ลำไยพะเยา
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ลำไยพะเยา --
เคยสงสัยไหมว่า เกษตรกรจังหวัดพะเยาปลูกลำไยพันธุ์อะไรบ้าง ?
.
เมื่อปี พ.ศ. 2535 กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหนังสือราชการให้สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยารายงานการคาดคะเนพื้นที่เพาะปลูกลำไยและจำนวนผลผลิตลำไย จึงทำให้ทราบชนิดพันธุ์ลำไยที่เกษตรกรในจังหวัดนำมาปลูกดังนี้
.
ลำไยพันธุ์ดอ คาดว่าจะปลูกได้ผลผลิต จำนวน 1,046,600 กิโลกรัม
ลำไยพันธุ์สีชมพู คาดว่าจะปลูกได้ผลผลิต จำนวน 174,500 กิโลกรัม
ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียว คาดว่าจะปลูกได้ผลผลิต จำนวน 141,500 กิโลกรัม
ลำไยพันธุ์อื่นๆ คาดว่าจะปลูกได้ผลผลิต 4,000 กิโลกรัม
.
จากข้อมูลข้างต้น แสดงว่าจังหวัดพะเยาในปี พ.ศ. 2535 ปลูกลำไยพันธุ์ดอมากที่สุด สันนิษฐานว่าสายพันธุ์ดอเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ สภาพดิน ความสะดวกของเกษตรกร และทำกำไรได้ดีที่สุด
.
นอกจากนั้น รายงานยังระบุสาเหตุที่คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้น เพราะมีแปลงปลูกใหม่กอปรกับได้รับการเอาใจใส่ดีด้วย
.
ความน่าสนใจของรายงานการคาดคะเนฉบับนี้ สะท้อนให้ทราบชนิดของสินค้าส่งออกของจังหวัด ซึ่งแก้ไขข้อสงสัยแกมหยอกว่า อาจจะเป็นปลาส้ม กุ้งเต้น หรือมะพร้าวเผาหรือไม่
.
อย่างไรก็ตาม รายงานปรากฏข้อมูลเพียงฉบับเดือนสิงหาคมเท่านั้น หากมีรายงานตลอดฤดูกาล จำนวนผลผลิตจริงที่ผลิตได้ และรายได้จากการค้าขายลำไยแล้ว จะสามารถชี้วัดการปลูกลำไยในปีถัดไป สายพันธุ์อื่นๆ ควรได้รับการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน แล้วที่สำคัญลำไยจากจังหวัดพะเยาอาจมีแรงผลักดันให้ขึ้นชื่อในตลาดอาเซียนก็เป็นได้.
.
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
.
เอกสารอ้างอิง:
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13/18 เรื่องการรายงานข้อมูลการคาดคะเนพื้นที่ปลูกลำไยปี 2535 [ 28 ก.ค. 2535 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
เคยสงสัยไหมว่า เกษตรกรจังหวัดพะเยาปลูกลำไยพันธุ์อะไรบ้าง ?
.
เมื่อปี พ.ศ. 2535 กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหนังสือราชการให้สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยารายงานการคาดคะเนพื้นที่เพาะปลูกลำไยและจำนวนผลผลิตลำไย จึงทำให้ทราบชนิดพันธุ์ลำไยที่เกษตรกรในจังหวัดนำมาปลูกดังนี้
.
ลำไยพันธุ์ดอ คาดว่าจะปลูกได้ผลผลิต จำนวน 1,046,600 กิโลกรัม
ลำไยพันธุ์สีชมพู คาดว่าจะปลูกได้ผลผลิต จำนวน 174,500 กิโลกรัม
ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียว คาดว่าจะปลูกได้ผลผลิต จำนวน 141,500 กิโลกรัม
ลำไยพันธุ์อื่นๆ คาดว่าจะปลูกได้ผลผลิต 4,000 กิโลกรัม
.
จากข้อมูลข้างต้น แสดงว่าจังหวัดพะเยาในปี พ.ศ. 2535 ปลูกลำไยพันธุ์ดอมากที่สุด สันนิษฐานว่าสายพันธุ์ดอเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ สภาพดิน ความสะดวกของเกษตรกร และทำกำไรได้ดีที่สุด
.
นอกจากนั้น รายงานยังระบุสาเหตุที่คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้น เพราะมีแปลงปลูกใหม่กอปรกับได้รับการเอาใจใส่ดีด้วย
.
ความน่าสนใจของรายงานการคาดคะเนฉบับนี้ สะท้อนให้ทราบชนิดของสินค้าส่งออกของจังหวัด ซึ่งแก้ไขข้อสงสัยแกมหยอกว่า อาจจะเป็นปลาส้ม กุ้งเต้น หรือมะพร้าวเผาหรือไม่
.
อย่างไรก็ตาม รายงานปรากฏข้อมูลเพียงฉบับเดือนสิงหาคมเท่านั้น หากมีรายงานตลอดฤดูกาล จำนวนผลผลิตจริงที่ผลิตได้ และรายได้จากการค้าขายลำไยแล้ว จะสามารถชี้วัดการปลูกลำไยในปีถัดไป สายพันธุ์อื่นๆ ควรได้รับการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน แล้วที่สำคัญลำไยจากจังหวัดพะเยาอาจมีแรงผลักดันให้ขึ้นชื่อในตลาดอาเซียนก็เป็นได้.
.
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
.
เอกสารอ้างอิง:
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13/18 เรื่องการรายงานข้อมูลการคาดคะเนพื้นที่ปลูกลำไยปี 2535 [ 28 ก.ค. 2535 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 249 ครั้ง)