สวรรคโลกมีข้อบังคับควบคุมการเดินเรือ
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : สวรรคโลกมีข้อบังคับควบคุมการเดินเรือ --
ปี 2480 สวรรคโลกไม่ใช่อำเภอแต่เป็น " จังหวัด "
.
เมื่อเป็นจังหวัดจึงมีประกาศ ระเบียบ คำสั่ง และข้อบังคับจำนวนมาก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ " ข้อบังคับควบคุมการเดินเรือท้องถิ่น "
ทำไมต้องมีข้อบังคับนี้ ?
.
เพราะว่าเมืองสวรรคโลกมีแม่น้ำยมไหลผ่านเมือง ในขณะนั้นนอกจากการเดินทางขนส่งด้วยรถไฟแล้ว แม่น้ำยมถือเป็นเส้นทางสัญจรหลักที่สำคัญ ข้าหลวงประจำจังหวัดจึงออกข้อบังคับดังกล่าว โดยมีใจความสำคัญสรุปได้คือ
.
1. ให้เรือกลไฟเรือยนต์ทุกลำแล่นช้าๆ ในบริเวณดังนี้
อำเภอบ้านไกร ระหว่างใต้อำเภอ - เหนือปากคลองบางทะเล ตำบลกง
อำเภอสุโขทัยธานี ระยะทางเหนือปากคลองกระชงค์ - เหนือโรงสีไฟฮะเฮง
อำเภอคลองตาล ช่วงโรงสีไฟสิงหเนติ - สุดหมู่ตลาดด้านเหนือ
อำเภอวังไม้ขอน ตรงหน้าวัดสว่างอารมย์ - ใต้วัดสวรรคาราม
2. ห้ามเรือไฟเรือยนต์ลากจูงเรือเกินกำลังที่กำหนด ทั้งการแล่นตามน้ำและทวนน้ำ
3. ห้ามพ่วงเรือเทียบซ้อนลำ คือขนาบข้างเกินกว่า 2 ลำ
4. ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบังคับ " อาจถูกสั่งงดใช้ใบอนุญาตเดินเรือได้ "
.
ข้อบังคับควบคุมการเดินเรือท้องถิ่นนี้ สะท้อนความสำคัญของเมืองสวรรคโลกเป็นอย่างดี ทำให้เห็นการใช้แม่น้ำคมนาคมขึ้นล่อง ขนส่ง ค้าขายคับคั่ง เป็นหลักฐานหนึ่งที่สนับสนุนการเป็นจังหวัดในขณะนั้น
.
อย่างไรก็ตาม ข้อบังคับการเดินเรือท้องถิ่นยังมีผลบังคับใช้เรื่อยมา แม่ว่าเมืองสวรรคโลกจะกลายเป็นอำเภอของจังหวัดสุโขทัยแล้ว ดังเห็นได้จากเอกสารของสถานีตำรวจภูธรอำเภอกงไกรลาศ ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2513 เรื่องขอสำเนาข้อบังคับดังกล่าวสำหรับใช้ดำเนินคดีขับเรือยนต์โดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและบาดเจ็บ
.
ดังนั้น ข้อบังคับนี้จึงไม่ล้าสมัย ไม่ว่าจะใช้ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 กระทั่งถึงรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เพราะใจความสำคัญก็เพื่อประโยชน์ของประชาชนนั่นเอง
.
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
.
เอกสารอ้างอิง:
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานปกครองจังหวัดสุโขทัย สท 1.2.1/58 เรื่อง ขอสำเนาข้อบังคับการเดินเรือแห่งท้องถิ่น [ 7 - 27 ต.ค. 2513 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
ปี 2480 สวรรคโลกไม่ใช่อำเภอแต่เป็น " จังหวัด "
.
เมื่อเป็นจังหวัดจึงมีประกาศ ระเบียบ คำสั่ง และข้อบังคับจำนวนมาก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ " ข้อบังคับควบคุมการเดินเรือท้องถิ่น "
ทำไมต้องมีข้อบังคับนี้ ?
.
เพราะว่าเมืองสวรรคโลกมีแม่น้ำยมไหลผ่านเมือง ในขณะนั้นนอกจากการเดินทางขนส่งด้วยรถไฟแล้ว แม่น้ำยมถือเป็นเส้นทางสัญจรหลักที่สำคัญ ข้าหลวงประจำจังหวัดจึงออกข้อบังคับดังกล่าว โดยมีใจความสำคัญสรุปได้คือ
.
1. ให้เรือกลไฟเรือยนต์ทุกลำแล่นช้าๆ ในบริเวณดังนี้
อำเภอบ้านไกร ระหว่างใต้อำเภอ - เหนือปากคลองบางทะเล ตำบลกง
อำเภอสุโขทัยธานี ระยะทางเหนือปากคลองกระชงค์ - เหนือโรงสีไฟฮะเฮง
อำเภอคลองตาล ช่วงโรงสีไฟสิงหเนติ - สุดหมู่ตลาดด้านเหนือ
อำเภอวังไม้ขอน ตรงหน้าวัดสว่างอารมย์ - ใต้วัดสวรรคาราม
2. ห้ามเรือไฟเรือยนต์ลากจูงเรือเกินกำลังที่กำหนด ทั้งการแล่นตามน้ำและทวนน้ำ
3. ห้ามพ่วงเรือเทียบซ้อนลำ คือขนาบข้างเกินกว่า 2 ลำ
4. ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบังคับ " อาจถูกสั่งงดใช้ใบอนุญาตเดินเรือได้ "
.
ข้อบังคับควบคุมการเดินเรือท้องถิ่นนี้ สะท้อนความสำคัญของเมืองสวรรคโลกเป็นอย่างดี ทำให้เห็นการใช้แม่น้ำคมนาคมขึ้นล่อง ขนส่ง ค้าขายคับคั่ง เป็นหลักฐานหนึ่งที่สนับสนุนการเป็นจังหวัดในขณะนั้น
.
อย่างไรก็ตาม ข้อบังคับการเดินเรือท้องถิ่นยังมีผลบังคับใช้เรื่อยมา แม่ว่าเมืองสวรรคโลกจะกลายเป็นอำเภอของจังหวัดสุโขทัยแล้ว ดังเห็นได้จากเอกสารของสถานีตำรวจภูธรอำเภอกงไกรลาศ ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2513 เรื่องขอสำเนาข้อบังคับดังกล่าวสำหรับใช้ดำเนินคดีขับเรือยนต์โดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและบาดเจ็บ
.
ดังนั้น ข้อบังคับนี้จึงไม่ล้าสมัย ไม่ว่าจะใช้ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 กระทั่งถึงรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เพราะใจความสำคัญก็เพื่อประโยชน์ของประชาชนนั่นเอง
.
ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
.
เอกสารอ้างอิง:
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานปกครองจังหวัดสุโขทัย สท 1.2.1/58 เรื่อง ขอสำเนาข้อบังคับการเดินเรือแห่งท้องถิ่น [ 7 - 27 ต.ค. 2513 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 280 ครั้ง)