เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
หินทุบเปลือกไม้เพื่อทำผ้า
หินทุบเปลือกไม้เพื่อทำผ้า
อายุสมัย : ก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว
วัสดุ : หิน
ประวัติ : พบจากการขุดค้นที่ถ้ำเบื้องแบบ หมู่ ๓ บ้านเบื้องแบบ ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในโครงการโบราณคดีเชี่ยวหลาน ขุดค้นโดยกองโบราณคดี กรมศิลปากร เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๒๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง รับมาเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒
เป็นเครื่องมือหินที่มีการขูดผิวหินหรือบากร่องให้เป็นลายเส้นตาราง สันนิษฐานว่าใช้สำหรับทุบเปลือกไม้ เพื่อนำมาทำเส้นใยสำหรับทอผ้า โดยเครื่องมือประเภทนี้พบทั่วไปในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบครั้งแรกที่หลวงพระบาง ประเทศลาว โดยได้มีการจดบันทึกโดย ม.ปาวี (Mission Pavie) ชาวฝรั่งเศส
จากงานวิจัยของ A.C. Kruyt เมื่อปี.พ.ศ. ๒๔๘๑ เกี่ยวกับชนเผ่า Toradjas ในเกาะเซลีเบส ประเทศอินโดนีเซีย ได้ค้นพบว่าที่ชนเผ่ายังมีการใช้งานเครื่องมือชนิดนี้ โดยงานทุบเปลือกไม้เป็นงานเฉพาะของผู้หญิง นอกจากนี้ชาวชนบทลาวบริเวณหลวงพระบาง ยังมีการใช้งานเครื่องมือลักษณะเดียวกันนี้แต่ทำด้วยไม้
หินทุบเปลือกไม้ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท
๑. แบบหัวเรียบ เป็นแท่งสี่เหลี่ยม ส่วนหัวกว้างกว่าด้าม ด้านใช้งานค่อนข้างเรียบ มีรอยบากน้อย
๒. แบบแท่งเรียบ มีการบากร่องที่หัวในแนวยาว หรือเป็นลายตาราง ด้ามถือเล็กกว่าหัว มีลักษณะเป็นแท่งยาว
๓. แบบแท่งสั้น มีเฉพาะส่วนหัวซึ่งทำการบากร่อง ต้องต่อเข้ากับด้ามไม้เพื่อใช้งาน
๔. แบบแท่งยาว ส่วนหัวมีการบากร่อง ด้านหลังเป็นเงี่ยงออกมา เพื่อให้จับได้กระชับกับส่วนด้าม
๕. แบบแท่งสั้น มีเฉพาะหัว คล้ายแบบที่ ๓ แต่ด้านตรงข้ามด้านหัวที่มีรอยบาก จะมีเงี่ยงยื่นออกมา ต้องนำไปต่อกับด้ามไม้เพื่อใช้งาน
หินทุบเปลือกไม้ที่พบในไทยเป็นแบบที่ ๒ ทั้งสิ้น พบทั้งในภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก
ข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
ที่มาข้อมูล
กรมศิลปากร. คนแรกเริ่มบนแผ่นดินเรา. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๙. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒.
(จำนวนผู้เข้าชม 1625 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน