แหล่งน้ำในพะเยา
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : แหล่งน้ำในพะเยา --
เมื่อต้นปี พ.ศ. 2536 เกษตรจังหวัดพะเยาดำเนินการสำรวจแหล่งน้ำในแต่ละอำเภอ เพื่อป้องกันสถานการณ์ภัยแล้งที่มีแนวโน้มรุนแรงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งการสำรวจครั้งนี้ทำให้ทราบว่า จังหวัดพะเยาเมื่อ 31 ปีก่อนมีแหล่งน้ำอะไรบ้าง ตั้งอยู่พื้นที่ไหน และหน่วยงานใดจัดสร้างขึ้น
.
จากเอกสารจดหมายเหตุของสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา เรื่อง " การสำรวจแหล่งน้ำ " วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 ให้รายละเอียดในแบบฟอร์มการสำรวจดังสรุปได้ว่า
1. สำรวจแหล่งน้ำทั้งหมด 7 อำเภอ โดยบางส่วนเป็นแหล่งน้ำที่สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท และกรมชลประทานสร้างขึ้น
2. อำเภอเมืองพะเยามีแหล่งน้ำ 6 แห่ง คือ กว๊านพะเยา ลำน้ำอิง อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำตามพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำแม่ต๋อม อ่างเก็บน้ำแม่นาเรือ และอ่างเก็บน้ำห้วยลึก
3. อำเภอแม่ใจมีแหล่งน้ำ 2 แห่ง ได้แก่ หนองเล็งทรายกับอ่างเก็บน้ำแม่ปืม
4. อำเภอดอกคำใต้มีแหล่งน้ำ 3 แห่ง ตั้งแต่เขื่อนห้วยแม่ผง อ่างเก็บน้ำร่องลึก และสระเก็บน้ำบ้านสันทราย
5. อำเภอจุนมีแหล่งน้ำ 3 แห่ง ทั้งอ่างเก็บน้ำจุน อ่างเก็บน้ำห้วยข้าวก่ำ และอ่างเก็บน้ำห้วยเคียน
6. อำเภอปงมีแหล่งน้ำ 3 แห่ง คือ แม่น้ำยม อ่างเก็บน้ำห้วยแพะ และอ่างเก็บน้ำแม่กำลัง
7. อำเภอเชียงคำมีแหล่งน้ำ 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยไฟ อ่างเก็บน้ำห้วยบง และอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ
8. อำเภอเชียงม่วนมีแหล่งน้ำ 2 แห่ง อย่างอ่างเก็บน้ำห้วยจรกับอ่างเก็บน้ำห้วยสระ
.
การสำรวจแหล่งน้ำนี้ ยังระบุชื่อบ้าน ตำบลที่ตั้งของแหล่งน้ำไว้ครบถ้วน เพียงแต่ไม่ได้แสดงรายละเอียดของความจุปริมาตรน้ำที่เก็บกักได้เต็มที่เท่าไหร่ หรือแต่ละแห่งสามารถบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้งได้นานแค่ไหน
.
หากอย่างไรก็ดี การสำรวจแหล่งน้ำมีความน่าสนใจ นำไปต่อยอดงานสาธารณประโยชน์ของหน่วยงานอื่นๆ ง่ายขึ้น เช่น ประมงจังหวัดใช้วางแผนปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ การประปานำมาคำนวณปริมาณของน้ำดิบก่อนเข้ากระบวนการ และงานฝนหลวงจะทราบพื้นที่ แหล่ง หน้าหรือท้ายอ่างเก็บน้ำบริเวณใดเหมาะแก่การเพิ่มฝนเพื่อบรรเทาความแห้งแล้ง เป็นต้น
.
ดังนั้น เอกสารการสำรวจแหล่งน้ำจึงเป็นข้อมูลปฐมภูมิของการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพราะอย่างน้อยเมื่อภัยธรรมชาติเกิดขึ้น การรับมือก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป.
.
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
.
