เขตห้ามจับสัตว์น้ำ
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : เขตห้ามจับสัตว์น้ำ --
การกำหนดเขตห้ามจับสัตว์น้ำในกว๊านพะเยา มีหลักฐานหนึ่งปรากฏในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และเป็นช่วงเวลาที่ทั่วโลกกำลังอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2
หลักฐานนั้นคือ ประกาศของกระทรวงเกษตราธิการ " เรื่องกำหนดไห้ไช้เครื่องมือบางหย่างทำการจับสัตว์น้ำ พายไนบริเวณเขตไกล้เคียงที่หวงห้ามรักสาพืชพันธุ์ กว๊านพะเยา ไนท้องที่จังหวัดเชียงราย " (การสะกดคำ ณ ขณะนั้น) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ว่า เขตห้ามจับสัตว์น้ำในกว๊านพะเยามีพื้นที่ดังนี้
1. ทิศเหนือ ตั้งแต่วัดศรีโคมคำ เรียบแนวถนนประชาธิปัตย์ จนถึงวัดรัตนจักรแก้ว (ฮองห้า)
2. ทิศใต้ ผ่านวัดสันนามูล ตำบลสันกว๊าน ไปสุดที่วัดจันตะราช ตำบลบ้านสันเวียงใหม่
3. ทิศตะวันออก เริ่มจากวัดศรีโคมคำ ตัดข้ามกว๊านไปทางทิศใต้ จนจรดหมุดประมงที่กำหนดไว้
4. ทิศตะวันตก นับแต่วัดจันตะราช ตำบลสันเวียงใหม่ ตัดเป็นเส้นตรงข้ามหมุดประมง ไปจนถึงวัดรัตนจักรแก้ว (ฮองห้า)
ท้ายประกาศยังระบุด้วยว่า " ห้ามมิไห้ผู้หนึ่งผู้ไดนำเอาเครื่องมือเข้าไปทำการจับสัตว์น้ำ เว้นแต่เครื่องมือ ลอบ, ไซ, จั๋ม (ยกยอ), สุ่ม, และเบ็ดต่างๆ ซึ่งอนุญาตไห้นำเข้าไปไช้เพื่อทำการจับสัตว์ไนเขตดังกล่าวนั้นได้ "
ชาวอำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย หรือแม้กระทั่งปัจจุบันก็ตาม ทราบดีว่า กว๊านพะเยามีสัตว์น้ำกับพันธุ์พืชน้ำจืดเศรษฐกิจที่พบบ่อย เช่น ปลาหมอเทศ ปลาหมอช้าง ปลาดุก ปลาช่อน ปลากระดี่ กุ้งฝอย บัว และสาหร่าย (ไม่นับรวมผักตบชวาเพราะเป็นวัชพืช) ฯลฯ ซึ่งทางการจำเป็นต้องกำหนดพื้นที่ห้ามจับ ห้ามเก็บ เพราะต้องการสร้างบริเวณอนุรักษ์ และโดยเฉพาะฤดูวางไข่มีผลต่อการขยายพันธุ์ ขยายปริมาณนับแต่อดีตเรื่อยมา
น่าเสียดายที่หลักฐานเคยมีแผนที่แสดงขอบเขตหวงห้ามดังกล่าวแนบมาด้วย หากไม่ปรากฏในแฟ้มเอกสารจดหมายเหตุตั้งแต่แรก แต่อย่างไรก็ดี " ประกาสกะซวงกเสตราธิการ " ฉบับนี้ถือเป็นหลักฐานชั้นต้น สามารถยืนยันการเอาใจใส่ ดูแลรักษาระบบนิเวศของกว๊านพะเยามาอย่างต่อเนื่อง. . .
ต่อเนื่องมาถึง 3 รัชกาลจนกระทั่งปัจจุบัน.
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา (2) กษ 1.1.1.1/1 เรื่องการบันทึกการปฏิบัติงานตำหรวดรักสาการณ์ สถานีประมงกว๊านพะเยาและคดีความต่างๆ [ 29 ส.ค. 2485 - 18 ก.ค. 2528 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
การกำหนดเขตห้ามจับสัตว์น้ำในกว๊านพะเยา มีหลักฐานหนึ่งปรากฏในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และเป็นช่วงเวลาที่ทั่วโลกกำลังอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2
หลักฐานนั้นคือ ประกาศของกระทรวงเกษตราธิการ " เรื่องกำหนดไห้ไช้เครื่องมือบางหย่างทำการจับสัตว์น้ำ พายไนบริเวณเขตไกล้เคียงที่หวงห้ามรักสาพืชพันธุ์ กว๊านพะเยา ไนท้องที่จังหวัดเชียงราย " (การสะกดคำ ณ ขณะนั้น) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ว่า เขตห้ามจับสัตว์น้ำในกว๊านพะเยามีพื้นที่ดังนี้
1. ทิศเหนือ ตั้งแต่วัดศรีโคมคำ เรียบแนวถนนประชาธิปัตย์ จนถึงวัดรัตนจักรแก้ว (ฮองห้า)
2. ทิศใต้ ผ่านวัดสันนามูล ตำบลสันกว๊าน ไปสุดที่วัดจันตะราช ตำบลบ้านสันเวียงใหม่
3. ทิศตะวันออก เริ่มจากวัดศรีโคมคำ ตัดข้ามกว๊านไปทางทิศใต้ จนจรดหมุดประมงที่กำหนดไว้
4. ทิศตะวันตก นับแต่วัดจันตะราช ตำบลสันเวียงใหม่ ตัดเป็นเส้นตรงข้ามหมุดประมง ไปจนถึงวัดรัตนจักรแก้ว (ฮองห้า)
ท้ายประกาศยังระบุด้วยว่า " ห้ามมิไห้ผู้หนึ่งผู้ไดนำเอาเครื่องมือเข้าไปทำการจับสัตว์น้ำ เว้นแต่เครื่องมือ ลอบ, ไซ, จั๋ม (ยกยอ), สุ่ม, และเบ็ดต่างๆ ซึ่งอนุญาตไห้นำเข้าไปไช้เพื่อทำการจับสัตว์ไนเขตดังกล่าวนั้นได้ "
ชาวอำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย หรือแม้กระทั่งปัจจุบันก็ตาม ทราบดีว่า กว๊านพะเยามีสัตว์น้ำกับพันธุ์พืชน้ำจืดเศรษฐกิจที่พบบ่อย เช่น ปลาหมอเทศ ปลาหมอช้าง ปลาดุก ปลาช่อน ปลากระดี่ กุ้งฝอย บัว และสาหร่าย (ไม่นับรวมผักตบชวาเพราะเป็นวัชพืช) ฯลฯ ซึ่งทางการจำเป็นต้องกำหนดพื้นที่ห้ามจับ ห้ามเก็บ เพราะต้องการสร้างบริเวณอนุรักษ์ และโดยเฉพาะฤดูวางไข่มีผลต่อการขยายพันธุ์ ขยายปริมาณนับแต่อดีตเรื่อยมา
น่าเสียดายที่หลักฐานเคยมีแผนที่แสดงขอบเขตหวงห้ามดังกล่าวแนบมาด้วย หากไม่ปรากฏในแฟ้มเอกสารจดหมายเหตุตั้งแต่แรก แต่อย่างไรก็ดี " ประกาสกะซวงกเสตราธิการ " ฉบับนี้ถือเป็นหลักฐานชั้นต้น สามารถยืนยันการเอาใจใส่ ดูแลรักษาระบบนิเวศของกว๊านพะเยามาอย่างต่อเนื่อง. . .
ต่อเนื่องมาถึง 3 รัชกาลจนกระทั่งปัจจุบัน.
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา (2) กษ 1.1.1.1/1 เรื่องการบันทึกการปฏิบัติงานตำหรวดรักสาการณ์ สถานีประมงกว๊านพะเยาและคดีความต่างๆ [ 29 ส.ค. 2485 - 18 ก.ค. 2528 ].
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 457 ครั้ง)