙๐ ได้ซ่อมแซมพระวิหารครั้งใหญ่ คือเปลี่ยนเสาไม้ เป็นเสาก่ออิฐถือปูน เหตุเพราะเสาไม้ผุเหลือไว้เพียง ๒ ต้น ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันมีการเจาะขยายช่องหน้าต่างอีกเล็กน้อย ปิดประตูด้านหลังพระประธาน (เดิมพระวิหารไทลื้อมีประตู ๓ ด้าน คือ ด้านหน้าทางทิศตะวันออก ด้านหลังทางทิศตะวันตก และด้านข้างทางทิศใต้) เหลือเพียง ๒ ด้าน และทำการตกแต่งพระประธาน ทำดาวเพดาน ซุ้มพระประธานในการบูรณะครั้งนี้ยังคงรักษารูปแบบดั้งเดิมเอาไว้ โดยเฉพาะโครงสร้างหลังคา เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๙ วิหารหลังนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะฐาน และเสาไม้ ๒ ต้นที่เหลือได้ผุและทรุดลงเล็กน้อย จึงได้เปลี่ยนหลังคาเป็นไม้แป้นเกล็ดเหมือนเดิมและได้เทฐานคอนกรีตเสริมฐานเดิม ซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานรางวัลอนุรักษ์ศิลปกรรมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๓
(จำนวนผู้เข้าชม 1209 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน