ประเพณีวัฒนธรรมข้าวและประเพณีการทำนาของไทย: บุญข้าวจี่
ทำบุญข้าวจี่ วันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันมาฆบูชา รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำก็ถวายข้าวจี่ เรียกว่าวันทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชานั่นเอง ข้าวจี่คือเอาข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนเอาไม้เสียบย่างไฟเหมือนไก่ย่าง เมื่อข้าวสุกเกรียมแล้วก็เอาไข่ซึ่งตีไว้แล้วทาแล้วย่างซ้ำอีกกลายเป็นไข่เคลือบข้าวเหนียว เสร็จแล้วถอดไม้ออกแล้วเอาน้ำอ้อยหรือน้ำตาลที่เป็นก้อนยัดใส่แทนกลายเป็นข้าวเหนียวยัดไส้ แล้วถวายพระเณรฉันตอนเช้า ส่วนมากชาวบ้านจะรีบทำแต่เช้ามืด พอสว่างก็ลงศาลาการเปรียญ (ชาวบ้านเรียกหอแจก) นิมนต์พระเณรเจริญพระพุทธมนต์แล้วฉัน เป็นทั้งงานบุญและงานรื่นเริงประจำแต่ละหมู่บ้าน เพราะได้ทำข้าวจี่ไปถวายพระหลังจากพระฉันแล้วก็เลี้ยงกันเองสนุกสนาน มีคำพังเพยอีสานว่า
"เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นเข้าจี่ เข้าจี่บ่ใส่น้ำอ้อยจัวน้อยเช็ดน้ำตา"
เดือนนี้ชาวนาส่วนใหญ่ถือกันตั้งแต่โบราณมาว่าเป็นเดือนสู่ขวัญข้าว คือมีการถวายข้าวเปลือกพระและนิยมทำบุญบ้าน สวดมนต์เสร็จพิธีสงฆ์ แล้วก็สู่ขวัญข้าวตามธรรมเนียมพราหมณ์ บางบ้านก็ทำเล็กน้อยพอเป็นพิธี คือเอาข้าวไปถวายสงฆ์แล้วทำพิธีตุ้มปากเล้าเล็กน้อยเป็นการบูชาคุณของข้าวในเล้าหรือยุ้ง
"เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันทำเข้าจี่ ไปถวายสงฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ"
ทั้งนี้ประเพณีบุญข้าวจี่จัดขึ้นโดยทั่วไปในภาคอีสาน โดยเฉพาะบริเวณแถบ อ.พังโคน และ อ.สว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยจะมีการทำบุญและกิจกรรมการละเล่นต่างๆในงาน (เรียบเรียงข้อมูลบางส่วนจาก สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน .กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานิชย์, 2542)
ภาพ : ประเพณีบุญข้าวจี่ บ้านดอนคา ของชุมชนลาวเวียง ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ชาวบ้านชุมชนลาวเวียงบ้านดอนคาจัดขบวนแห่ข้าวจี่ยักษ์ วันมาฆบูชา วันเพ็ญเดือน 3 เป็น รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำ จึงถวายข้าวจี่ เป็นการทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชา
ภาพ : ชาวบ้านชุมชนลาวเวียงบ้านดอนคาช่วยกันทำข้าวจี่ เพื่อถวายพระ วันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันมาฆบูชา รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำก็ถวายข้าวจี่ เรียกว่าวันทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชา
--------------------------------------------------
ภาพจาก : Facebook Page ศูนย์อนุรักษ์ฟื้นฟูและอนุรักษ์ วัฒนธรรมประเพณี ลาวเวียงบ้านดอนคา (**ชุมชนลาวเวียง ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี)
เรียบเรียง : นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร
หมายเหตุ : เผยแพร่ข้อมูลวันที่ 6 ก.พ. 2563 Facebook Page : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย Thaifarmersnationalmuseum
"เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นเข้าจี่ เข้าจี่บ่ใส่น้ำอ้อยจัวน้อยเช็ดน้ำตา"
เดือนนี้ชาวนาส่วนใหญ่ถือกันตั้งแต่โบราณมาว่าเป็นเดือนสู่ขวัญข้าว คือมีการถวายข้าวเปลือกพระและนิยมทำบุญบ้าน สวดมนต์เสร็จพิธีสงฆ์ แล้วก็สู่ขวัญข้าวตามธรรมเนียมพราหมณ์ บางบ้านก็ทำเล็กน้อยพอเป็นพิธี คือเอาข้าวไปถวายสงฆ์แล้วทำพิธีตุ้มปากเล้าเล็กน้อยเป็นการบูชาคุณของข้าวในเล้าหรือยุ้ง
"เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันทำเข้าจี่ ไปถวายสงฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ"
ทั้งนี้ประเพณีบุญข้าวจี่จัดขึ้นโดยทั่วไปในภาคอีสาน โดยเฉพาะบริเวณแถบ อ.พังโคน และ อ.สว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยจะมีการทำบุญและกิจกรรมการละเล่นต่างๆในงาน (เรียบเรียงข้อมูลบางส่วนจาก สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน .กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานิชย์, 2542)
ภาพ : ประเพณีบุญข้าวจี่ บ้านดอนคา ของชุมชนลาวเวียง ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ชาวบ้านชุมชนลาวเวียงบ้านดอนคาจัดขบวนแห่ข้าวจี่ยักษ์ วันมาฆบูชา วันเพ็ญเดือน 3 เป็น รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำ จึงถวายข้าวจี่ เป็นการทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชา
ภาพ : ชาวบ้านชุมชนลาวเวียงบ้านดอนคาช่วยกันทำข้าวจี่ เพื่อถวายพระ วันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันมาฆบูชา รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำก็ถวายข้าวจี่ เรียกว่าวันทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชา
--------------------------------------------------
ภาพจาก : Facebook Page ศูนย์อนุรักษ์ฟื้นฟูและอนุรักษ์ วัฒนธรรมประเพณี ลาวเวียงบ้านดอนคา (**ชุมชนลาวเวียง ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี)
เรียบเรียง : นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร
หมายเหตุ : เผยแพร่ข้อมูลวันที่ 6 ก.พ. 2563 Facebook Page : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย Thaifarmersnationalmuseum
(จำนวนผู้เข้าชม 30379 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน