...

เทคนิคการอ่านอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
 เทคนิคการอ่านอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
 
1. เริ่มอ่านหนังสืออย่างง่ายและสนุก
 
2. อ่านสม่ำเสมอทุกวันในช่วงเวลาสั้น ๆ
 
3. มีความตั้งใจที่จะอ่านให้เร็วกว่าเดิม
 
4. กำหนดเวลาในการอ่าน ๆ ให้แน่นอน เช่น 30 นาที 1 ชั่วโมง
 
5. จับใจความให้ได้ด้วยการทดลองทำนายเนื้อเรื่องล่วงหน้าและทดลองทำนายเนื้อเรื่อง
 
6. ศึกษาศัพท์ ความหมายของคำที่ใช้ คำใดที่ไม่แน่ใจควรทำเครื่องหมายไว้เพื่อกลับมาศึกษาภายหลัง
 
7. อย่าพยายามเคลื่อนไหวสายตาย้อนกลับ จะทำให้เกิดความสับสน
 
8. อ่านโดยกวาดสายตาไปเรื่อย ๆ
 
9. อ่านในใจ ไม่พึมพำ หรือทำปากขมุบขมิบ
 
10. จดบันทึกผลความก้าวหน้า
 
11. อย่าหยุดอ่านเพื่อจดบันทึกจนกว่าจะจบตอนหนึ่ง ๆ
 
 
 
     เทคนิค SQ 3R ของ Dr.Francis Robinson
 
1. สำรวจ (Survey)ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ เช่น คำนำ สารบัญ บรรณานุกรม
 
2. ตั้งคำถาม (Question) จากเนื้อหา
 
3. อ่านหาคำตอบ(Reading)
 
4. ระลึก(Recall) สิ่งที่อ่านผ่านมาแล้ว
 
5. ทบทวน(Review)
 
 
 
     เทคนิคการอ่านตำราเรียนให้ดี
 
1. สำรวจหนังสือ : เพื่อรู้จักคุ้นเคย
 
2. อ่านแนวคิดหลัก : จับประเด็นสำคัญ
 
3. ตั้งคำถามขณะอ่าน : อะไร ทำไม อย่างไร ใคร เมื่อไหร่
 
4. เน้นประเด็นสำคัญ : ทำเครื่องหมายวรรค ตอน
 
5. ประสานคำบรรยายกับตำรา ; ช่วยให้เข้าใจลึกซึ้ง
 
6. ทบทวน: บ่อย ๆ จะจำได้ดี
 
 
 
     การศึกษาตามหลัก SOAR
 
     S = Survey สำรวจหรือสร้างความคุ้นเคยก่อนอ่าน
 
     1. ที่มา คำนำ สารบัญ รูปแบบของหนังสือ หนังสืออ้างอิง ดัชนี
 
     2. คำนำ หัวข้อสรุป ของแต่ละบท
 
 
 
     O = organizeเรียบเรียงหรือจดสิ่งที่ได้อ่าน
 
     1. ทำเครื่องหมายเน้นประเด็นสำคัญ ประเด็นรองเมื่ออ่าน
 
     2. จดย่อ
 
 
     A = Anticipate ทดลองทำแบบฝึกหัด ตอบคำถามหรือทดสอบ
 
     R = Recite and Review หัดท่องจำและทบทวนเสมอ ๆ
 
 
 
     การอ่านหนังสือประเภทต่าง ๆ
 
        วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ; ไม่ควรอ่านตะลุยเรื่อย ๆ รวดเดียวจบเล่ม ควรอ่านแล้วหยุดพักเป็นตอน ๆ ไปเรื่อย ๆ
 
ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ; ควรอ่านตะลุยรวดเดียวไปจนจบเพื่อให้เรื่องราวสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน
 
          วรรณคดี ; อ่านอย่างรอบคอบ ถี่ถ้วน อ่านช้า ๆ ไม่รีบเร่ง ปล่อยอารมณ์ ให้ คล้อยตามคำบรรยาย ถ้าอ่านเพื่อการศึกษาควรมีการวิเคราะห์เรื่องราวบทบาทของตัวละคร ตลอดจนส่วนอื่น ๆ ของวรรณคดี
 
         นิตยสารและหนังสือพิมพ์ ควรใช้วิจารณญาณ พิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ใช่เชื่อทุกอย่างตามที่ข่าวรายงาน คงไม่ได้หมายความว่า เสร็จสิ้นการสอบแล้ว การอ่านก็หมดความจำเป็นอีกต่อไป เพราะโลกปัจจุบันนี้ เวลาไม่เคยสูญเสียไป

(จำนวนผู้เข้าชม 5142 ครั้ง)