ประตูต้นไทรและกำแพงเมืองคูเมืองค่ายเนินวง
ประตูต้นไทร เป็นประตูเมืองด้านทิศเหนือของค่ายเนินวง ก่อสร้างในปีพุทธศักราช ๒๓๗๗ ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เพื่อเป็นปราการป้องกันพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของค่ายเนินวงมีภูมิประเทศเป็นเนินดินสูงกว่าพื้นที่โดยรอบ เหมาะแก่การตั้งทัพป้องกันข้าศึกศัตรู
ค่ายเนินวงเป็นเมืองที่มีกำแพงเมืองคูเมืองล้อมรอบ คูเมืองขุดลงไปในชั้นศิลาแลงธรรมชาติ กว้างประมาณ ๑๕ เมตร ดินที่ขุดคูเมืองนำมาถมเป็นกำแพงเมืองกว้างประมาณ ๒๕ เมตร สูงประมาณ ๕ เมตร บริเวณที่มีการเว้นช่องประตูจะมีการก่ออิฐเป็นกำแพงกันดิน โดยเว้นช่องประตูกว้างประมาณ ๓.๕๐ เมตร ไม่ปรากฏร่องรอยของบานประตู แต่มีเสาไม้จำนวน ๔ ต้น สูงประมาณ ๕ เมตร รองรับอาคารด้านบนซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นหอรบหรือหอสังเกตุการณ์ ประตูต้นไทรเป็นประตูเพียงแห่งเดียวจากประตูเมืองทั้งหมด ๘ ประตู ที่ยังคงหลงเหลือร่องรอยอาคารด้านบน ด้านข้างของอาคารทั้งสองด้านมีแนวใบบังทำจากศิลาแลง ยาวประมาณ ๗-๑๐ เมตร สูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร และเชิงเทินกว้างประมาณ ๘ เมตร ยาวต่อเนื่องไปตลอดระยะกำแพงเมือง
กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งทางโบราณคดีเพื่อออกแบบบูรณะประตูต้นไทร ก่อนดำเนินการได้ทำการตัดแต่งกิ่งต้นไทรที่ขึ้นปกคลุมอาคารด้านบน ทำให้พบฐานอาคารก่ออิฐที่มีลักษณะเป็นฐานบัวคว่ำ มีทางเข้าออกจากด้านกำแพงเมืองทั้งสองฝั่ง ฐานอาคารตั้งอยู่บนไม้ซุงผ่าครึ่งวางเรียงกัน มีเสาไม้ คานไม้และผนังกันดินก่ออิฐเป็นตัวรองรับน้ำหนักอาคาร ไม่พบส่วนของผนังอาคารและโครงสร้างหลังคา อย่างไรก็ตามพบชิ้นส่วนปูนฉาบผนังอาคาร ลวดบัวปูนปั้นเป็นวงโค้ง กระเบื้องมุงหลังคาดินเผา ทำให้สันนิษฐานว่าอาคารด้านบนของประตูเป็นอาคารที่มีฐานทำจากอิฐ มีผนังฉาบปูน มีช่องหน้าต่างหรือช่องประตูเป็นวงโค้งและมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา
ภาพที่ 1 ประตูต้นไทรก่อนการดำเนินงาน
ภาพที่ 2 ฐานอาคารด้านบนประตู หลังการตัดแต่งกิ่งต้นไทร
ภาพที่ 3 และ 4 ประตูต้นไทร หลังการขุดแต่งทางโบราณคดี
ภาพที่ 5 ใบบัง หลังการขุดแต่งทางโบราณคดี
ภาพที่ 6 ลวดบัวและปูนฉาบอาคาร ที่พบจากการขุดแต่งทางโบราณคดี
ภาพที่ 7 และ 8 ประตูต้นไทร หลังการบูรณะ
ภาพที่ 9 และ 10 อาคารด้านบนประตูต้นไทร หลังการบูรณะ ภาพที่ 11 และ 12 ใบบัง หลังการบูรณะ
ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี
ค่ายเนินวงเป็นเมืองที่มีกำแพงเมืองคูเมืองล้อมรอบ คูเมืองขุดลงไปในชั้นศิลาแลงธรรมชาติ กว้างประมาณ ๑๕ เมตร ดินที่ขุดคูเมืองนำมาถมเป็นกำแพงเมืองกว้างประมาณ ๒๕ เมตร สูงประมาณ ๕ เมตร บริเวณที่มีการเว้นช่องประตูจะมีการก่ออิฐเป็นกำแพงกันดิน โดยเว้นช่องประตูกว้างประมาณ ๓.๕๐ เมตร ไม่ปรากฏร่องรอยของบานประตู แต่มีเสาไม้จำนวน ๔ ต้น สูงประมาณ ๕ เมตร รองรับอาคารด้านบนซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นหอรบหรือหอสังเกตุการณ์ ประตูต้นไทรเป็นประตูเพียงแห่งเดียวจากประตูเมืองทั้งหมด ๘ ประตู ที่ยังคงหลงเหลือร่องรอยอาคารด้านบน ด้านข้างของอาคารทั้งสองด้านมีแนวใบบังทำจากศิลาแลง ยาวประมาณ ๗-๑๐ เมตร สูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร และเชิงเทินกว้างประมาณ ๘ เมตร ยาวต่อเนื่องไปตลอดระยะกำแพงเมือง
กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งทางโบราณคดีเพื่อออกแบบบูรณะประตูต้นไทร ก่อนดำเนินการได้ทำการตัดแต่งกิ่งต้นไทรที่ขึ้นปกคลุมอาคารด้านบน ทำให้พบฐานอาคารก่ออิฐที่มีลักษณะเป็นฐานบัวคว่ำ มีทางเข้าออกจากด้านกำแพงเมืองทั้งสองฝั่ง ฐานอาคารตั้งอยู่บนไม้ซุงผ่าครึ่งวางเรียงกัน มีเสาไม้ คานไม้และผนังกันดินก่ออิฐเป็นตัวรองรับน้ำหนักอาคาร ไม่พบส่วนของผนังอาคารและโครงสร้างหลังคา อย่างไรก็ตามพบชิ้นส่วนปูนฉาบผนังอาคาร ลวดบัวปูนปั้นเป็นวงโค้ง กระเบื้องมุงหลังคาดินเผา ทำให้สันนิษฐานว่าอาคารด้านบนของประตูเป็นอาคารที่มีฐานทำจากอิฐ มีผนังฉาบปูน มีช่องหน้าต่างหรือช่องประตูเป็นวงโค้งและมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา
ภาพที่ 1 ประตูต้นไทรก่อนการดำเนินงาน
ภาพที่ 2 ฐานอาคารด้านบนประตู หลังการตัดแต่งกิ่งต้นไทร
ภาพที่ 3 และ 4 ประตูต้นไทร หลังการขุดแต่งทางโบราณคดี
ภาพที่ 5 ใบบัง หลังการขุดแต่งทางโบราณคดี
ภาพที่ 6 ลวดบัวและปูนฉาบอาคาร ที่พบจากการขุดแต่งทางโบราณคดี
ภาพที่ 7 และ 8 ประตูต้นไทร หลังการบูรณะ
ภาพที่ 9 และ 10 อาคารด้านบนประตูต้นไทร หลังการบูรณะ ภาพที่ 11 และ 12 ใบบัง หลังการบูรณะ
ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี
(จำนวนผู้เข้าชม 1114 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน