เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
วัดเชตุพน เมืองสุโขทัย
วัดเชตุพน ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองสุโขทัยทางทิศใต้ ห่างจากประตูนะโมไปตามถนนประมาณ 1.7 กิโลเมตร ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นกลุ่มโบราณสถานที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาโบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ โบราณสถานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่วัดซึ่งมีคูน้ำ 2 ชั้นล้อมรอบ มีเพียงโบสถ์ที่ตั้งอยู่แยกออกมาทางทิศใต้นอกคูน้ำประมาณ 100 เมตร รายละเอียดของสิ่งก่อสร้างในวัดมีดังต่อไปนี้
1. มณฑปพระสี่อิริยาบถ เป็นโบราณสถานหลักของวัด มณฑปเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลา ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ทางด้านทิศตะวันตกเป็นพระพุทธรูปประทับยืน ทางด้านทิศเหนือเป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง และทางด้านทิศใต้เป็นพระพุทธรูปประทับนอน (ไสยาสน์) พระพุทธรูปสี่อิริยาบถนี้ ก่อด้วยอิฐ มีสภาพชำรุดพระเศียรหักหาย ขนาดของมณฑปกว้างประมาณ 11 เมตร
2. มณฑปเล็กก่อด้วยอิฐ ขนาดฐานด้านละ 7 เมตร ตั้งอยู่ด้านหลังหรือทางตะวันตกของมณฑปพระสี่อิริยาบถ ภายในเจดีย์มีร่องรอยพระพุทธรูปปูนปั้น หันหน้าไปทางด้านทิศตะวันออก และพบว่ามีการเขียนภาพลายเส้นพันธุ์พฤกษาเขียนด้วยสีดำเห็นได้ชัดเจนบริเวณด้านตะวันตกของเจดีย์
3. ฐานวิหาร 6 ห้อง ก่อด้วยอิฐและเสาศิลาแลงกลม ขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 25 เมตร อยู่ทางด้านตะวันออกของมณฑปพระสี่อิริยาบถ
4. ฐานเจดีย์รายจำนวน 13 องค์ อยู่รายรอบวิหารและมณฑป
5. กำแพงรอบมณฑปพระสี่อิริยาบถ ทำด้วยหินชนวนล้อมรอบมณฑปพระสี่อิริยาบถและมณฑปเล็ก รวมทั้งเจดีย์บางส่วนไว้ภายในทั้ง 4 ด้าน ทางด้านทิศเหนือทิศใต้และทิศตะวันตกมีช่องประตูทางเข้า ทำด้วยหินชนวนแท่งใหญ่ หนา เจาะเป็นเดือยสลักไว้เพื่อเข้าไม้
6. สระน้ำ 2 สระ อยู่ภายในเขตกำแพงวัด สระแห่งแรกกว้างประมาณ 30 เมตร ยาว 180 เมตร อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวัด สระแห่งที่สองอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัด มีขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 120 เมตร
7. กำแพงวัดก่อด้วยอิฐ ล้อมรอบอาณาเขตวัดไว้ทั้งสี่ด้าน แต่กำแพงนี้ก็ยังอยู่ด้านในของคูน้ำชั้นนอกอีกทีหนึ่ง ขนาดของกำแพงมีความยาวแต่ละด้านมีดังนี้คือ 180 เมตร ยาว 200 เมตร
8. คูน้ำที่ล้อมรอบมี ๒ ชั้น คูชั้นในสุดล้อมรอบเฉพาะกลุ่มโบราณสถานส่วนใหญ่ไว้ มีลักษณะเป็นเขตพุทธาวาส ขนาดคูชั้นในกว้าง ๑๐ เมตร ล้อมรอบพื้นที่กว้าง ๓๕ เมตร ยาว ๗๐ เมตร ส่วนคูชั้นนอกมีขนาดกว้าง ๒๕ เมตร ล้อมรอบพื้นที่บริเวณวัดภายในกำแพงอิฐไว้ทั้งหมด
9. ฐานโบสถ์ก่ออิฐขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 15.5 เมตร มีเสมาหินปักเป็นคู่อยู่รอบ 8 ทิศ โดยฐานโบสถ์นี้อยู่ห่างออกมานอกเขตคูน้ำล้อมรอบวัดทางทิศใต้ประมาณ 10 เมตร
วัดเชตุพนไม่ปรากฏหลักฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ปรากฏหลักฐานจาก จารึกวัดสรศักดิ์ กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ 20 ว่า เมื่อพระมหาเถรธรรมไตรโลกฯ มีศักดิ์เป็นน้าของพระมหาธรรมราชาเจ้าเมืองสุโขทัยพระองค์หนึ่ง มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสรศักดิ์ได้ร่วมชุมนุมกับพระวัดเชตุพน พิจารณาการสร้างเจดีย์ช้างรอบและศาสนสถานอื่น ๆ ที่วัดสรศักดิ์ จากข้อความที่ระบุชื่อวัดเชตุพนในศิลาจารึกหลักนี้ ประกอบกับรูปแบบทางศิลปกรรมของที่นี่แสดงให้เห็นว่า วัดเชตุพนคงเป็นวัดที่มีความสำคัญและเจริญรุ่งเรืองในช่วงสุโขทัยตอนปลาย นอกจากนี้ยังได้พบจารึกที่วัดเชตุพน กล่าวถึงเจ้าธรรมรังษีซึ่งบวชได้ 22 พรรษามีจิตศรัทธาสร้างพระพุทธรูปขึ้นใน พ.ศ. 2057
ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
(จำนวนผู้เข้าชม 2753 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน