...

ตำนานท้าวปาจิตอรพิม

         ตำนานท้าวปาจิตอรพิมแต่เดิมเป็นชาดกนอกนิบาตเรื่อง “ปาจิตตกุมารชาดก” ใน “ปัญญาสชาดก”จนต่อมากลายมาเป็นนิทานที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในภาคอีสาน และมีความสำคัญต่อการอธิบายชื่อบ้านนามเมืองของแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะเมืองพิมาย ซึ่งปรากฏเอกสารในสมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310) นั่นคือ ปาจิตกุมารกลอนอ่าน ฉบับกรุงธนบุรี หรือ ตำนานเมืองพิมาย

          เมื่อตำนานเชื่อมโยงกับสถานที่และโบราณวัตถุ จากเรื่องเล่านำมาผูกโยงกับสถานที่หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นถ้ำเป็ดทอง เขาปลายบัด  บ้านนางเหริญ บ้านนางรำ บ้านตำแย บ้านจารย์ตำรา บ้านถนน บ้านสนุ่น บ้านท่าหลวง บ้านสัมฤทธิ์ บ้านปะเต็ล บ้านทุบจาน ตำบลกงรถ อำเภอลำปลายมาศ อำเภอนางรอง และอำเภอพิมาย โดยในอำเภอพิมายนั้น ตำนานท้าวปาจิตนางอรพิม ได้ถูกนำมาเชื่อมโยงกับโบราณสถานเมรุพรหมทัต และปรางค์พรหมทัต นอกจากนี้จากการพบโบราณวัตถุเป็นรูปประติมากรรมสององค์คล้ายรูปบุรุษและสตรี บ้างก็ว่าเป็นพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และพระนางชัยราชเทวี บ้างก็ว่าเป็นประติมากรรมเทวบุรุษและเทวสตรี แต่จากการค้นพบประติมากรรมทั้งสอง ตำนานท้าวปาจิตและนางอรพิมถูกหยิบโยงและถูกยกให้เป็นประติมากรรม "ท้าวปาจิต และ นางอรพิม" ของชาวพิมายจนถึงปัจจุบัน

(จำนวนผู้เข้าชม 9406 ครั้ง)


Messenger