หลวงระงับประจันตคาม (โป๊ะ วัชรปาณ)
หลวงระงับประจันตคาม (โป๊ะ วัชรปาณ)
ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองพิมายช่วงพ.ศ.2471-2474
ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองพิมายช่วงพ.ศ.2471-2474
หลวงประจันตคาม เป็นนายอำเภอเมืองพิมาย
ผู้รับเสด็จสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ซึ่งเสด็จมาตรวจโบราณสถานเมื่อพ.ศ.2472 และเป็นผู้ถวายรายงานการเป็นไปในท้องที่
โดยกล่าวถึงผู้คนในเมืองพิมายว่า
ซึ่งเสด็จมาตรวจโบราณสถานเมื่อพ.ศ.2472 และเป็นผู้ถวายรายงานการเป็นไปในท้องที่
โดยกล่าวถึงผู้คนในเมืองพิมายว่า
- พลเมืองทั้งสิ้น 52,318 คน เป็นคนวิกลจริต 2 คน มีคนชาติไทย ชาติจีน ชาติเขมร เป็นพื้น
และมีคนอพยพมาจากต่างอำเภอ ต่างจังหวัดเข้ามาในท้องที่อำเภอนี้มาก
มีอาชีพทำนามากกว่าอาชีพอื่น จึงมีความคิดที่จะเกณฑ์ราษฎรให้ปิดทำนบขุดเหมืองในแม่น้ำลำคลองต่างๆทั่วไป
เพื่อให้ราษฎรได้ใช้น้ำทำนาตามฤดูกาลมิต้องรอน้ำฝนอย่างเดียว
และมีคนอพยพมาจากต่างอำเภอ ต่างจังหวัดเข้ามาในท้องที่อำเภอนี้มาก
มีอาชีพทำนามากกว่าอาชีพอื่น จึงมีความคิดที่จะเกณฑ์ราษฎรให้ปิดทำนบขุดเหมืองในแม่น้ำลำคลองต่างๆทั่วไป
เพื่อให้ราษฎรได้ใช้น้ำทำนาตามฤดูกาลมิต้องรอน้ำฝนอย่างเดียว
- การทำสวน ราษฎรในท้องที่อำเภอนี้ไม่มีความนิยมเลย
จึงได้ร้องขอหรือบังคับกลายๆให้ราษฎรปลูกหมาก ปลูกมะพร้าว ปลูกนุ่น ปลูกไม้ไผ่ ไม่ต่ำกว่าบ้านละ 10 ต้น
จึงได้ร้องขอหรือบังคับกลายๆให้ราษฎรปลูกหมาก ปลูกมะพร้าว ปลูกนุ่น ปลูกไม้ไผ่ ไม่ต่ำกว่าบ้านละ 10 ต้น
- เก็บ "เงินคงเรียกค่านา" ได้ 10847 บาท 16 สตางค์ "ค่ารัชชูปการ" 33628 บาท
สำหรับคนที่มิได้เสียเงินรัชชูปการ ก็เอามาใช้ในการโยธาต่างๆที่ปราสาทหิน คือ
ซ่อมถนนบ้าง ซ่อมสะพานบ้าง ขุดตอไม้ในบริเวณปราสาทหินบ้างขุดหินที่จำหลักรูปภาพและลวดลายขึ้นบ้าง
ซ่อมถนนบ้าง ซ่อมสะพานบ้าง ขุดตอไม้ในบริเวณปราสาทหินบ้างขุดหินที่จำหลักรูปภาพและลวดลายขึ้นบ้าง
ราชบัณฑิตยสภาได้ชื่นชมนายอำเภอในรายงานราชบัณฑิตยสภาว่า "มีความคิดดี...สมควรเป็นตัวอย่างให้อำเภออื่นๆต่อไป"
ในส่วนปราสาทพิมาย หลวงระงับฯ ได้ระบุว่า
" โบราณสถานในอำเภอนี้มีแต่จะชำรุดทรุดโทรมลง เพราะไม่มีเจ้าพนักงานดูแลรักษาโดยเฉพาะ
ทั้งปราสาทหินก็ตั้งอยู่ในหมู่ชุมนุมชนมีคนสัญจรผ่านไปมาเข้าออกอยู่เสมอ มักเคาะต่อยศิลาเป็นอันตรายอยู่เนืองๆ...
ทั้งปราสาทหินก็ตั้งอยู่ในหมู่ชุมนุมชนมีคนสัญจรผ่านไปมาเข้าออกอยู่เสมอ มักเคาะต่อยศิลาเป็นอันตรายอยู่เนืองๆ...
...ข้าพระพุทธเจ้าคิดจะหารายได้ไว้บำรุงทางหนึ่งจะปลูกต้นฉำฉาตามถนนในเมืองและรอบบริเวณกำแพงปราสาทเพื่อปล่อยครั่งจำหน่าย
รายได้อันนี้จะได้จ้างนายงานและกุลีซึ่งจะจัดให้เป็นผู้พิทักษ์รักษาโบราณสถาน...
รายได้อันนี้จะได้จ้างนายงานและกุลีซึ่งจะจัดให้เป็นผู้พิทักษ์รักษาโบราณสถาน...
...คงกินเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี แม้จะกินเวลานานเช่นนั้นก็ดี ข้าพระพุทธเจ้าก็พยายามอยู่เสมอจนกว่าจะมีงบประมาณรักษา "
จากรายงานของหลวงระงับประจันตคาม ทำให้เราทราบเรื่องราวในอดีตหลายๆเรื่อง
ไม่ว่าจะเป็นการอพยพของกลุ่มคนและความหลากหลายของเชื้อชาติ กุศโลบายในการรักษาโบราณสถานต่างๆ รวมถึงเรื่องราวของ "ต้นฉำฉา"
ไม่ว่าจะเป็นการอพยพของกลุ่มคนและความหลากหลายของเชื้อชาติ กุศโลบายในการรักษาโบราณสถานต่างๆ รวมถึงเรื่องราวของ "ต้นฉำฉา"
(จำนวนผู้เข้าชม 391 ครั้ง)