หญ้าไม่ธรรมดา
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : หญ้าไม่ธรรมดา --
เมื่อหลายสิบปีก่อน หญ้าแฝกคือวัชพืชที่ไม่มีผู้ใดสนใจ ครั้นปี พ.ศ. 2523 พื้นที่การเกษตรหลายแห่งเสื่อมโทรม อีกทั้งยังเกิดภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง " หญ้าแฝก " กลับเป็นหนึ่งในตัวช่วยของเกษตรกรอย่างน่าอัศจรรย์
.
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงมีพระราชดำริให้กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำเกษตรกรใช้หญ้าแฝกปลูกคลุมผืนดินไว้ เพราะพืชชนิดนี้หยั่งรากลึก แตกกอง่าย สามารถอุ้มน้ำ รักษาความชุ่มชื้น ป้องกันดินพังทลาย และฟื้นฟูระบบนิเวศได้รวดเร็ว
.
เกษตรจังหวัดพะเยาทราบถึงพระราชดำริ และนโยบายจากกรมส่งเสริมการเกษตรแล้ว จึงมีหนังสือราชการถึงนายอำเภอในจังหวัดเพื่อขอความร่วมมือดังต่อไปนี้
1. ให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลปลูกหญ้าแฝกอย่างน้อยคนละ 50 กอ สำหรับศึกษาและขยายพันธุ์แก่เกษตรกร
2. แนะนำการปลูกหญ้าแฝกอย่างน้อยตำบลละ 10,000 ต้น พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าทุกเดือน
3. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจเรื่องหญ้าแฝกแก่ประชาชน อีกทั้งปลูกเป็นตัวอย่างในพื้นที่สำนักงาน บ้านพัก และบริเวณที่สามารถเข้าศึกษาได้ต่อไป
.
นอกจากนี้ เกษตรจังหวัดพะเยายังแจกจ่ายแผ่นพับการปลูกหญ้าแฝก วิธีขยายพันธุ์ และการใช้ประโยชน์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นด้วย
.
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานข้างต้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา ถึงแม้ว่าหญ้าแฝกจะขึ้นง่าย โตไว ทนสภาพภูมิอากาศทุกสภาวะ ดังนั้นการให้รายงานความก้าวหน้าดังกล่าวจึงเป็นผลแสดงความสำเร็จอย่างค่อยเป็นค่อยไป หากน่าเสียดายที่ไม่พบรายงานการปลูกหญ้าแฝกประกอบในแฟ้มเอกสารจดหมายเหตุร่วมด้วย
.
ถึงกระนั้น ในปัจจุบันเราก็พบความสำเร็จจากการใช้หญ้าแฝกของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอยู่เสมอๆ ซึ่งทั้งหมดนี้นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น ของพระมหากษัตริย์ผู้ประทับอยู่ในหัวใจชาวไทยตราบชั่วนิรันดร์
.
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
.
เอกสารอ้างอิง:
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13.1/21 เรื่อง การส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก [ 11 พ.ย. - 28 ธ.ค. 2535 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
เมื่อหลายสิบปีก่อน หญ้าแฝกคือวัชพืชที่ไม่มีผู้ใดสนใจ ครั้นปี พ.ศ. 2523 พื้นที่การเกษตรหลายแห่งเสื่อมโทรม อีกทั้งยังเกิดภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง " หญ้าแฝก " กลับเป็นหนึ่งในตัวช่วยของเกษตรกรอย่างน่าอัศจรรย์
.
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงมีพระราชดำริให้กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำเกษตรกรใช้หญ้าแฝกปลูกคลุมผืนดินไว้ เพราะพืชชนิดนี้หยั่งรากลึก แตกกอง่าย สามารถอุ้มน้ำ รักษาความชุ่มชื้น ป้องกันดินพังทลาย และฟื้นฟูระบบนิเวศได้รวดเร็ว
.
เกษตรจังหวัดพะเยาทราบถึงพระราชดำริ และนโยบายจากกรมส่งเสริมการเกษตรแล้ว จึงมีหนังสือราชการถึงนายอำเภอในจังหวัดเพื่อขอความร่วมมือดังต่อไปนี้
1. ให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลปลูกหญ้าแฝกอย่างน้อยคนละ 50 กอ สำหรับศึกษาและขยายพันธุ์แก่เกษตรกร
2. แนะนำการปลูกหญ้าแฝกอย่างน้อยตำบลละ 10,000 ต้น พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าทุกเดือน
3. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจเรื่องหญ้าแฝกแก่ประชาชน อีกทั้งปลูกเป็นตัวอย่างในพื้นที่สำนักงาน บ้านพัก และบริเวณที่สามารถเข้าศึกษาได้ต่อไป
.
นอกจากนี้ เกษตรจังหวัดพะเยายังแจกจ่ายแผ่นพับการปลูกหญ้าแฝก วิธีขยายพันธุ์ และการใช้ประโยชน์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นด้วย
.
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานข้างต้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา ถึงแม้ว่าหญ้าแฝกจะขึ้นง่าย โตไว ทนสภาพภูมิอากาศทุกสภาวะ ดังนั้นการให้รายงานความก้าวหน้าดังกล่าวจึงเป็นผลแสดงความสำเร็จอย่างค่อยเป็นค่อยไป หากน่าเสียดายที่ไม่พบรายงานการปลูกหญ้าแฝกประกอบในแฟ้มเอกสารจดหมายเหตุร่วมด้วย
.
ถึงกระนั้น ในปัจจุบันเราก็พบความสำเร็จจากการใช้หญ้าแฝกของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอยู่เสมอๆ ซึ่งทั้งหมดนี้นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น ของพระมหากษัตริย์ผู้ประทับอยู่ในหัวใจชาวไทยตราบชั่วนิรันดร์
.
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
.
เอกสารอ้างอิง:
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13.1/21 เรื่อง การส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก [ 11 พ.ย. - 28 ธ.ค. 2535 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 194 ครั้ง)