เยี่ยมเยือนสถานีประมง
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : เยี่ยมเยือนสถานีประมง --
ก่อนพ.ศ. ๒๕๐๐ ใครมาตรวจเยี่ยมสถานีประมงพะเยาบ้าง ?
จากเอกสารจดหมายเหตุเรื่องการตรวจราชการสถานีประมงน้ำจืดพะเยา ให้รายละเอียดว่า ระหว่างพ.ศ. ๒๔๙๓ - ๒๔๙๘ มีรัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ปลัดกระทรวง อธิบดี และหัวหน้าแผนกมาเยือน
โดยแต่ละท่านได้แสดงความเห็นหรือคำแนะนำไว้ในบันทึก/ตารางการตรวจเยี่ยม ดังเช่น
วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๔๙๓ พระช่วงเกษตรศิลปการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ เขียนว่า " ข้าพเจ้าได้มาตรวจราชการภาคเหนือ ได้มาพักแรมดูกิจการที่นี่ ทั้งผ่านไปดูการเพาะเลี้ยงของราษฎรที่ได้ขุดบ่อเลี้ยงอย่างจริงจัง ขอไห้ขยายกิจการส่งเสริมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสมาชิกสหกรณ์ . . . "
หรือวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๙๔ นายเสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ เขียนว่า " ได้มาพักแรมตรวจราชการของสถานีการประมงแห่งนี้ รู้สึกพอใจในกิจการที่หัวหน้าสถานี (ม.จ.โกศลฯ) ที่ได้ทรงปฏิบัติเปนอย่างมาก ขอบคุณ ที่ท่านได้ทรงพยายามเอาพระทัยขมักขเม้นในกิจการประมงเปนอย่างดี . . . "
เป็นต้น
การแสดงความเห็นของผู้มาตรวจเยี่ยมทุกท่านมีแต่ความชื่นชม และแนะนำการปฏิบัติงานเพิ่มเติม ทั้งเรื่องเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมากขึ้น สร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่องกับงานชลประทาน กำจัดผักตบชวาในกว๊าน และเอาใจใส่งานวิชาการประมงต่อไป
การตรวจเยี่ยมครั้งสุดท้ายก่อนเข้าพ.ศ. ๒๕๐๐ นั้น คือวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๙๘ โดยหัวหน้าแผนกทดลองและเพาะเลี้ยงบางเขน แต่ไม่ปรากฏความเห็นหรือคำแนะนำใดๆ สันนิษฐานว่าอาจเป็นท่านหนึ่งในคณะผู้ติดตามอธิบดีกรมประมงที่มาตรวจราชการวันเดียวกัน
นอกจากนี้ พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นปีที่เพิ่งมีผู้ตรวจเยี่ยมสถานีประมงพะเยา หลังจากห่างหายไปภายหลังพ.ศ. ๒๔๙๔ น่าสังเกตว่า เมื่อแต่ก่อนมีการตรวจเยี่ยมทุกปีหรือปีละ ๒ ครั้ง เพราะเหตุใดจึงขาดหายไป ๓ - ๔ ปี ?
อย่างไรก็ดี จุดประสงค์ของการตรวจเยี่ยมคือ ติดตามความก้าวหน้าการปฏิบัติงานที่กระทรวงและกรมประมงมอบหมาย ตรวจสอบความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่กับผู้ใต้บังคับบัญชา การให้กำลังใจ สร้างความสมัครสมานสามัคคีร่วมกัน
ดังนั้น บันทึกการตรวจเยี่ยมสถานที่ราชการ ตรวจงาน จึงเป็นเอกสารสำคัญ เป็นหลักฐานสะท้อนภารกิจหน้าที่ของผู้มาตรวจและผู้รับตรวจ อีกทั้งยังแสดงถึง " เกียรติ " " ศักดิ์ศรี " ที่ผ่านมาของผู้ปฏิบัติงาน.
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา (2) กษ 1.1.1.1/2 เรื่อง การตรวจราชการสถานีประมงน้ำจืดพะเยา [ 18 มี.ค. 2493 - 24 เม.ย. 2511 ]
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
ก่อนพ.ศ. ๒๕๐๐ ใครมาตรวจเยี่ยมสถานีประมงพะเยาบ้าง ?
จากเอกสารจดหมายเหตุเรื่องการตรวจราชการสถานีประมงน้ำจืดพะเยา ให้รายละเอียดว่า ระหว่างพ.ศ. ๒๔๙๓ - ๒๔๙๘ มีรัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ปลัดกระทรวง อธิบดี และหัวหน้าแผนกมาเยือน
โดยแต่ละท่านได้แสดงความเห็นหรือคำแนะนำไว้ในบันทึก/ตารางการตรวจเยี่ยม ดังเช่น
วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๔๙๓ พระช่วงเกษตรศิลปการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ เขียนว่า " ข้าพเจ้าได้มาตรวจราชการภาคเหนือ ได้มาพักแรมดูกิจการที่นี่ ทั้งผ่านไปดูการเพาะเลี้ยงของราษฎรที่ได้ขุดบ่อเลี้ยงอย่างจริงจัง ขอไห้ขยายกิจการส่งเสริมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสมาชิกสหกรณ์ . . . "
หรือวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๙๔ นายเสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ เขียนว่า " ได้มาพักแรมตรวจราชการของสถานีการประมงแห่งนี้ รู้สึกพอใจในกิจการที่หัวหน้าสถานี (ม.จ.โกศลฯ) ที่ได้ทรงปฏิบัติเปนอย่างมาก ขอบคุณ ที่ท่านได้ทรงพยายามเอาพระทัยขมักขเม้นในกิจการประมงเปนอย่างดี . . . "
เป็นต้น
การแสดงความเห็นของผู้มาตรวจเยี่ยมทุกท่านมีแต่ความชื่นชม และแนะนำการปฏิบัติงานเพิ่มเติม ทั้งเรื่องเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมากขึ้น สร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่องกับงานชลประทาน กำจัดผักตบชวาในกว๊าน และเอาใจใส่งานวิชาการประมงต่อไป
การตรวจเยี่ยมครั้งสุดท้ายก่อนเข้าพ.ศ. ๒๕๐๐ นั้น คือวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๙๘ โดยหัวหน้าแผนกทดลองและเพาะเลี้ยงบางเขน แต่ไม่ปรากฏความเห็นหรือคำแนะนำใดๆ สันนิษฐานว่าอาจเป็นท่านหนึ่งในคณะผู้ติดตามอธิบดีกรมประมงที่มาตรวจราชการวันเดียวกัน
นอกจากนี้ พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นปีที่เพิ่งมีผู้ตรวจเยี่ยมสถานีประมงพะเยา หลังจากห่างหายไปภายหลังพ.ศ. ๒๔๙๔ น่าสังเกตว่า เมื่อแต่ก่อนมีการตรวจเยี่ยมทุกปีหรือปีละ ๒ ครั้ง เพราะเหตุใดจึงขาดหายไป ๓ - ๔ ปี ?
อย่างไรก็ดี จุดประสงค์ของการตรวจเยี่ยมคือ ติดตามความก้าวหน้าการปฏิบัติงานที่กระทรวงและกรมประมงมอบหมาย ตรวจสอบความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่กับผู้ใต้บังคับบัญชา การให้กำลังใจ สร้างความสมัครสมานสามัคคีร่วมกัน
ดังนั้น บันทึกการตรวจเยี่ยมสถานที่ราชการ ตรวจงาน จึงเป็นเอกสารสำคัญ เป็นหลักฐานสะท้อนภารกิจหน้าที่ของผู้มาตรวจและผู้รับตรวจ อีกทั้งยังแสดงถึง " เกียรติ " " ศักดิ์ศรี " ที่ผ่านมาของผู้ปฏิบัติงาน.
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา (2) กษ 1.1.1.1/2 เรื่อง การตรวจราชการสถานีประมงน้ำจืดพะเยา [ 18 มี.ค. 2493 - 24 เม.ย. 2511 ]
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 240 ครั้ง)