โรคระบาดสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนที่ ๒ ไข้ทรพิษ
ไข้ทรพิษ (Smallpox) หรือฝีดาษ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้เกิดตุ่มหนองพุพองขึ้นทั่วทั้งตัว ติดต่อผ่านการสัมผัสหรือหายใจ จึงสามารถระบาดได้อย่างรุนแรงและรวดเร็ว ในสมัยอยุธยาปรากฏหลักฐานการระบาดของไข้ทรพิษหลายครั้ง แม้แต่พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ก็ประชวร หรือสวรรคตด้วยโรคนี้ ซึ่งโรคไข้ทรพิษนี้ ซิมอง เดอ ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนาราชณ์มหาราชระบุไว้ว่า คือโรคห่าของชาวสยามนั่นเอง
ล่วงมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โรคไข้ทรพิษยังมีการระบาดอยู่บ่อยครั้ง และคร่าชีวิตราษฎรเป็นจำนวนมากทุกปี เมื่อหมอบรัดเล มิชชันนารีชาวอเมริกัน เดินทางมายังสยามในสมัยรัชกาลที่ ๓ จึงพยายามทดลองปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ โดยได้รับการสนับสนุนจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และบุคคลสำคัญท่านอื่นๆ จนสามารถปลูกฝีในหมู่ราษฎรได้สำเร็จ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้มีหมอและมิชชันนารีจำนวนหนึ่งออกปลูกฝีให้แก่ราษฎรทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมือง โดยใช้หนองฝีที่ส่งมาจากต่างประเทศ
จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการจัดตั้งสถานผลิตหนองฝีของรัฐบาล และมอบหมายให้เทศาภิบาลปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษแก่ราษฎรตามหัวเมือง ทำให้ขยายการปลูกฝีได้อย่างกว้างขวาง ครั้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ จึงมีการประกาศพระราชบัญญัติจัดการป้องกันไข้ทรพิษ เพื่อบังคับให้ราษฎรทุกคนต้องปลูกฝี ทำให้จำนวนราษฎรที่ได้รับการปลูกฝีมีเพิ่มขึ้นปีละหลายหมื่นคน จนถึงหลายแสนคนในเวลาต่อมา
ความสำเร็จของการจัดการกับไข้ทรพิษเป็นผลมาจากวิธีป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ คือการปลูกฝีที่เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ เป็นผู้คิดค้นขึ้น และได้รับการยอมรับไปทั่วโลก นำไปสู่การปลูกฝีเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคแก่ประชากรให้มากที่สุด จนกระทั่งโรคนี้หมดไปจากสังคมไทยและสังคมโลกในที่สุด
ภาพ : นายแพทย์แดน บีช แบรดลีย์ หรือหมอบรัดเล ผู้ริเริ่มการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษในสยาม ด้วยวิธีการของเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์
ภาพ : การปลูกฝีแก่ราษฎรในสมัยรัชกาลที่ ๕
ภาพ : ราษฎรในหัวเมืองรอรับการปลูกฝี
ภาพ : เด็กที่เป็นโรคไข้ทรพิษ
ภาพ : เด็กที่ได้รับการปลูกฝีที่แขน
เรียบเรียงโดย นายธันวา วงศ์เสงี่ยม นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มประวัติศาสตร์
ล่วงมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โรคไข้ทรพิษยังมีการระบาดอยู่บ่อยครั้ง และคร่าชีวิตราษฎรเป็นจำนวนมากทุกปี เมื่อหมอบรัดเล มิชชันนารีชาวอเมริกัน เดินทางมายังสยามในสมัยรัชกาลที่ ๓ จึงพยายามทดลองปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ โดยได้รับการสนับสนุนจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และบุคคลสำคัญท่านอื่นๆ จนสามารถปลูกฝีในหมู่ราษฎรได้สำเร็จ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้มีหมอและมิชชันนารีจำนวนหนึ่งออกปลูกฝีให้แก่ราษฎรทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมือง โดยใช้หนองฝีที่ส่งมาจากต่างประเทศ
จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการจัดตั้งสถานผลิตหนองฝีของรัฐบาล และมอบหมายให้เทศาภิบาลปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษแก่ราษฎรตามหัวเมือง ทำให้ขยายการปลูกฝีได้อย่างกว้างขวาง ครั้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ จึงมีการประกาศพระราชบัญญัติจัดการป้องกันไข้ทรพิษ เพื่อบังคับให้ราษฎรทุกคนต้องปลูกฝี ทำให้จำนวนราษฎรที่ได้รับการปลูกฝีมีเพิ่มขึ้นปีละหลายหมื่นคน จนถึงหลายแสนคนในเวลาต่อมา
ความสำเร็จของการจัดการกับไข้ทรพิษเป็นผลมาจากวิธีป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ คือการปลูกฝีที่เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ เป็นผู้คิดค้นขึ้น และได้รับการยอมรับไปทั่วโลก นำไปสู่การปลูกฝีเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคแก่ประชากรให้มากที่สุด จนกระทั่งโรคนี้หมดไปจากสังคมไทยและสังคมโลกในที่สุด
ภาพ : นายแพทย์แดน บีช แบรดลีย์ หรือหมอบรัดเล ผู้ริเริ่มการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษในสยาม ด้วยวิธีการของเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์
ภาพ : การปลูกฝีแก่ราษฎรในสมัยรัชกาลที่ ๕
ภาพ : ราษฎรในหัวเมืองรอรับการปลูกฝี
ภาพ : เด็กที่เป็นโรคไข้ทรพิษ
ภาพ : เด็กที่ได้รับการปลูกฝีที่แขน
เรียบเรียงโดย นายธันวา วงศ์เสงี่ยม นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มประวัติศาสตร์
(จำนวนผู้เข้าชม 27130 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน