จัดระเบียบการจราจรที่อุตรดิตถ์
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : จัดระเบียบการจราจรที่อุตรดิตถ์ --
ในเอกสารจดหมายเหตุชุด กรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ได้ปรากฏบทความจากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งกล่าวถึงการควบคุมและจัดระเบียบการจราจรในจังหวัดอุตรดิตถ์เมื่อเกือบร้อยปีก่อนเอาไว้ดังนี้
บทความชื่อ “บรรณาธิการบรรทึก” ในหนังสือพิมพ์ไทยเขษมรวมข่าว ฉบับวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2472 ได้กล่าวถึงการ “ควบคุมรถยนตร์” หรือการจัดระเบียบการจราจรในจังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งผู้เป็นบรรณาธิการได้ประสบพบเจอมา โดยระบุว่า ในการควบคุมรถโดยสารนั้น รถโดยสารซึ่งบรรทุกผู้โดยสารแล้วและจอดอยู่หน้าคันอื่นจะต้องออกรถก่อน รถคันหลังจะแซงออกก่อนไม่ได้แม้จะบรรทุกผู้โดยสารเต็มก่อนคันหน้าก็ตาม และรถโดยสารจะต้องจอดให้เป็นที่เป็นทาง ไม่ยื้อแย่งผู้โดยสารกัน ส่วนการควบคุมการสัญจรทางรถยนต์ โดยเฉพาะบนถนนสายไปวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ในกรณีที่รถกำลังจะแล่นสวนกันในระยะ 1 เส้น (40 เมตร) รถที่มาจากวัดพระแท่นศิลาอาสน์ต้องหยุดนิ่ง และรถที่จะไปวัดต้องแล่นสวนไปช้าๆ เมื่อพ้นระยะสวนกันแล้วจึงจะใช้ความเร็วปกติได้ นอกจากนี้ยังกล่าวชื่นชมว่าการควบคุมรถยนต์ในงานเทศกาลนั้นไม่มีที่ใดจัดได้เรียบร้อยและมีความปลอดภัยเท่ากับจังหวัดอุตรดิตถ์
นี่คือตัวอย่างของการจัดระเบียบการจราจรของหัวเมืองต่างจังหวัดในสมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งเริ่มมีผู้ใช้รถยนต์มากขึ้น สอดคล้องกับการที่จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดแรกในมณฑลพิษณุโลกที่มีประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติรถยนต์ ร.ศ. 128 ด้วยให้เหตุผลว่ามีผู้นิยมใช้รถยนต์รับจ้างส่งคนโดยสารและสินค้าในท้องที่จังหวัดอุตรดิตถ์มากขึ้นเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่าบทความที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุนี้อาจมีเนื้อความที่ขาดหายไปโดยเฉพาะช่วงต้นของบทความ จึงทำให้ไม่สามารถทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดระเบียบการจราจรในจังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยนั้นได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง:
1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ร.7 ม 26.5 ก/35 เรื่อง จังหวัดอุตรดิตถ์ [ 12 มิ.ย. 2471 – 7 มี.ค. 2472 ].
2. "ประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติรถยนตร์ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ มณฑลพิษณุโลก." (2468) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 42, ตอน ก (24 มกราคม): 264 - 265.
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
ในเอกสารจดหมายเหตุชุด กรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ได้ปรากฏบทความจากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งกล่าวถึงการควบคุมและจัดระเบียบการจราจรในจังหวัดอุตรดิตถ์เมื่อเกือบร้อยปีก่อนเอาไว้ดังนี้
บทความชื่อ “บรรณาธิการบรรทึก” ในหนังสือพิมพ์ไทยเขษมรวมข่าว ฉบับวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2472 ได้กล่าวถึงการ “ควบคุมรถยนตร์” หรือการจัดระเบียบการจราจรในจังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งผู้เป็นบรรณาธิการได้ประสบพบเจอมา โดยระบุว่า ในการควบคุมรถโดยสารนั้น รถโดยสารซึ่งบรรทุกผู้โดยสารแล้วและจอดอยู่หน้าคันอื่นจะต้องออกรถก่อน รถคันหลังจะแซงออกก่อนไม่ได้แม้จะบรรทุกผู้โดยสารเต็มก่อนคันหน้าก็ตาม และรถโดยสารจะต้องจอดให้เป็นที่เป็นทาง ไม่ยื้อแย่งผู้โดยสารกัน ส่วนการควบคุมการสัญจรทางรถยนต์ โดยเฉพาะบนถนนสายไปวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ในกรณีที่รถกำลังจะแล่นสวนกันในระยะ 1 เส้น (40 เมตร) รถที่มาจากวัดพระแท่นศิลาอาสน์ต้องหยุดนิ่ง และรถที่จะไปวัดต้องแล่นสวนไปช้าๆ เมื่อพ้นระยะสวนกันแล้วจึงจะใช้ความเร็วปกติได้ นอกจากนี้ยังกล่าวชื่นชมว่าการควบคุมรถยนต์ในงานเทศกาลนั้นไม่มีที่ใดจัดได้เรียบร้อยและมีความปลอดภัยเท่ากับจังหวัดอุตรดิตถ์
นี่คือตัวอย่างของการจัดระเบียบการจราจรของหัวเมืองต่างจังหวัดในสมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งเริ่มมีผู้ใช้รถยนต์มากขึ้น สอดคล้องกับการที่จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดแรกในมณฑลพิษณุโลกที่มีประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติรถยนต์ ร.ศ. 128 ด้วยให้เหตุผลว่ามีผู้นิยมใช้รถยนต์รับจ้างส่งคนโดยสารและสินค้าในท้องที่จังหวัดอุตรดิตถ์มากขึ้นเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่าบทความที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุนี้อาจมีเนื้อความที่ขาดหายไปโดยเฉพาะช่วงต้นของบทความ จึงทำให้ไม่สามารถทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดระเบียบการจราจรในจังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยนั้นได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง:
1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ร.7 ม 26.5 ก/35 เรื่อง จังหวัดอุตรดิตถ์ [ 12 มิ.ย. 2471 – 7 มี.ค. 2472 ].
2. "ประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติรถยนตร์ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ มณฑลพิษณุโลก." (2468) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 42, ตอน ก (24 มกราคม): 264 - 265.
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 131 ครั้ง)