ธิรินทรนันทโรจนาพร.กิน ตาม ฤดู.จันท์ยิ้ม.(2):4;เมษายน-พฤษภาคม2560.
นอกจากสภาพภูมิอากาศ ร้อน ฝน หนาว ที่เราใช้ช่วงเวลา เป็นฤดูกาลแล้ว เมืองจันท์บ้านเรายังใช้ช่วงเวลาแห่งการออกดอกออกผล ของผลไม้เป็นชื่อฤดูกาลด้วย อย่างช่วงต้นฤดูร้อน เป็นช่วงที่มะม่วง ออกผลเยอะ เราก็จะเรียกว่าหน้ามะม่วง ในหน้ามะม่วงนี้เราจะได้กิน ข้าวเหนียวมะม่วงเป็นเมนูประจําฤดูร้อน ถัดจากหน้ามะม่วง ก็จะเข้าสู่ หน้าของราชาผลไม้-หน้าทุเรียน (หน้าอย่างเดียวนะ ไม่มีกาก เราไม่เน้น ความตะมุตะมิ แฮ่) อยู่ช่วงปลายฤดูร้อนต้นฤดูฝน ในช่วงนี้เราจะสังเกตเห็น ว่าตามท้องถนนนั้น จะเต็มไปด้วยรถกระบะที่บรรทุกผลทุเรียนเรียงไว้ เต็มคันวิ่งกันคึกคัก หรือผ่านไปตลาดเล็กตลาดน้อย รวมถึงสองข้างทาง เราจะเห็นผลไม้ลูกสีเขียวมีหนามและกลิ่นเฉพาะตัว ตั้งแผงเรียงราย คู่กันมังคุดราชินีแห่งผลไม้ที่ออกผลในเวลาไล่เลี่ย เอาไว้กินคู่กัน
ช่วงฤดูผลไม้ของจังหวัดจันทบุรี เป็นช่วงเวลาใน 1 ปี ที่หลายคน รอคอย ทั้งชาวสวนที่เป็นคนปลูก และคนกินที่พร้อมซื้อทั้งที่อยู่ใกล้และ อยู่ไกลในต่างจังหวัด และต่างประเทศ เราเชื่อว่าการได้กินอาหารประจํา ฤดูกาลเป็นความสีสันและเป็นความสุขอย่างหนึ่ง การรอคอยให้ถึงช่วงเวลา เฉพาะนั้น ๆ ทําให้อาหารมีความพิเศษ ซึ่งคุณผู้อ่านทราบไหมว่า นอกจากความฟินจากการกินที่เราได้รับแล้ว การกินอาหารเป็นฤดูกาล ยังช่วยรักษาทั้งสุขภาพของคนกินและสุขภาพของโลกด้วย
เพราะผักผลไม้ที่เติบโตตามฤดูกาลทางธรรมชาติและอยู่ในพื้นที่ ที่เหมาะสม จะเติบโตได้ดี เช่น ฤดูร้อน มีมะม่วงอกร่อง ฤดูฝนเป็นฤดู ของหน่อไม้ และผักริมรั้ว
นั่นหมายความว่าเกษตรกรไม่จําเป็นต้องใช้ปุ๋ย ใช้ยา จํานวนมาก เพื่อขุนและเป็นให้ผักผลไม้เหล่านั้นผลิดอกออกผลแม้ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม เราไม่จําเป็นต้องพึ่งพาระบบอุตสาหกรรมอาหารที่ต้องใช้สารเคมีเพื่อถนอม แปรรูปและยืดอายุอาหารเพื่อให้เราได้มีกินแม้ในช่วงเวลาที่ไม่ใช่หน้าของมัน เราจะช่วยลดพลังงานจํานวนมากที่ใช้ในการขนส่งอาหาร หากเราหันมา รับประทานอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่น แทนอาหารที่ต้องเดินทางไกลจาก ต่างภาคหรือต่างประเทศให้มากขึ้น
จากตัวเลขทางสถิติของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก ระบบผลิตอาหารบอกเราว่า กว่าร้อยละ 20 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจก ทั้งหมดมาจากกระบวนการในการขนส่ง และอีกกว่าร้อยละ 25 มาจาก กระบวนการในการผลิตและแปรรูปอาหาร ตัวเลข 20 และ 25 นี้ ถ้าคิดเป็น ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จริง ๆ ก็อยู่ที่ราว ๆ 2.5% และ 3* พันล้านตัน ต่อปีเลยทีเดียว
ฉะนั้นแล้ว การกินอาหารเป็นฤดูกาล จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยให้เราและโลกสุขภาพดีไปพร้อม ๆ กัน เรียกได้ว่าเป็น “การกิน ช่วยโลก” อย่างแท้จริง
(จำนวนผู้เข้าชม 378 ครั้ง)