...

บ่ออนุบาลประมง
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : บ่ออนุบาลประมง --
 เมื่อ 39 ปีก่อน กองประมงน้ำจืด กรมประมง ออกแบบบ่ออนุบาลสัตว์น้ำที่เพาะพันธุ์ได้ ทั้งลูกปลา ลูกกุ้ง สำหรับเตรียมไว้แจกจ่ายและปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
 คำว่า " อนุบาล " มีสองความหมาย กล่าวคือ 1. ช่วยรักษาชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัย กับ 2. เพาะเลี้ยงให้มีความสมบูรณ์พร้อมก่อนคัดเลือกสายพันธุ์
 จากแบบแปลนบ่ออนุบาลที่นำมาเสนอนี้ เป็นแบบมาตรฐานทั่วไป ขนาด 680 ตารางเมตร แสดงให้เห็นทั้งแบบด้านบน (Top View) ด้านข้าง (Side View) ด้านหน้า (Front View) รวมไปถึงความลาดชัน (ความเอน) ของขอบบ่อ ซึ่งเดิมเข้าใจว่า ขอบบ่อต้องตัดตรงตั้งฉากกับพื้นเท่านั้น
 การก่อสร้างบ่ออนุบาลโดยใช้วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็กหรืออัดดิน อาจขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ที่สำคัญดังได้กล่าวแต่ต้นแล้วว่า คำว่าอนุบาลมีความหมายทั้งการรักษาชีวิตและเพาะเลี้ยง ฉะนั้นวัสดุที่ใช้จึงต้องเลือกให้เหมาะสม
 อย่างไรก็ตาม ความน่าสนใจของบ่ออนุบาลมาตรฐานยังมีประเด็นคำถามว่า เป็นแบบบ่อสำหรับใช้ภายในหน่วยงานประมงเท่านั้น หรือเผยแพร่แก่เกษตรกรใช้ร่วมด้วย? เพราะขึ้นชื่อว่า "มาตรฐาน " ต้องได้รับการรับรองทางวิชาการและงานโยธา มีคุณสมบัติดีเยี่ยม ช่วยสนับสนุนผลผลิตมีคุณภาพ ส่งผลแก่รายได้มากขึ้นต่อไป
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)
เอกสารอ้างอิง :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ผจ (2) กษ 1/16 แบบบ่ออนุบาลมาตรฐานทั่วไป ขนาด 680 ตารางเมตร [ 14 ก.ค. 2526 ]
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ

(จำนวนผู้เข้าชม 1480 ครั้ง)


Messenger