เอกสารอ้างอิง:
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13.1/24 เรื่อง การสำรวจแหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในฤดูแล้งปี 2536 [ 26 ม.ค. - 3 ก.พ. 2536 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
เมื่อต้นปี พ.ศ. 2536 เกษตรจังหวัดพะเยาดำเนินการสำรวจแหล่งน้ำในแต่ละอำเภอ เพื่อป้องกันสถานการณ์ภัยแล้งที่มีแนวโน้มรุนแรงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งการสำรวจครั้งนี้ทำให้ทราบว่า จังหวัดพะเยาเมื่อ 31 ปีก่อนมีแหล่งน้ำอะไรบ้าง ตั้งอยู่พื้นที่ไหน และหน่วยงานใดจัดสร้างขึ้น
.
จากเอกสารจดหมายเหตุของสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา เรื่อง " การสำรวจแหล่งน้ำ " วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 ให้รายละเอียดในแบบฟอร์มการสำรวจดังสรุปได้ว่า
1. สำรวจแหล่งน้ำทั้งหมด 7 อำเภอ โดยบางส่วนเป็นแหล่งน้ำที่สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท และกรมชลประทานสร้างขึ้น
2. อำเภอเมืองพะเยามีแหล่งน้ำ 6 แห่ง คือ กว๊านพะเยา ลำน้ำอิง อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำตามพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำแม่ต๋อม อ่างเก็บน้ำแม่นาเรือ และอ่างเก็บน้ำห้วยลึก
3. อำเภอแม่ใจมีแหล่งน้ำ 2 แห่ง ได้แก่ หนองเล็งทรายกับอ่างเก็บน้ำแม่ปืม
4. อำเภอดอกคำใต้มีแหล่งน้ำ 3 แห่ง ตั้งแต่เขื่อนห้วยแม่ผง อ่างเก็บน้ำร่องลึก และสระเก็บน้ำบ้านสันทราย
5. อำเภอจุนมีแหล่งน้ำ 3 แห่ง ทั้งอ่างเก็บน้ำจุน อ่างเก็บน้ำห้วยข้าวก่ำ และอ่างเก็บน้ำห้วยเคียน
6. อำเภอปงมีแหล่งน้ำ 3 แห่ง คือ แม่น้ำยม อ่างเก็บน้ำห้วยแพะ และอ่างเก็บน้ำแม่กำลัง
7. อำเภอเชียงคำมีแหล่งน้ำ 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยไฟ อ่างเก็บน้ำห้วยบง และอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ
8. อำเภอเชียงม่วนมีแหล่งน้ำ 2 แห่ง อย่างอ่างเก็บน้ำห้วยจรกับอ่างเก็บน้ำห้วยสระ
.
การสำรวจแหล่งน้ำนี้ ยังระบุชื่อบ้าน ตำบลที่ตั้งของแหล่งน้ำไว้ครบถ้วน เพียงแต่ไม่ได้แสดงรายละเอียดของความจุปริมาตรน้ำที่เก็บกักได้เต็มที่เท่าไหร่ หรือแต่ละแห่งสามารถบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้งได้นานแค่ไหน
.
หากอย่างไรก็ดี การสำรวจแหล่งน้ำมีความน่าสนใจ นำไปต่อยอดงานสาธารณประโยชน์ของหน่วยงานอื่นๆ ง่ายขึ้น เช่น ประมงจังหวัดใช้วางแผนปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ การประปานำมาคำนวณปริมาณของน้ำดิบก่อนเข้ากระบวนการ และงานฝนหลวงจะทราบพื้นที่ แหล่ง หน้าหรือท้ายอ่างเก็บน้ำบริเวณใดเหมาะแก่การเพิ่มฝนเพื่อบรรเทาความแห้งแล้ง เป็นต้น
.
ดังนั้น เอกสารการสำรวจแหล่งน้ำจึงเป็นข้อมูลปฐมภูมิของการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพราะอย่างน้อยเมื่อภัยธรรมชาติเกิดขึ้น การรับมือก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป.
.
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
.
เอกสารอ้างอิง:
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13.1/24 เรื่อง การสำรวจแหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในฤดูแล้งปี 2536 [ 26 ม.ค. - 3 ก.พ. 2536 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 555 ครั้ง)