เยียวยาหลังพายุ
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : เยียวยาหลังพายุ --
เมื่อปลายเดือนสิงหาคม - ต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2538 เกิดพายุโซนร้อนชื่อแกรี่และโลอิส พัดเข้าสู่ภาคเหนือของประเทศไทย ส่งผลให้หลายพื้นที่ในจังหวัดพะเยาประสบอุทกภัย ระดับน้ำมีปริมาณสูงเกินกว่าที่เกษตรกรจะป้องกันแปลงเพาะปลูกของตนได้
เอกสารจดหมายเหตุของสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยาให้รายละเอียดว่า หนึ่งในเกษตรกร หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา ปลูกไม้ดอก ผักสวนครัว และเลี้ยงปลา ได้รับความเสียหาย กล่าวคือ
1. แปลงดอกกุหลาบ จำนวน 2,000 ต้น
2. แปลงดอกเบญจมาศหลากสี จำนวน 18,000 ต้น
3. แปลงดอกแกลดิโอลัส (Gladiolus) หรือดอกซ่อนกลิ่นฝรั่ง จำนวน 3,000 ต้น
4. แปลงดอกพีค็อก (Peacock) จำนวน 2,000 ต้น
5. แปลงผักสวนครัว จำนวน 1 ไร่
6. บ่อเลี้ยงปลา จำนวน 3 บ่อ 2 ไร่
สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองพะเยาจึงส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ แล้วทำรายงานดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินต่อไป
ต่อมา เกษตรจังหวัดพะเยาได้รับทราบรายงานข้างต้น พร้อมกับเกษียณคำสั่งท้ายรายงานว่า " ช่วยดำเนินการด่วนด้วย " เพื่อบรรเทาภาระต่างๆ
อย่างไรก็ตาม รายงานดังกล่าวไม่ได้ระบุถึงการป้องกันภัยเบื้องต้น กับการขอรับการสนับสนุนจากส่วนกลาง สันนิษฐานว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยาเตรียมมาตรการรองรับไว้ล่วงหน้าแล้ว อีกทั้งคงได้รับข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ถึงกำลังพายุโซนร้อน พร้อมประเมินความเสียหายที่จะตามมา
จากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งนี้นั้น จังหวัดพะเยาจำต้องฟื้นฟูภาคการเกษตรขึ้นใหม่ แต่หาใช่เริ่มต้นนับหนึ่งอย่างไม่รู้เท่าทัน และการเกิดพายุโหมกระหน่ำถึง 2 ลูกซ้อนน่าจะยังอยู่ในความทรงจำของใครหลายคนอย่างแน่นอน
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง:
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13.1.1/26 เรื่อง การช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย ปี 2538 ของสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองพะเยา [ 12 - 18 มี.ค. 2539 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
เมื่อปลายเดือนสิงหาคม - ต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2538 เกิดพายุโซนร้อนชื่อแกรี่และโลอิส พัดเข้าสู่ภาคเหนือของประเทศไทย ส่งผลให้หลายพื้นที่ในจังหวัดพะเยาประสบอุทกภัย ระดับน้ำมีปริมาณสูงเกินกว่าที่เกษตรกรจะป้องกันแปลงเพาะปลูกของตนได้
เอกสารจดหมายเหตุของสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยาให้รายละเอียดว่า หนึ่งในเกษตรกร หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา ปลูกไม้ดอก ผักสวนครัว และเลี้ยงปลา ได้รับความเสียหาย กล่าวคือ
1. แปลงดอกกุหลาบ จำนวน 2,000 ต้น
2. แปลงดอกเบญจมาศหลากสี จำนวน 18,000 ต้น
3. แปลงดอกแกลดิโอลัส (Gladiolus) หรือดอกซ่อนกลิ่นฝรั่ง จำนวน 3,000 ต้น
4. แปลงดอกพีค็อก (Peacock) จำนวน 2,000 ต้น
5. แปลงผักสวนครัว จำนวน 1 ไร่
6. บ่อเลี้ยงปลา จำนวน 3 บ่อ 2 ไร่
สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองพะเยาจึงส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ แล้วทำรายงานดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินต่อไป
ต่อมา เกษตรจังหวัดพะเยาได้รับทราบรายงานข้างต้น พร้อมกับเกษียณคำสั่งท้ายรายงานว่า " ช่วยดำเนินการด่วนด้วย " เพื่อบรรเทาภาระต่างๆ
อย่างไรก็ตาม รายงานดังกล่าวไม่ได้ระบุถึงการป้องกันภัยเบื้องต้น กับการขอรับการสนับสนุนจากส่วนกลาง สันนิษฐานว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยาเตรียมมาตรการรองรับไว้ล่วงหน้าแล้ว อีกทั้งคงได้รับข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ถึงกำลังพายุโซนร้อน พร้อมประเมินความเสียหายที่จะตามมา
จากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งนี้นั้น จังหวัดพะเยาจำต้องฟื้นฟูภาคการเกษตรขึ้นใหม่ แต่หาใช่เริ่มต้นนับหนึ่งอย่างไม่รู้เท่าทัน และการเกิดพายุโหมกระหน่ำถึง 2 ลูกซ้อนน่าจะยังอยู่ในความทรงจำของใครหลายคนอย่างแน่นอน
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง:
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13.1.1/26 เรื่อง การช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย ปี 2538 ของสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองพะเยา [ 12 - 18 มี.ค. 2539 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 164 ครั้ง)