เมล็ดพันธุ์เพื่อเกษตรกร
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : เมล็ดพันธุ์เพื่อเกษตรกร --
ปลายปี ๒๕๓๖ เกษตรจังหวัดพะเยาแจ้งว่า กรมส่งเสริมการเกษตรอนุมัติ ๒ โครงการเพื่อเกษตรกร จึงเรียนเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล
โดย ๒ โครงการนั้น ได้แก่ โครงการพัฒนาการผลิตและการตลาดถั่วเหลือง (ฤดูแล้ง) ปี ๒๕๓๗ และโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดในเขตส่งออกและเขตทั่วไป กิจกรรมแลกเปลี่ยนพันธุ์ปี ๒๕๓๗
สาเหตุที่ต้องให้ผู้ว่าราชการมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล เพราะกรมส่งเสริมการเกษตรจัดส่งเมล็ดพันธุ์พืชสำหรับโครงการมาจำหน่ายให้เกษตรกรในราคาย่อมเยาด้วย ดังปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุคำสั่งจังหวัดพะเยา ที่ ๒๖๒๑/๒๕๓๖ ว่า
" ๑. เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง อัตรา ๑๕ กิโลกรัม/ไร่ จำหน่ายราคากิโลกรัมละ ๒.๐๐ บาท พร้อมเชื้อไรโซเบี้ยมฟรี เกษตรกรรายละไม่เกิน ๒๐ ไร่ ๓๐๐ กิโลกรัม
๒. เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมเดี่ยว อัตรา ๒ กิโลกรัม/ไร่ จำหน่ายราคากิโลกรัมละ ๘.๐๐ บาท เกษตรกรรายละไม่เกิน ๒๐ ไร่ ๔๐ กิโลกรัม
๓. เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมสามทาง อัตรา ๓ กิโลกรัม/ไร่ จำหน่ายราคากิโลกรัมละ ๕.๐๐ บาท เกษตรกรรายละไม่เกิน ๒๐ ไร่ ๖๐ กิโลกรัม "
ความน่าสนใจของหลักฐานนี้คือ แสดงให้ทราบว่า พืชไร่ถั่วเหลืองกับข้าวโพด ๒ สายพันธุ์เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่เกษตรกรจังหวัดพะเยานิยมปลูก เพราะถึงกับต้องกำหนดราคาจำหน่ายเป็นต้นทุนไว้
ถัดมายังสะท้อนให้เห็นว่า เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมเดี่ยวน่าจะมีราคาสูงในตลาด เมื่อมาจำหน่ายให้เกษตรกรในราคาย่อมเยาแล้ว ราคาก็ยังแพงกว่าเมล็ดพันธุ์พืชอื่น
ประการสุดท้าย น่าสังเกตว่า กรมส่งเสริมการเกษตรอนุมัติ ๒ โครงการข้างต้นให้กับจังหวัดอื่นในภูมิภาคที่มีสภาพดิน ฟ้า อากาศเหมือนกันด้วยรึไม่ ? หรือเป็นโครงการเฉพาะของจังหวัดพะเยาที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจัดทำขึ้น เพราะเอกสารจดหมายเหตุไม่ปรากฏรายละเอียดเพิ่มเติม
อย่างไรก็ดี โครงการทั้งสองเป็นหนึ่งในหลายๆ ภารกิจที่ภาครัฐเอาใจใส่เกษตรกร ผู้ได้รับสมญาว่า " กระดูกสันหลังของชาติ " การนี้หาไม่แล้ว เมล็ดพันธุ์กับอุปกรณ์การเกษตรที่เกี่ยวข้องคงเกินกว่าต้นทุนที่มี ทำให้เพาะปลูกได้ยาก สุดท้ายผลผลิตขาดตลาดกระทบต่อผู้บริโภคจำนวนมาก และที่สำคัญกิจกรรมช่วยเหลือข้างต้นต้องการสื่อนัยว่า เพื่อ " ปิดช่องทางพ่อค้าคนกลาง " ให้จงได้
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13.1/36 เรื่อง คำสั่งจังหวัดพะเยา เรื่องแต่งตั้ง
คณะกรรมการควบคุมการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ การติดตามนิเทศงาน และการนำส่งเงินรายได้แผ่นดินค่าจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชปี 2537 [ 26 พ.ย. - 3 ธ.ค. 2536 ]
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
ปลายปี ๒๕๓๖ เกษตรจังหวัดพะเยาแจ้งว่า กรมส่งเสริมการเกษตรอนุมัติ ๒ โครงการเพื่อเกษตรกร จึงเรียนเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล
โดย ๒ โครงการนั้น ได้แก่ โครงการพัฒนาการผลิตและการตลาดถั่วเหลือง (ฤดูแล้ง) ปี ๒๕๓๗ และโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดในเขตส่งออกและเขตทั่วไป กิจกรรมแลกเปลี่ยนพันธุ์ปี ๒๕๓๗
สาเหตุที่ต้องให้ผู้ว่าราชการมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล เพราะกรมส่งเสริมการเกษตรจัดส่งเมล็ดพันธุ์พืชสำหรับโครงการมาจำหน่ายให้เกษตรกรในราคาย่อมเยาด้วย ดังปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุคำสั่งจังหวัดพะเยา ที่ ๒๖๒๑/๒๕๓๖ ว่า
" ๑. เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง อัตรา ๑๕ กิโลกรัม/ไร่ จำหน่ายราคากิโลกรัมละ ๒.๐๐ บาท พร้อมเชื้อไรโซเบี้ยมฟรี เกษตรกรรายละไม่เกิน ๒๐ ไร่ ๓๐๐ กิโลกรัม
๒. เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมเดี่ยว อัตรา ๒ กิโลกรัม/ไร่ จำหน่ายราคากิโลกรัมละ ๘.๐๐ บาท เกษตรกรรายละไม่เกิน ๒๐ ไร่ ๔๐ กิโลกรัม
๓. เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมสามทาง อัตรา ๓ กิโลกรัม/ไร่ จำหน่ายราคากิโลกรัมละ ๕.๐๐ บาท เกษตรกรรายละไม่เกิน ๒๐ ไร่ ๖๐ กิโลกรัม "
ความน่าสนใจของหลักฐานนี้คือ แสดงให้ทราบว่า พืชไร่ถั่วเหลืองกับข้าวโพด ๒ สายพันธุ์เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่เกษตรกรจังหวัดพะเยานิยมปลูก เพราะถึงกับต้องกำหนดราคาจำหน่ายเป็นต้นทุนไว้
ถัดมายังสะท้อนให้เห็นว่า เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมเดี่ยวน่าจะมีราคาสูงในตลาด เมื่อมาจำหน่ายให้เกษตรกรในราคาย่อมเยาแล้ว ราคาก็ยังแพงกว่าเมล็ดพันธุ์พืชอื่น
ประการสุดท้าย น่าสังเกตว่า กรมส่งเสริมการเกษตรอนุมัติ ๒ โครงการข้างต้นให้กับจังหวัดอื่นในภูมิภาคที่มีสภาพดิน ฟ้า อากาศเหมือนกันด้วยรึไม่ ? หรือเป็นโครงการเฉพาะของจังหวัดพะเยาที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจัดทำขึ้น เพราะเอกสารจดหมายเหตุไม่ปรากฏรายละเอียดเพิ่มเติม
อย่างไรก็ดี โครงการทั้งสองเป็นหนึ่งในหลายๆ ภารกิจที่ภาครัฐเอาใจใส่เกษตรกร ผู้ได้รับสมญาว่า " กระดูกสันหลังของชาติ " การนี้หาไม่แล้ว เมล็ดพันธุ์กับอุปกรณ์การเกษตรที่เกี่ยวข้องคงเกินกว่าต้นทุนที่มี ทำให้เพาะปลูกได้ยาก สุดท้ายผลผลิตขาดตลาดกระทบต่อผู้บริโภคจำนวนมาก และที่สำคัญกิจกรรมช่วยเหลือข้างต้นต้องการสื่อนัยว่า เพื่อ " ปิดช่องทางพ่อค้าคนกลาง " ให้จงได้
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13.1/36 เรื่อง คำสั่งจังหวัดพะเยา เรื่องแต่งตั้ง
คณะกรรมการควบคุมการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ การติดตามนิเทศงาน และการนำส่งเงินรายได้แผ่นดินค่าจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชปี 2537 [ 26 พ.ย. - 3 ธ.ค. 2536 ]
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 306 ครั้ง)