โรคระบาดสมัยรัตนโกสินทร์ ตอน อหิวาตกโรค
โรคระบาดเป็นปัญหาที่คุกคามมนุษยชาติ รวมทั้งสังคมไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ผู้ปกครองสยามในแต่ละยุคสมัยจึงต้องมีวิธีจัดการกับปัญหาโรคระบาดโดยแตกต่างกันไปตามบริบทของสังคม ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีโรคระบาดที่สำคัญ ๓ โรค คือ อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ และกาฬโรค ซึ่งแต่ละโรคมีลักษณะและช่วงเวลาการระบาดที่แตกต่างกัน อันสัมพันธ์กับการระบาดในต่างประเทศ เนื่องจากการติดต่อค้าขายทำให้โรคระบาดแพร่ไปได้อย่างกว้างขวาง
อหิวาตกโรค (Cholera) ในอดีตเรียกว่า “โรคป่วงใหญ่” หรือ “โรคลงราก” เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดอาการท้องร่วงและอาเจียนอย่างรุนแรง จนผู้ป่วยขาดน้ำและเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว สามารถติดต่อผ่านแหล่งน้ำและอาหาร จึงแพร่ระบาดได้เป็นวงกว้าง
ในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของอหิวาตกโรคเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๓ ซึ่งตรงกับการระบาดทั่วโลก (Pandemic) ครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๖๐ – ๒๓๖๗) โดยมีจุดเริ่มต้นจากอินเดีย แล้วระบาดมาถึงสยามผ่านปีนัง จากนั้นจึงเข้ามาถึงสมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร การระบาดมีความรุนแรงมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีอาพาธพินาศ เพื่อปัดเป่าโรคร้าย แต่ปรากฏว่าโรคระบาดยิ่งร้ายแรงหนักขึ้น ผู้ที่เข้าร่วมพิธีเสียชีวิตจำนวนมาก ต่อมาจึงไม่ประกอบพระราชพิธีอาพาธพินาศอีกต่อไปเมื่อเกิดโรคระบาด
หลังจากนั้นได้เกิดอหิวาตกโรคระบาดในสยามอีกหลายครั้ง ซึ่งมักจะตรงกับการระบาดครั้งใหญ่ในต่างประเทศเช่นเดิม ถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อเกิดการระบาดใน พ.ศ. ๒๔๒๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวถึง ๔๘ แห่งในกรุงเทพฯ เรียกว่า โรงพยาบาลเอกเทศ เพื่อรักษาผู้ป่วยอหิวาตกโรค จนพัฒนาไปสู่การจัดตั้งโรงพยาบาลถาวร คือโรงศิริราชพยาบาลในเวลาต่อมา
ถึงแม้อหิวาตกโรคจะเป็นโรคระบาดที่รุนแรง แต่ความรู้ทางการแพทย์ตะวันตกทำให้ทราบว่าสามารถรักษาชีวิตผู้ป่วยอหิวาตกโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการให้น้ำเกลือเพื่อรักษาอาการขาดน้ำ และแทบไม่ต้องใช้ยาใดๆ เลย ดังนั้นเมื่อเกิดอหิวาตกโรคระบาดจึงมักใช้วิธีรักษาพยาบาล ด้วยการจัดตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวตามเขตที่มีการระบาด เพื่อรักษาผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด จนถึงราวทศวรรษ ๒๔๘๐ จึงเริ่มมีการฉีดวัคซีนและฆ่าเชื้อในแหล่งน้ำเพื่อป้องกันโรคด้วย ทำให้การระบาดในสมัยหลังๆ มีอัตราการตายที่ต่ำ และมีระยะเวลาการระบาดสั้นลง ..................................................................
ภาพ : เมื่ออหิวาตกโรคระบาดในสมัยรัชกาลที่ ๒ - ๓ ศพผู้ป่วยอหิวาตกโรคมักถูกนำไปไว้ที่ลานวัดต่างๆ เช่น วััดสระเกศ เป็นอาหารของอีแร้ง จนเกิดเป็นคำว่า "แร้งวัดสระเกศ"
ภาพ : สถานพยาบาลชั่วคราวที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตั้งขึ้นที่ถนนเจริญกรุงเพื่อรักษาผู้ป่วยอหิวาตกโรค
ภาพ : โรงพยาบาลเอกเทศที่ตั้งขึ้นเมื่อเกิดอหิวาตกโรคระบาดใน พ.ศ. ๒๔๒๔
เรียบเรียงโดย นายธันวา วงศ์เสงี่ยม นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มประวัติศาสตร์
ที่มาของข้อมูลhttps://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2894563780592205&id=346438995404709
อหิวาตกโรค (Cholera) ในอดีตเรียกว่า “โรคป่วงใหญ่” หรือ “โรคลงราก” เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดอาการท้องร่วงและอาเจียนอย่างรุนแรง จนผู้ป่วยขาดน้ำและเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว สามารถติดต่อผ่านแหล่งน้ำและอาหาร จึงแพร่ระบาดได้เป็นวงกว้าง
ในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของอหิวาตกโรคเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๓ ซึ่งตรงกับการระบาดทั่วโลก (Pandemic) ครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๖๐ – ๒๓๖๗) โดยมีจุดเริ่มต้นจากอินเดีย แล้วระบาดมาถึงสยามผ่านปีนัง จากนั้นจึงเข้ามาถึงสมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร การระบาดมีความรุนแรงมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีอาพาธพินาศ เพื่อปัดเป่าโรคร้าย แต่ปรากฏว่าโรคระบาดยิ่งร้ายแรงหนักขึ้น ผู้ที่เข้าร่วมพิธีเสียชีวิตจำนวนมาก ต่อมาจึงไม่ประกอบพระราชพิธีอาพาธพินาศอีกต่อไปเมื่อเกิดโรคระบาด
หลังจากนั้นได้เกิดอหิวาตกโรคระบาดในสยามอีกหลายครั้ง ซึ่งมักจะตรงกับการระบาดครั้งใหญ่ในต่างประเทศเช่นเดิม ถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อเกิดการระบาดใน พ.ศ. ๒๔๒๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวถึง ๔๘ แห่งในกรุงเทพฯ เรียกว่า โรงพยาบาลเอกเทศ เพื่อรักษาผู้ป่วยอหิวาตกโรค จนพัฒนาไปสู่การจัดตั้งโรงพยาบาลถาวร คือโรงศิริราชพยาบาลในเวลาต่อมา
ถึงแม้อหิวาตกโรคจะเป็นโรคระบาดที่รุนแรง แต่ความรู้ทางการแพทย์ตะวันตกทำให้ทราบว่าสามารถรักษาชีวิตผู้ป่วยอหิวาตกโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการให้น้ำเกลือเพื่อรักษาอาการขาดน้ำ และแทบไม่ต้องใช้ยาใดๆ เลย ดังนั้นเมื่อเกิดอหิวาตกโรคระบาดจึงมักใช้วิธีรักษาพยาบาล ด้วยการจัดตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวตามเขตที่มีการระบาด เพื่อรักษาผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด จนถึงราวทศวรรษ ๒๔๘๐ จึงเริ่มมีการฉีดวัคซีนและฆ่าเชื้อในแหล่งน้ำเพื่อป้องกันโรคด้วย ทำให้การระบาดในสมัยหลังๆ มีอัตราการตายที่ต่ำ และมีระยะเวลาการระบาดสั้นลง ..................................................................
ภาพ : เมื่ออหิวาตกโรคระบาดในสมัยรัชกาลที่ ๒ - ๓ ศพผู้ป่วยอหิวาตกโรคมักถูกนำไปไว้ที่ลานวัดต่างๆ เช่น วััดสระเกศ เป็นอาหารของอีแร้ง จนเกิดเป็นคำว่า "แร้งวัดสระเกศ"
ภาพ : สถานพยาบาลชั่วคราวที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตั้งขึ้นที่ถนนเจริญกรุงเพื่อรักษาผู้ป่วยอหิวาตกโรค
ภาพ : โรงพยาบาลเอกเทศที่ตั้งขึ้นเมื่อเกิดอหิวาตกโรคระบาดใน พ.ศ. ๒๔๒๔
เรียบเรียงโดย นายธันวา วงศ์เสงี่ยม นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มประวัติศาสตร์
ที่มาของข้อมูลhttps://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2894563780592205&id=346438995404709
(จำนวนผู้เข้าชม 15747 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน