จ้างตำรวจคุ้มกัน
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : จ้างตำรวจคุ้มกัน --
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 " ปลัดกะซวงกเสตราธิการ " มีหนังสือราชการถึง " ปลัดกะซวงมหาดไทย " เรื่อง " ขอจ้างตำหรวดสำหรับรักษาการน์ที่สถานีบำรุงพันธุ์ 2 " ในขณะนั้นเป็นที่ทราบกันว่า สถานีบำรุงพันธุ์ 1 คือบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ส่วนสถานีบำรุงพันธุ์ 2 จะเป็นที่อื่นไปไม่ได้นอกจาก กว๊านพะเยา
สาเหตุที่กระทรวงเกษตราธิการต้องจ้างตำรวจมารักษาการณ์ เพราะมีคนขโมยปลาในกว๊านพะเยา และคงลักลอบจับหลายครั้ง จำนวนครั้งละไม่น้อยนั่นเอง
จากเอกสารจดหมายเหตุลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2486 กระทรวงมหาดไทยสั่งการให้กรมตำรวจพิจารณาและไม่ขัดข้อง ทั้งนี้กระทรวงเกษตราธิการจะขอจ้างนายสิบตำรวจตรี 1 นาย พร้อมกับพลตำรวจ 4 นาย โดยคิดค่าจ้างต่อคนเดือนละ 20 บาท ค่าเครื่องแบบคนละ 2 บาท นายสิบตำรวจได้เบี้ยเลี้ยงอีกเดือนละ 7 บาท 50 สตางค์
อย่างไรก็ตาม ท้ายเอกสาร กรมตำรวจขอปรับแก้เบี้ยเลี้ยงนายสิบตำรวจเป็นวันละ 40 สตางค์ ตามระเบียบอัตราเบี้ยเลี้ยงปกติของนายสิบทั่วไป ส่วนค่าเครื่องแบบจะคิดเพียงเดือนละ 1 บาท 75 สตางค์ ต่อ 1 คนเท่านั้น
ถัดมาเอกสารจดหมายเหตุลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2486 หัวหน้ากองบำรุงแจ้งรายละเอียดแก่หัวหน้าแผนกสถานีบำรุงพันธุ์ 2 (กว๊านพะเยา) ว่า " บัดนี้ กะซวงมหาดไทยได้อนุญาตมาแล้ว ฉะนั้นไห้ท่านติดต่อกับผู้กำกับการตำหรวดภูธรจังหวัดเชียงราย เพื่อทำสัญญาจ้างต่อไป . . . โดยถือแนวการปติบัติหย่างสถานีบำรุงพันธุ์ 1 (บึงบอระเพ็ด) แต่ . . . ไห้ท่านไช้ดุลยพินิจของท่านแก้ไขได้ . . . "
จากข้อความทำให้เข้าใจด้วยว่า สถานีบำรุงพันธุ์ 1 (บึงบอระเพ็ด) น่าจะประสบปัญหาลักลอบขโมยสัตว์น้ำ จึงต้องทำสัญญาจ้างตำรวจรักษาการณ์เช่นกัน
แล้วภายในเวลาไม่นาน ปรากฏเอกสารจดหมายเหตุลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2486 หัวหน้าแผนกสถานีบำรุงพันธุ์ 2 (กว๊านพะเยา) แจ้งผู้บังคับกองตำรวจภูธรอำเภอพะเยาว่า " . . . แผนกสถานีฯ ต้องการจะทำสัญญาจ้างตั้งแต่วันที่ 10 เมสายน 86 เปนต้นไป พร้อมกับหนังสือฉบับนี้ได้แนบร่างสัญญาจ้างตำหรวจและระเบียบการของตำหรวดที่ไปรักสาการสถานีบำรุงพันธุ์ 2 (กว๊านพะเยา) จะต้องปติบัติตาม . . . "
เราสามารถสรุปสาระสำคัญเรื่องทั้งหมดได้ว่า เมื่อกระทรวงเกษตราธิการต้องการป้องกันคนลักลอบขโมยปลาในกว๊านพะเยา จึงขอจ้างตำรวจรวม 5 นาย ทางกระทรวงมหาดไทยและกรมตำรวจไม่ขัดข้อง ให้ผู้รับผิดชอบติดต่อสถานีตำรวจในจังหวัดทำสัญญาจ้างได้ทันที
สิ่งที่สะท้อนจากเนื้อหาข้างต้นนี้ เป็นการเอาใจใส่ดูแล เฝ้าระวังสถานที่ราชการกับกว๊านพะเยา ซึ่งสัตว์น้ำในกว๊านมีจำนวนมากเพื่อสาธารณะประโยชน์ ประชาชนสามารถจับไปบริโภคได้ แต่เมื่อมีการ " ลักจับปลา " อย่างผิดกฎหมาย โดยสันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับการบุกรุกสถานีบำรุงพันธุ์ 2 ยามวิกาลรึไม่ หรือลอบจับในฤดูสัตว์น้ำวางไข่ จึงจำเป็นต้องป้องปราม กันไว้ดีกว่าแก้
กว๊านพะเยา สัตว์น้ำ และพันธุ์พืช คือทรัพยากรธรรมชาติของส่วนรวม การคำนึงถึงปัญหาข้างต้น ก็เพื่อรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ให้แก่ลูกหลานในอนาคตข้างหน้า ลองพิจารณาเล่นๆ ว่า หากปี 2486 ไม่มีการเอาใจใส่แล้ว ปัจจุบันนี้เราคงไม่เหลืออะไรไว้อุปโภค-บริโภคแน่นอน.
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา (2) กษ 1.1.1.1/1 เรื่องการบันทึกการปฏิบัติงานตำหรวดรักสาการณ์ สถานีประมงกว๊านพะเยาและคดีความต่างๆ [ 29 ส.ค. 2485 - 18 ก.ค. 2528 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 " ปลัดกะซวงกเสตราธิการ " มีหนังสือราชการถึง " ปลัดกะซวงมหาดไทย " เรื่อง " ขอจ้างตำหรวดสำหรับรักษาการน์ที่สถานีบำรุงพันธุ์ 2 " ในขณะนั้นเป็นที่ทราบกันว่า สถานีบำรุงพันธุ์ 1 คือบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ส่วนสถานีบำรุงพันธุ์ 2 จะเป็นที่อื่นไปไม่ได้นอกจาก กว๊านพะเยา
สาเหตุที่กระทรวงเกษตราธิการต้องจ้างตำรวจมารักษาการณ์ เพราะมีคนขโมยปลาในกว๊านพะเยา และคงลักลอบจับหลายครั้ง จำนวนครั้งละไม่น้อยนั่นเอง
จากเอกสารจดหมายเหตุลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2486 กระทรวงมหาดไทยสั่งการให้กรมตำรวจพิจารณาและไม่ขัดข้อง ทั้งนี้กระทรวงเกษตราธิการจะขอจ้างนายสิบตำรวจตรี 1 นาย พร้อมกับพลตำรวจ 4 นาย โดยคิดค่าจ้างต่อคนเดือนละ 20 บาท ค่าเครื่องแบบคนละ 2 บาท นายสิบตำรวจได้เบี้ยเลี้ยงอีกเดือนละ 7 บาท 50 สตางค์
อย่างไรก็ตาม ท้ายเอกสาร กรมตำรวจขอปรับแก้เบี้ยเลี้ยงนายสิบตำรวจเป็นวันละ 40 สตางค์ ตามระเบียบอัตราเบี้ยเลี้ยงปกติของนายสิบทั่วไป ส่วนค่าเครื่องแบบจะคิดเพียงเดือนละ 1 บาท 75 สตางค์ ต่อ 1 คนเท่านั้น
ถัดมาเอกสารจดหมายเหตุลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2486 หัวหน้ากองบำรุงแจ้งรายละเอียดแก่หัวหน้าแผนกสถานีบำรุงพันธุ์ 2 (กว๊านพะเยา) ว่า " บัดนี้ กะซวงมหาดไทยได้อนุญาตมาแล้ว ฉะนั้นไห้ท่านติดต่อกับผู้กำกับการตำหรวดภูธรจังหวัดเชียงราย เพื่อทำสัญญาจ้างต่อไป . . . โดยถือแนวการปติบัติหย่างสถานีบำรุงพันธุ์ 1 (บึงบอระเพ็ด) แต่ . . . ไห้ท่านไช้ดุลยพินิจของท่านแก้ไขได้ . . . "
จากข้อความทำให้เข้าใจด้วยว่า สถานีบำรุงพันธุ์ 1 (บึงบอระเพ็ด) น่าจะประสบปัญหาลักลอบขโมยสัตว์น้ำ จึงต้องทำสัญญาจ้างตำรวจรักษาการณ์เช่นกัน
แล้วภายในเวลาไม่นาน ปรากฏเอกสารจดหมายเหตุลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2486 หัวหน้าแผนกสถานีบำรุงพันธุ์ 2 (กว๊านพะเยา) แจ้งผู้บังคับกองตำรวจภูธรอำเภอพะเยาว่า " . . . แผนกสถานีฯ ต้องการจะทำสัญญาจ้างตั้งแต่วันที่ 10 เมสายน 86 เปนต้นไป พร้อมกับหนังสือฉบับนี้ได้แนบร่างสัญญาจ้างตำหรวจและระเบียบการของตำหรวดที่ไปรักสาการสถานีบำรุงพันธุ์ 2 (กว๊านพะเยา) จะต้องปติบัติตาม . . . "
เราสามารถสรุปสาระสำคัญเรื่องทั้งหมดได้ว่า เมื่อกระทรวงเกษตราธิการต้องการป้องกันคนลักลอบขโมยปลาในกว๊านพะเยา จึงขอจ้างตำรวจรวม 5 นาย ทางกระทรวงมหาดไทยและกรมตำรวจไม่ขัดข้อง ให้ผู้รับผิดชอบติดต่อสถานีตำรวจในจังหวัดทำสัญญาจ้างได้ทันที
สิ่งที่สะท้อนจากเนื้อหาข้างต้นนี้ เป็นการเอาใจใส่ดูแล เฝ้าระวังสถานที่ราชการกับกว๊านพะเยา ซึ่งสัตว์น้ำในกว๊านมีจำนวนมากเพื่อสาธารณะประโยชน์ ประชาชนสามารถจับไปบริโภคได้ แต่เมื่อมีการ " ลักจับปลา " อย่างผิดกฎหมาย โดยสันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับการบุกรุกสถานีบำรุงพันธุ์ 2 ยามวิกาลรึไม่ หรือลอบจับในฤดูสัตว์น้ำวางไข่ จึงจำเป็นต้องป้องปราม กันไว้ดีกว่าแก้
กว๊านพะเยา สัตว์น้ำ และพันธุ์พืช คือทรัพยากรธรรมชาติของส่วนรวม การคำนึงถึงปัญหาข้างต้น ก็เพื่อรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ให้แก่ลูกหลานในอนาคตข้างหน้า ลองพิจารณาเล่นๆ ว่า หากปี 2486 ไม่มีการเอาใจใส่แล้ว ปัจจุบันนี้เราคงไม่เหลืออะไรไว้อุปโภค-บริโภคแน่นอน.
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา (2) กษ 1.1.1.1/1 เรื่องการบันทึกการปฏิบัติงานตำหรวดรักสาการณ์ สถานีประมงกว๊านพะเยาและคดีความต่างๆ [ 29 ส.ค. 2485 - 18 ก.ค. 2528 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 1317 ครั้ง)