...

เมื่อจะเลี้ยงปลาจีน
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : เมื่อจะเลี้ยงปลาจีน --
 ปี 2523 สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ออกแบบและจัดเตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงปลาจีน ปลาที่ใครๆยอมรับว่ารสชาติดี ประกอบอาหารได้หลายอย่าง
 เริ่มแรกนั้น เจ้าหน้าที่ต้องก่อสร้างบ่อเพาะเลี้ยงก่อน จึงได้ศึกษาและออกแบบบ่อ " ตามระบบการเพาะเลี้ยงปลาจีน แบบของสาธารณรัฐประชาชนจีน " โดยกำหนดไว้ 2 แบบคือ
 1. บ่อซีเมนต์ขนาด 48 ลูกบาศก์เมตร สำหรับเพาะพันธุ์กับรวบรวมลูกปลา
 2. บ่อซีเมนต์ขนาด 24 ลูกบาศก์เมตร สำหรับเพาะฟักไข่
 ถัดมาจึงกำหนดคอกคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 แบบใกล้ๆกับบ่อ เพื่อส่งเสริมระบบอนุบาลลูกปลา
 ซึ่งทั้งหมดอยู่บนพื้นที่ระดับต่างกัน รูปทรงมีทั้งบ่อกลมและบ่อสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วให้พื้นที่ตั้งอยู่ใกล้ลำแม่น้ำอิงเก่า มีเขื่อนคอนกรีตกั้นไว้
 สิ่งที่น่าสนใจคือ บ่อรวบรวมลูกปลาขนาด 48 ลูกบาศก์เมตร ถูกระบุวิธีก่อสร้างว่า " ผนังด้านนอกใช้เหล็กตะแกรง ผนังด้านในฉาบปูนขัดมัน พื้นบ่อก็ฉาบปูนขัดมัน แต่เทพื้นให้ลาดไปหาท่อน้ำออก "
 การออกแบบดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นเทคนิคที่เจ้าหน้าที่ประมงศึกษาจากต้นแบบของสาธารณรัฐประชาชนจีน แล้วนำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งแสดงว่า การนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในจังหวัดเกิดขึ้นทันทีที่ก่อตั้งจังหวัดไม่นาน ทำให้การเพาะเลี้ยงปลาจีนก้าวหน้า มีประสิทธิภาพ จวบจนปัจจุบัน
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ผจ (2) กษ 1/29 แผนผังการวางบ่อ ขนาด 48 ม3 และบ่อขนาด 24 ม3 ตามระบบการเพาะพันธุ์ปลาจีน แบบของสาธารณรัฐประชาชนจีน [ 10 ม.ค. 2523 ]
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ

(จำนวนผู้เข้าชม 1993 ครั้ง)


Messenger