เรื่องเล่าจากเอกสารรับมอบ ตอน หอประมวลเหตุการณ์ก่อการร้าย
-- องค์ความรู้ เรื่อง เรื่องเล่าจากเอกสารรับมอบ ตอน หอประมวลเหตุการณ์ก่อการร้าย --
จากข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารรับมอบ ได้มีการระบุไว้ว่า เมื่อปีพุทธศักราช 2519 นายกอบกุล ทองลงยา นายอำเภอทุ่งช้าง ในขณะนั้น ได้จัดทำหนังสือ (ที่ 281/2519 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2519) เพื่อขออนุมัติสร้างหอประมวลเหตุการณ์ก่อการร้ายในจังหวัดน่าน ณ บริเวณอนุสาวรีย์วีรกรรม พตท. (อนุสาวรีย์วีรกรรมพลเรือน ตำรวจ ทหาร อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน) ด้วยเห็นว่า เมื่อมีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเพื่อเป็นการสดุดีและสรรเสริญของบุคคลที่ได้อุทิศตนเพื่อปกป้องชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว ควรจะได้รับการจัดสร้างอาคารถาวรขึ้นอีกหลังหนึ่งเพื่อเก็บหลักฐาน วัสดุ และอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ จัดแสดง เพื่อบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ นับแต่ ผกค. ได้เริ่มปลุกระดมมวลชน ใช้กำลังอาวุธต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาล ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนได้ศึกษาเหตุการณ์ก่อการร้ายในพื้นที่จังหวัดน่านได้อย่างถูกต้อง ตามข้อเท็จจริง และเป็นสถานที่รวบรวมวัสดุอาวุธ สิ่งพิมพ์ทั้งสองฝั่ง และเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ระลึกถึงความเสียสละอย่างกล้าหาญของวีรชนผู้เสียสละ
การดำเนินการก่อสร้างได้มีราษฎรและกลุ่มพลังมวลชนต่างๆ ได้บริจาคที่ดินและเงินสมทบทุนสร้าง โดยมีกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบอาคาร ได้เริ่มก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2523 โดยใช้ชื่อว่า “หอประมวลเหตุการณ์ก่อการร้ายจังหวัดน่าน”
ในปีพุทธศักราช 2533 ได้มีการปรับปรุงอาคารหอประมวลเหตุการณ์ก่อการร้ายจังหวัดน่าน โดยกองทัพภาคที่ 3 และได้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น “พิพิธภัณฑ์ทหาร”
จากข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารรับมอบชุดนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงความพยายามของผู้ที่ทำงานที่สื่อสารและขอความช่วยเหลือยังหน่วยงานต่างๆ ทั้งการโต้ตอบเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อหาเงินสมทบทุนก่อสร้างให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วง การดำเนินงาน แบบแปลนก่อสร้างอาคารของกรมศิลปากร การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ ประชาชน และเอกสารรายงานการประชุมต่างๆ รายงานการปรับปรุง ฯลฯ
เอกสารรับมอบชุดนี้ถือเป็นเอกสารที่ค่อนข้างชัดเจน และเกือบสมบูรณ์ของการริเริ่มดำเนินโครงการ หากเอกสารชุดนี้ผ่านการประเมินคุณค่า และจัดหมวดหมู่ให้บริการแล้ว หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างที่สุด ถือว่าเป็นการหยิบเรื่องราวจากเอกสารรับมอบมาเล่าสู่กันฟัง
“เอกสารใหม่ในวันนี้ อาจจะเป็นเอกสารเก่าที่มีคุณค่าในวันข้างหน้า” จึงขอเชิญชวนให้ผู้ที่ประสงค์ส่งมอบเอกสารส่วนบุคล หรือเอกสารสำคัญ ทั้งเอกสาร ภาพถ่าย แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติได้เพื่อประโยชน์แก่การค้นคว้า ศึกษา ต่อไป
ผู้เขียน: นางสาวอรทัย ปานจันทร์ ( นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา )
เอกสารและข้อมูลอ้างอิง:
1. เอกสารรับมอบของที่ว่าการอำเภอทุ่งช้าง ชุดเอกสารพิพิธภัณฑ์ทหาร, 67/2554
2. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
จากข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารรับมอบ ได้มีการระบุไว้ว่า เมื่อปีพุทธศักราช 2519 นายกอบกุล ทองลงยา นายอำเภอทุ่งช้าง ในขณะนั้น ได้จัดทำหนังสือ (ที่ 281/2519 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2519) เพื่อขออนุมัติสร้างหอประมวลเหตุการณ์ก่อการร้ายในจังหวัดน่าน ณ บริเวณอนุสาวรีย์วีรกรรม พตท. (อนุสาวรีย์วีรกรรมพลเรือน ตำรวจ ทหาร อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน) ด้วยเห็นว่า เมื่อมีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเพื่อเป็นการสดุดีและสรรเสริญของบุคคลที่ได้อุทิศตนเพื่อปกป้องชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว ควรจะได้รับการจัดสร้างอาคารถาวรขึ้นอีกหลังหนึ่งเพื่อเก็บหลักฐาน วัสดุ และอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ จัดแสดง เพื่อบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ นับแต่ ผกค. ได้เริ่มปลุกระดมมวลชน ใช้กำลังอาวุธต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาล ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนได้ศึกษาเหตุการณ์ก่อการร้ายในพื้นที่จังหวัดน่านได้อย่างถูกต้อง ตามข้อเท็จจริง และเป็นสถานที่รวบรวมวัสดุอาวุธ สิ่งพิมพ์ทั้งสองฝั่ง และเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ระลึกถึงความเสียสละอย่างกล้าหาญของวีรชนผู้เสียสละ
การดำเนินการก่อสร้างได้มีราษฎรและกลุ่มพลังมวลชนต่างๆ ได้บริจาคที่ดินและเงินสมทบทุนสร้าง โดยมีกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบอาคาร ได้เริ่มก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2523 โดยใช้ชื่อว่า “หอประมวลเหตุการณ์ก่อการร้ายจังหวัดน่าน”
ในปีพุทธศักราช 2533 ได้มีการปรับปรุงอาคารหอประมวลเหตุการณ์ก่อการร้ายจังหวัดน่าน โดยกองทัพภาคที่ 3 และได้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น “พิพิธภัณฑ์ทหาร”
จากข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารรับมอบชุดนี้ ยังแสดงให้เห็นถึงความพยายามของผู้ที่ทำงานที่สื่อสารและขอความช่วยเหลือยังหน่วยงานต่างๆ ทั้งการโต้ตอบเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อหาเงินสมทบทุนก่อสร้างให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วง การดำเนินงาน แบบแปลนก่อสร้างอาคารของกรมศิลปากร การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ ประชาชน และเอกสารรายงานการประชุมต่างๆ รายงานการปรับปรุง ฯลฯ
เอกสารรับมอบชุดนี้ถือเป็นเอกสารที่ค่อนข้างชัดเจน และเกือบสมบูรณ์ของการริเริ่มดำเนินโครงการ หากเอกสารชุดนี้ผ่านการประเมินคุณค่า และจัดหมวดหมู่ให้บริการแล้ว หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างที่สุด ถือว่าเป็นการหยิบเรื่องราวจากเอกสารรับมอบมาเล่าสู่กันฟัง
“เอกสารใหม่ในวันนี้ อาจจะเป็นเอกสารเก่าที่มีคุณค่าในวันข้างหน้า” จึงขอเชิญชวนให้ผู้ที่ประสงค์ส่งมอบเอกสารส่วนบุคล หรือเอกสารสำคัญ ทั้งเอกสาร ภาพถ่าย แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติได้เพื่อประโยชน์แก่การค้นคว้า ศึกษา ต่อไป
ผู้เขียน: นางสาวอรทัย ปานจันทร์ ( นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา )
เอกสารและข้อมูลอ้างอิง:
1. เอกสารรับมอบของที่ว่าการอำเภอทุ่งช้าง ชุดเอกสารพิพิธภัณฑ์ทหาร, 67/2554
2. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
(จำนวนผู้เข้าชม 585 ครั้ง)