ชวนมารู้จักชาวนาไทย ตอนที่ 4 “องค์ความรู้จากแนวความคิดการออกแบบอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี”
สืบเนื่องมาจากแนวความคิดของสถาปนิกผู้ออกแบบอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี ที่มีแนวคิดจะให้สถาปัตยกรรมสอดคล้องกับแนวทางการจัดแสดงนิทรรศการ ที่มีวัตถุประสงค์หลักคือการรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับข้าว การทำนา วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำนา จึงมีแนวคิดเรื่องของที่อยู่อาศัยของชาวนาไทยภาคกลางเป็นหลักแนวคิดการออกแบบ
เรือนไทยนั้นได้พัฒนาขึ้นมาจากบ้านเรือนของคนในสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิม จึงต้องอาศัยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มเป็นแหล่งประกอบอาชีพหลัก ซึ่งอาชีพเกษตรกรรมดั้งเดิมของคนไทยคืออาชีพชาวนา จึงจะเห็นได้ว่าบ้านเรือนทั่วไปนั้นมักจะปลูกสร้างอยู่ตามลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ การสร้างที่อยู่อาศัยจึงนิยมยกพื้นบนเสาสูง ทั้งนี้ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากหรือน้ำท่วมถึงได้ง่าย ระดับของพื้นบ้านยังเป็นที่อยู่อาศัยได้ตามปกติ อีกทั้งยังเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยพื้นที่ใต้ถุนสูงของบ้าน โดยเฉพาะการเก็บเครื่องมือการเกษตร หรือสัตว์เลี้ยง และยังเป็นพื้นที่เอนกประสงค์อื่น ๆ รวมถึงสำหรับพักผ่อนสำหรับครอบครัวอีกด้วย
เรือนไทยนั้นแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ตามรูปแบบลักษณะโครงสร้างอาคาร วัสดุก่อสร้าง รวมถึงขนาดพื้นที่การก่อสร้างบ้าน ซึ่งแบ่งออกเป็น เรือนเครื่องผูก (เรือนที่สร้างด้วยไม้ไผ่) และเรือนเครื่องสับ (เรือนที่สร้างด้วยไม้จริง) ในที่นี้ขอกล่าวถึงลักษณะของเรือนไทยภาคกลาง ประเภทเรือนเครื่องสับ ซึ่งนิยมปลูกตามริมแม่น้ำลำคลอง หรือพื้นที่ราบลุ่มที่มีน้ำท่วมถึงได้ง่าย จึงสร้างเป็นเรือนใต้ถุนสูง ยกพื้นเรือนให้พ้นน้ำ หลังคาจั่วลาดชัน กันแดดและฝนได้ดี มีชานบ้านและระเบียงสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ มีเรือนครัวเป็นที่ปรุงอาหาร ซึ่งมักแยกออกจากตัวเรือนใหญ่ มีเรือนนอน สำหรับเป็นห้องนอน มีระเบียง หอนั่ง หอนก เป็นส่วนประกอบ และมีบันไดทางขึ้นด้านหน้าบ้าน เฉพาะเรือนเครื่องสับหรือเรือนไม้จริง
เรือนไทยภาคกลางนั้น อาจสร้างเป็นเรือนเดี่ยว หรือสร้างหลายหลังร่วมกันเป็นเรือนหมู่ เมื่อครอบครัวขยายใหญ่ มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะของครอบครัวดั้งเดิมของคนไทยในอดีต จึงสร้างเป็นเรือนหมู่ เช่นสร้างเรือนนอนเพิ่มขึ้น มีชานเชื่อมถึงกัน
ตัวอย่างบ้านเรือนไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี (ในอำเภอเมือง) เช่น บ้านยะมะรัชโช เป็นบ้านไม้ทรงไทยเรือนหมู่ อยู่ริมน้ำ ตั้งอยู่ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
-------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ
ที่มาข้อมูล : รวบรวมและเรียบเรียงจาก
- โครงการจัดทำองค์ความรู้ด้านการสำรวจสถาปัตยกรรมเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน (อาคารเรือนทรงไทย) โดยกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร
- บ้านไทยภาคกลาง ศาสตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13 เรื่องที่ 1 เรือนไทย/เรือนไทยภาคกลาง
- สืบค้น online www.royin.go.th (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา) “เรือน”
หมายเหตุ เผยแพร่ข้อมูล วันที่ 29 เม.ย. 2563 Facebook Page : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย Thaifarmersnationalmuseum
เรือนไทยนั้นได้พัฒนาขึ้นมาจากบ้านเรือนของคนในสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิม จึงต้องอาศัยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มเป็นแหล่งประกอบอาชีพหลัก ซึ่งอาชีพเกษตรกรรมดั้งเดิมของคนไทยคืออาชีพชาวนา จึงจะเห็นได้ว่าบ้านเรือนทั่วไปนั้นมักจะปลูกสร้างอยู่ตามลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ การสร้างที่อยู่อาศัยจึงนิยมยกพื้นบนเสาสูง ทั้งนี้ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากหรือน้ำท่วมถึงได้ง่าย ระดับของพื้นบ้านยังเป็นที่อยู่อาศัยได้ตามปกติ อีกทั้งยังเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยพื้นที่ใต้ถุนสูงของบ้าน โดยเฉพาะการเก็บเครื่องมือการเกษตร หรือสัตว์เลี้ยง และยังเป็นพื้นที่เอนกประสงค์อื่น ๆ รวมถึงสำหรับพักผ่อนสำหรับครอบครัวอีกด้วย
เรือนไทยนั้นแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ตามรูปแบบลักษณะโครงสร้างอาคาร วัสดุก่อสร้าง รวมถึงขนาดพื้นที่การก่อสร้างบ้าน ซึ่งแบ่งออกเป็น เรือนเครื่องผูก (เรือนที่สร้างด้วยไม้ไผ่) และเรือนเครื่องสับ (เรือนที่สร้างด้วยไม้จริง) ในที่นี้ขอกล่าวถึงลักษณะของเรือนไทยภาคกลาง ประเภทเรือนเครื่องสับ ซึ่งนิยมปลูกตามริมแม่น้ำลำคลอง หรือพื้นที่ราบลุ่มที่มีน้ำท่วมถึงได้ง่าย จึงสร้างเป็นเรือนใต้ถุนสูง ยกพื้นเรือนให้พ้นน้ำ หลังคาจั่วลาดชัน กันแดดและฝนได้ดี มีชานบ้านและระเบียงสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ มีเรือนครัวเป็นที่ปรุงอาหาร ซึ่งมักแยกออกจากตัวเรือนใหญ่ มีเรือนนอน สำหรับเป็นห้องนอน มีระเบียง หอนั่ง หอนก เป็นส่วนประกอบ และมีบันไดทางขึ้นด้านหน้าบ้าน เฉพาะเรือนเครื่องสับหรือเรือนไม้จริง
เรือนไทยภาคกลางนั้น อาจสร้างเป็นเรือนเดี่ยว หรือสร้างหลายหลังร่วมกันเป็นเรือนหมู่ เมื่อครอบครัวขยายใหญ่ มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะของครอบครัวดั้งเดิมของคนไทยในอดีต จึงสร้างเป็นเรือนหมู่ เช่นสร้างเรือนนอนเพิ่มขึ้น มีชานเชื่อมถึงกัน
ตัวอย่างบ้านเรือนไทยในจังหวัดสุพรรณบุรี (ในอำเภอเมือง) เช่น บ้านยะมะรัชโช เป็นบ้านไม้ทรงไทยเรือนหมู่ อยู่ริมน้ำ ตั้งอยู่ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
-------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ
ที่มาข้อมูล : รวบรวมและเรียบเรียงจาก
- โครงการจัดทำองค์ความรู้ด้านการสำรวจสถาปัตยกรรมเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน (อาคารเรือนทรงไทย) โดยกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร
- บ้านไทยภาคกลาง ศาสตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13 เรื่องที่ 1 เรือนไทย/เรือนไทยภาคกลาง
- สืบค้น online www.royin.go.th (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา) “เรือน”
หมายเหตุ เผยแพร่ข้อมูล วันที่ 29 เม.ย. 2563 Facebook Page : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย Thaifarmersnationalmuseum
(จำนวนผู้เข้าชม 6051 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน