...

ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 34,841 รายการ

กิจกรรมอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ อุโบสถ และเก๋งจีน ในวิหารวัดไทรอารีรักษ์ ตำบลโพธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี วัดไทรอารีรักษ์เป็นวัดของชุมชนชาวมอญ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ในปีพุทธศักราช ๒๓๕๓ เดิมชื่อว่าวัดวิหาร ในภาษารามัญเรียกว่า เพี้ยซาย พบหลักฐาน ด้านศิลปกรรมที่สำคัญภายในวัดประกอบด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง และ รอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่ภายในวิหาร ซึ่งเป็นรอยพระพุทธบาทในสมัยรัชกาลที่ ๕ บริเวณสถานที่ตั้งวัดเดิมเรียกว่า ตำบลบางลาว ซึ่งมีชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทร์มาตั้งถิ่นฐาน อยู่ก่อน ต่อมาภายหลัง ตำบลบางเลา เมื่อชาวมอญได้อพยพมาจากหงสาวดี จากการรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ของพม่า ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ จึงเปลี่ยนชื่อวัด เรียกว่า วัดไทรอารีรักษ์ มาจนถึงปัจจุบัน ภาพจิตกรรมฝาผนังทั้ง ๔ ผนัง ภายในอุโบสถ เขียนด้วยเทคนิคสีฝุ่นบนรองพื้นดินสอพองรูปแบบจิตรกรรมไทยประเพณี เล่าเรื่องราวพุทธประวัติ และ อดีตพุทธเจ้า รวมทั้งแสดงภาพวิถีชีวิตประเพณี การละเล่น และการแต่งกายของผู้คนในช่วงเวลานั้น ภาพจิตรกรรมที่มีความสำคัญและโดดเด่นคือ “ภาพฉากถวายพระเพลิงพระบรมศพ” ซึ่งมีภาพแสดงฉากขบวนแห่งพระบรมศพพระพุทธเจ้า (หีบศพแบบมอญที่เรียกว่า ลุ้ง ตั้งอยู่ในราชรถ) และภาพการแสดงละเล่นต่าง ๆ ในงานถวายเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า (ปริเฉทที่ 27 ธาตุวิภัชน์ปริวรรต) ที่มีความสวยงาม และเล่าเรื่องราวได้ดี
















Messenger