“ถ้ำเบื้องแบบ” ชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดสุราษฏร์ธานี
ถ้ำเบื้องแบบ เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือเป็นชุมชนก่อนประวัติศาสตร์รุ่นแรก ๆ ที่ได้รับการศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการขุดค้นครั้งสำคัญในปี ๒๕๒๕ – ๒๕๒๖ ทำให้พบหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นจำนวนมาก เช่น โครงกระดูกมนุษย์ กระดูกสัตว์ เปลือกหอย ภาชนะดินเผา ลูกปัดหอย ขวานหินขัด รวมทั้งเครื่องมือหินกะเทาะและเครื่องมือสะเก็ดหินกว่า ๑,๐๐๐ ชิ้น
แหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัด สุราษฎร์ธานี ลักษณะเป็นถ้ำตั้งอยู่บนเขาหินปูนขนาดเล็ก มีระดับความสูงระหว่าง ๓๐ - ๗๒ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ในปี ๒๕๒๕ – ๒๕๒๖ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ดำเนินการสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบ ในโครงการโบราณคดีเชี่ยวหลาน ตามแผนงานแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนเชี่ยวหลาน ผลการขุดค้นพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ในโพรงถ้ำและเพิงผา ๓ ตำแหน่ง ได้แก่
(๑) ถ้ำใหญ่ (ถ้ำสูง) หรือถ้ำเบื้องแบบ ๑ เป็นโพรงถ้ำขนาดใหญ่ที่สุด จากหลังคาถ้ำมีช่องแสงสูงจากระดับพื้นดินล่าง ๑๒ เมตร มีห้องโถงใหญ่ทับถมด้วยดิน มีช่องแสงขนาดใหญ่ตอนบน ซอกชั้นใกล้เพดานถ้ำทะลุออกสู่ช่องแสงอีกด้านหนึ่งของภูเขาและยอดเขา หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ได้แก่ กระดูกมนุษย์ ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามีร่องรอยการขัดฝนบริเวณฟันหน้า นอกจากนั้นยังพบกระดูกและฟันสัตว์ เช่น หมูป่า อ้น กวาง เต่า ตะพาบ นก และปูนาพันธุ์, เปลือกหอย เช่น หอยบก หอยทะเล หอยน้ำจืด และหอยน้ำกร่อย, เมล็ดพืช ,ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา รูปทรงที่พบ เช่น ภาชนะก้นกลม หม้อมีสัน ชามมีสัน ภาชนะทรงจอกปากผาย ภาชนะทรงพาน หม้อสามขา แท่นรองหม้อ แท่นพิงรูปเขาสัตว์ กระสุนดินเผา เครื่องมือหิน เครื่องมือสะเก็ดหิน ลูกปัดหอย และกำไลหินหรือจักรหิน
(๒) ถ้ำล่าง (ถ้ำพระ) หรือถ้ำเบื้องแบบ ๒ เป็นเพิงผากึ่งโพรงถ้ำ สูงจากระดับพื้นดินล่าง ๑.๘๐ เมตร หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ได้แก่ กระดูกและฟันสัตว์ เปลือกหอย ได้แก่ หอยบก หอยน้ำจืด หอยทะเล เมล็ดพืชป่า ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา เช่น หม้อสามขา หม้อมีสัน แท่นรองหม้อ แท่นพิงรูปเขาสัตว์ นอกจากนี้ยังพบเครื่องมือหินลักษณะพิเศษ คือ หินทุบผ้าเปลือกไม้ ซึ่งเครื่องมือลักษณะนี้ใช้สำหรับทุบเปลือกไม้ ใยไม้ เพื่อเอามาทำเป็นผ้า
(๓) ถ้ำหลังเขา (ถ้ำผี) หรือถ้ำเบื้องแบบ ๓ เป็นเพิงผาเพดานต่ำ มีลักษณะเป็นช่องโพรงถ้ำเปิด ปากทางเข้าถ้ำเป็นเพิงผา มีเพดานต่ำก่อนเข้าถึงโพรงถ้ำ สูงจากระดับพื้นดินล่าง ๑๕ เมตร หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ได้แก่ กระดูกสัตว์ เปลือกหอย เครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือสะเก็ดหิน แผ่นหินลับ ขวานหินขัด และเศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ
จากหลักฐานที่พบแสดงให้เห็นว่าในอดีต ถ้ำเบื้องแบบเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมีวิถีการดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ เก็บของป่ามาเป็นอาหาร มีวัฒนธรรมการทำและใช้เครื่องมือหินกะเทาะและเครื่องมือหินขัดร่วมกัน มีการทำภาชนะดินเผา รู้จักการทำเครื่องประดับจากหินและเปลือกหอย เช่น กำไลหินหรือจักรหิน ลูกปัดหอย การทำผ้าด้วยเปลือกไม้ นอกจากนั้นยังพบหลักฐานที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้ไฟในการหุงต้มอาหาร เนื่องพบร่องรอยของคราบอาหารไหม้ติดอยู่บนภาชนะดินเผา และพบร่องรอยของกระดูกสัตว์ที่นำมาเป็นอาหารถูกทำให้สุกด้วยการเผาไฟ ผลการหาค่าอายุของแหล่งโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ จากการนำตัวอย่างถ่าน กระดูกสัตว์ และกระดูกมนุษย์ ด้วยวิธีเรดิโอคาร์บอน (C-14) สามารถกำหนดอายุสมัยของแหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบได้ประมาณ ๖,๕๐๐ – ๔,๒๐๐ ปีมาแล้ว
ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช
https://www.facebook.com/nakonsrifad14/posts/608790486387203?__tn__=K-R
แหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัด สุราษฎร์ธานี ลักษณะเป็นถ้ำตั้งอยู่บนเขาหินปูนขนาดเล็ก มีระดับความสูงระหว่าง ๓๐ - ๗๒ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ในปี ๒๕๒๕ – ๒๕๒๖ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ดำเนินการสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบ ในโครงการโบราณคดีเชี่ยวหลาน ตามแผนงานแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนเชี่ยวหลาน ผลการขุดค้นพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ในโพรงถ้ำและเพิงผา ๓ ตำแหน่ง ได้แก่
(๑) ถ้ำใหญ่ (ถ้ำสูง) หรือถ้ำเบื้องแบบ ๑ เป็นโพรงถ้ำขนาดใหญ่ที่สุด จากหลังคาถ้ำมีช่องแสงสูงจากระดับพื้นดินล่าง ๑๒ เมตร มีห้องโถงใหญ่ทับถมด้วยดิน มีช่องแสงขนาดใหญ่ตอนบน ซอกชั้นใกล้เพดานถ้ำทะลุออกสู่ช่องแสงอีกด้านหนึ่งของภูเขาและยอดเขา หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ได้แก่ กระดูกมนุษย์ ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามีร่องรอยการขัดฝนบริเวณฟันหน้า นอกจากนั้นยังพบกระดูกและฟันสัตว์ เช่น หมูป่า อ้น กวาง เต่า ตะพาบ นก และปูนาพันธุ์, เปลือกหอย เช่น หอยบก หอยทะเล หอยน้ำจืด และหอยน้ำกร่อย, เมล็ดพืช ,ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา รูปทรงที่พบ เช่น ภาชนะก้นกลม หม้อมีสัน ชามมีสัน ภาชนะทรงจอกปากผาย ภาชนะทรงพาน หม้อสามขา แท่นรองหม้อ แท่นพิงรูปเขาสัตว์ กระสุนดินเผา เครื่องมือหิน เครื่องมือสะเก็ดหิน ลูกปัดหอย และกำไลหินหรือจักรหิน
(๒) ถ้ำล่าง (ถ้ำพระ) หรือถ้ำเบื้องแบบ ๒ เป็นเพิงผากึ่งโพรงถ้ำ สูงจากระดับพื้นดินล่าง ๑.๘๐ เมตร หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ได้แก่ กระดูกและฟันสัตว์ เปลือกหอย ได้แก่ หอยบก หอยน้ำจืด หอยทะเล เมล็ดพืชป่า ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา เช่น หม้อสามขา หม้อมีสัน แท่นรองหม้อ แท่นพิงรูปเขาสัตว์ นอกจากนี้ยังพบเครื่องมือหินลักษณะพิเศษ คือ หินทุบผ้าเปลือกไม้ ซึ่งเครื่องมือลักษณะนี้ใช้สำหรับทุบเปลือกไม้ ใยไม้ เพื่อเอามาทำเป็นผ้า
(๓) ถ้ำหลังเขา (ถ้ำผี) หรือถ้ำเบื้องแบบ ๓ เป็นเพิงผาเพดานต่ำ มีลักษณะเป็นช่องโพรงถ้ำเปิด ปากทางเข้าถ้ำเป็นเพิงผา มีเพดานต่ำก่อนเข้าถึงโพรงถ้ำ สูงจากระดับพื้นดินล่าง ๑๕ เมตร หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ได้แก่ กระดูกสัตว์ เปลือกหอย เครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือสะเก็ดหิน แผ่นหินลับ ขวานหินขัด และเศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ
จากหลักฐานที่พบแสดงให้เห็นว่าในอดีต ถ้ำเบื้องแบบเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมีวิถีการดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ เก็บของป่ามาเป็นอาหาร มีวัฒนธรรมการทำและใช้เครื่องมือหินกะเทาะและเครื่องมือหินขัดร่วมกัน มีการทำภาชนะดินเผา รู้จักการทำเครื่องประดับจากหินและเปลือกหอย เช่น กำไลหินหรือจักรหิน ลูกปัดหอย การทำผ้าด้วยเปลือกไม้ นอกจากนั้นยังพบหลักฐานที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้ไฟในการหุงต้มอาหาร เนื่องพบร่องรอยของคราบอาหารไหม้ติดอยู่บนภาชนะดินเผา และพบร่องรอยของกระดูกสัตว์ที่นำมาเป็นอาหารถูกทำให้สุกด้วยการเผาไฟ ผลการหาค่าอายุของแหล่งโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ จากการนำตัวอย่างถ่าน กระดูกสัตว์ และกระดูกมนุษย์ ด้วยวิธีเรดิโอคาร์บอน (C-14) สามารถกำหนดอายุสมัยของแหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบได้ประมาณ ๖,๕๐๐ – ๔,๒๐๐ ปีมาแล้ว
ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช
https://www.facebook.com/nakonsrifad14/posts/608790486387203?__tn__=K-R
(จำนวนผู้เข้าชม 2820 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน