ตามเค้าเข้าป่า
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ตามเค้าเข้าป่า --
ปี 2510 ป่าไม้เขตแพร่มีคำสั่งให้พนักงานป่าไม้ท่านหนึ่งเข้าป่าสัมปทานน้ำแหง - น้ำสา จังหวัดน่าน เพื่อปฏิบัติภารกิจสำคัญให้กับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
ภารกิจนั้นคือ " สำรวจไม้สักตายแห้งขอนนอนยืนต้นตายตามธรรมชาติ " และปฏิบัติการดังต่อไปนี้ด้วย
1. ตีตราไม้สักตายแห้งจริงเท่านั้น แล้วทำบัญชีขนาดไม้พร้อมแผนที่ระบุตำแหน่งไม้
2. ให้ใช้ตราตีไม้จากเขตป่าไม้แพร่
3. เศษไม้ ปลายไม้ที่ผู้ร้ายขโมยตัด ให้ทำบัญชีนำเสนอ
ความน่าสนใจของปฏิบัติการอยู่ที่ต้องตีตราไม้แห้งจริง เพื่อป้องกันใครก็ตามสวมรอยต้นไม้นั้นๆ อีกทั้งทำให้ทราบว่า แผนที่ระบุตำแหน่งไม้ดังที่นำเสนอจุดหมอนไม้เมื่อครั้งก่อน พนักงานป่าไม้เป็นผู้จัดทำมิใช่ผู้รับสัมปทาน
ถัดมา ตัวตราสำหรับตีต้องเบิกมาจากเขตป่าไม้ ป้องกันการปลอมแปลงหรืออาจรู้เห็นกับผู้รับสัมปทาน
สุดท้าย เศษไม้/ปลายไม้ที่พบจากการลักลอบตัด พนักงานต้องสำรวจให้ครบ เพื่อยืนยันได้ว่า " สมบัติสาธารณะ " ห้ามละเมิดเด็ดขาด
จากเอกสารจดหมายเหตุคำสั่งดังกล่าว ทำให้พบภารกิจหลักของพนักงานป่าไม้ เป็นหน้างานแนวหน้าที่ต้องเผชิญภัยธรรมชาติ สัตว์ป่า และคนร้าย ถือเป็นภาระ " หนัก " ไม่น้อย แต่สามารถจ้างคนงานมาช่วยแบ่งเบาได้บ้าง
น่าเสียดายที่เอกสารมิได้ระบุจำนวนวันปฏิบัติการ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้นอกจากตราตีไม้ หรือหากพบผู้กระทำผิดกฎหมายต่อหน้าต้องปฏิบัติอย่างไร ? เพราะหาไม่แล้วการเข้าป่าครั้งนั้นจะทำให้ผู้ค้นคว้า " สนุก " ไปกับหลักฐานชั้นต้นอย่างแน่นอน.
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา นน 1.6.3.5/11 เอกสารสำนักงานป่าไม้จังหวัดน่าน เรื่อง การสำรวจไม้สักตายแห้งตามธรรมชาติ และสำรวจประมาณการไม้สักที่ถูกลักตัดในสัมปทานน้ำแหง น้ำสา ภาค 4 แปลงที่ 10 [ 16 ก.พ. - 30 ต.ค. 2510 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
ปี 2510 ป่าไม้เขตแพร่มีคำสั่งให้พนักงานป่าไม้ท่านหนึ่งเข้าป่าสัมปทานน้ำแหง - น้ำสา จังหวัดน่าน เพื่อปฏิบัติภารกิจสำคัญให้กับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
ภารกิจนั้นคือ " สำรวจไม้สักตายแห้งขอนนอนยืนต้นตายตามธรรมชาติ " และปฏิบัติการดังต่อไปนี้ด้วย
1. ตีตราไม้สักตายแห้งจริงเท่านั้น แล้วทำบัญชีขนาดไม้พร้อมแผนที่ระบุตำแหน่งไม้
2. ให้ใช้ตราตีไม้จากเขตป่าไม้แพร่
3. เศษไม้ ปลายไม้ที่ผู้ร้ายขโมยตัด ให้ทำบัญชีนำเสนอ
ความน่าสนใจของปฏิบัติการอยู่ที่ต้องตีตราไม้แห้งจริง เพื่อป้องกันใครก็ตามสวมรอยต้นไม้นั้นๆ อีกทั้งทำให้ทราบว่า แผนที่ระบุตำแหน่งไม้ดังที่นำเสนอจุดหมอนไม้เมื่อครั้งก่อน พนักงานป่าไม้เป็นผู้จัดทำมิใช่ผู้รับสัมปทาน
ถัดมา ตัวตราสำหรับตีต้องเบิกมาจากเขตป่าไม้ ป้องกันการปลอมแปลงหรืออาจรู้เห็นกับผู้รับสัมปทาน
สุดท้าย เศษไม้/ปลายไม้ที่พบจากการลักลอบตัด พนักงานต้องสำรวจให้ครบ เพื่อยืนยันได้ว่า " สมบัติสาธารณะ " ห้ามละเมิดเด็ดขาด
จากเอกสารจดหมายเหตุคำสั่งดังกล่าว ทำให้พบภารกิจหลักของพนักงานป่าไม้ เป็นหน้างานแนวหน้าที่ต้องเผชิญภัยธรรมชาติ สัตว์ป่า และคนร้าย ถือเป็นภาระ " หนัก " ไม่น้อย แต่สามารถจ้างคนงานมาช่วยแบ่งเบาได้บ้าง
น่าเสียดายที่เอกสารมิได้ระบุจำนวนวันปฏิบัติการ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้นอกจากตราตีไม้ หรือหากพบผู้กระทำผิดกฎหมายต่อหน้าต้องปฏิบัติอย่างไร ? เพราะหาไม่แล้วการเข้าป่าครั้งนั้นจะทำให้ผู้ค้นคว้า " สนุก " ไปกับหลักฐานชั้นต้นอย่างแน่นอน.
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา นน 1.6.3.5/11 เอกสารสำนักงานป่าไม้จังหวัดน่าน เรื่อง การสำรวจไม้สักตายแห้งตามธรรมชาติ และสำรวจประมาณการไม้สักที่ถูกลักตัดในสัมปทานน้ำแหง น้ำสา ภาค 4 แปลงที่ 10 [ 16 ก.พ. - 30 ต.ค. 2510 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 373 ครั้ง)