ความทรงจำแห่งโลกในประเทศไทยจารึกวัดโพธิ์ Epigraphic Archives of Wat Pho
องค์ความรู้: ความทรงจำแห่งโลกในประเทศไทย
จารึกวัดโพธิ์ Epigraphic Archives of Wat Pho
จารึกวัดโพธิ์ Epigraphic Archives of Wat Pho มีแผ่นหินที่บันทึกเรื่องราว เป็นภาษาไทยเกี่ยวกับความรู้และสรรพวิชาต่าง ๆ ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การค้าขาย และวัฒนธรรม ทั้งหมด 1,431 แผ่น ในช่วงตั้งแต่ปีค.ศ. 1831-1841 ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อปีพ.ศ.2551 และขึ้นทะเบียนในระดับโลกใน ปีพ.ศ.2554 “วัดโพธิ์” หรือ “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร” เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก เป็นวัดโบราณเก่าแก่ที่ราษฎรสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ต่อมาได้ถือว่าเป็นพระอารามหลวงประจารัชกาลที่ 1 และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ซึ่งได้เริ่มมี “จารึกวัดโพธิ์” ขึ้น โดยพระองค์ได้ทรงมีพระราชประสงค์ให้พระอารามแห่งนี้เป็น “มหาวิทยาลัย” สำหรับประชาชนทั่วไป พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นาเอาองค์ความรู้จากปราชญ์ของไทยและสรรพศิลปวิทยาการต่างๆ เช่น ตาราการแพทย์ โบราณคดี และวรรณกรรม โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนทั้งหลาย ฯลฯ มาจารึกลงบนแผ่นหินอ่อน ประดับไว้ตามบริเวณผนัง-เสาพระระเบียงรอบพระอุโบสถ พระวิหาร พระวิหารคด และศาลารายรอบพระมณฑปภายในวัด ซึ่งทรงมุ่งหวังให้ยั่งยืนและเผยแพร่ให้ประชาชนศึกษาได้อย่างเสรี เป็นแหล่งเล่าเรียนวิชาความรู้ของมหาชน โดยไม่เลือกชนชั้น วรรณะ ยศถาบรรดาศักดิ์ เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีหนังสือ ไม่มีโรงเรียน การเล่าเรียนส่วนใหญ่จะมีสอนให้อยู่ตามวัดต่างๆ เท่านั้น พระอารามแห่งนี้จึงเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย เพิ่มเติมจากการเล่าเรียนวิชาสามัญศึกษาที่มีอยู่ตามวัดทั่วไป แม้ว่าเวลาจะผ่านไปกว่า178 ปี วัดโพธิ์ก็ยังคงเป็นแหล่งเรียนรู้สรรพวิทยา เห็นได้จากความรู้เกี่ยวกับโยคะศาสตร์และตำราการนวดแผนโบราณวัดโพธิ์ เป็นที่รู้จักแพร่หลายออกไปทั่วโลกในปัจจุบัน
ได้รับการขึ้นทะเบียน มรดกความทรงจำเอเชียแปซิฟิก วันที่ 21/2/2551
ได้รับการขึ้นทะเบียน มรดกความทรงจำโลก วันที่ 27/5/2554
ได้รับการขึ้นทะเบียน มรดกความทรงจำประเทศไทย วันที่ 21/12/2558
ข้อมูล/ภาพ: สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
(จำนวนผู้เข้าชม 520 ครั้ง)