ประวัติ
งานจดหมายเหตุ ของประเทศไทย มีประวัติความเป็นมาสืบย้อนขึ้นไปได้ถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างน้อย โดยอาศัยตามข้อทรงสันนิษฐานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า "เรื่องจดหมายเหตุ มีธรรมเนียมเก่า เป็นหน้าที่ของมหาดเล็กจะต้องจดบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ เก็บไว้ในหอศาสตราคม และงานจดหมายเหตุ ในราชสำนักก็ยังเป็นประเพณีสืบต่อมาหลายสมัย ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฎหลักฐานเรื่องการจัดงบประมาณ กรมพระอาลักษณ์ เมื่อ ร.ศ. 115 ขอรับพระราชทานยกการบันทึกเหตุการณ์ประจำวันรวมกับราชกิจจานุเบกษายกเป็น กองจดหมายเหตุ ใน ร.ศ. 118 ปรากฏหลักฐานประกาศตั้งตำแหน่งข้าราชการกรมรัฐมนตรีและกรมพระอาลักษณ์ มีหลวงนรราชจำนงดำรงตำแหน่งปลัดกรม ยังคงปรากฏมีกองจดหมายเหตุอยู่"
ส่วนหอจดหมายเหตุ ในความหมายที่เป็นหน่วยงานเก็บเอกสารไว้เป็นเอกสารจดหมายเหตุ ตรงกับคำว่า ARCHIVES ของภาษาอังกฤษ มิใช่เพียงแต่หมายถึงการจดบันทึกเหตุการณ์ประจำวันที่เกิดขึ้นแล้วเก็บไว้ นั้นเริ่มในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของหนังสือราชการ เป็นอย่างยิ่งและมีพระราชกระแสให้นำ เอกสารสำคัญไปเก็บรักษาไว้ในหอจดหมายเหตุ ดังตัวอย่างพระราชกระแส ที่จะอัญเชิญต่อไปนี้
"เรื่องตราเป็นอันได้ความถูกต้องตามที่พระยามหาอำมาตยแจ้งความ แต่มีความเสียใจที่เปนตราแกะใหม่ทั้ง 2 ดวง รุ่นเดียวกันกับนารายน์ทรงราหูตราเก่าเป็นจะหายหกตกหล่นเพราะเจ้าแผ่นดิน ไม่ได้อยู่ติดเมืองสักคนหนึ่งศุภอักษรนี้อ่านคันใจ เต็มที เพราะเจ้าใจโดยมาก ด้วยเป็นคำมคธคำไทยเจืออยู่แต่คำเขมรไม่เข้าใจเลย ขอให้ล่ามเขมรเขียนอักษรขอมบรรทัดหนึ่ง อักษรไทยอ่านเปนสำเนียงเขมรบรรทัดหนึ่ง คำแปลภาษาเขมรเขียนลงไว้ใต้คำเขมรที่เขียนอักษรไทย หนังสือชนิดนี้ ควรจะเข้าอาไคฟ ขอให้เก็บให้จงดี"
|
||||||||
|
บทบาทหน้าที่
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มีหน้า ที่ศึกษาวิเคราะห์ วางระบบ เพื่อการรวบรวมเอกสารจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและองค์กรต่างๆ และเก็บรักษา อนุรักษ์เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิงการ ปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น ประวัติการจัดตั้ง อำนาจหน้าที่ การบริหารงาน นโยบาย แผนงาน โครงการ ข้อมูลภาพถ่ายและแถบบันทึกเสียงเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญและเป็นหลักฐานในการคุ้มครองสิทธิบุคคลและสถาบัน นอกจากนี้ยังดำเนินการบันทึกเหตุการณ์สำคัญของชาติไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ รวมถึงเป็นศูนย์ข้อมูลและศูนย์ประสานงานจดหมายเหตุทั้งในประเทศและต่างประเทศและดำเนินงานด้านจดหมายเหตุเฉพาะ ได้แก่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและหอจดหมายเหตุบุคคลสำคัญของชาติ
- ศึกษา วิเคราะห์ วางมาตาฐานกาจัดเก็บ การรับมอบ และการรับฝากเอกสารจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและองค์กรต่าง ๆ
- ศึกษา พัฒนา วิเคราะห์ วิจัย ประเมินคุณค่า จัดหมวดหมู่และทำเครื่องมือ ช่วยค้น การจัดเก็บ การอนุรักษ์ การเผยแพร่ และการให้บริการเอกสารจดหมายเหตุ
- ดำเนินงานหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช
- บันทึกเหตุการณ์สำคัญของชาติที่เกิดขึ้นในประเทศและต่างประเทศ
- ดำเนินการหอภาพยนตร์แห่งชาติ
- ดำเนินงานศูนย์สารสนเทศเอกสารจดหมายเหตุ
- ดำเนินการในฐานะเป็นศูนย์ข้อมูลและศูนย์ประสานงานจดหมายเหตุทั้งในประเทศและต่างประทศ
- ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการดำเนินงานจดหมายเหตุ
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(จำนวนผู้เข้าชม 605 ครั้ง)
วิสัยทัศน์องค์กร
“หอจดหมายเหตุแห่งชาติใช้พระราชบัญญัติจดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๖ สนับสนุนองค์กรให้มีความเป็นเลิศในวิชาการจดหมายเหตุและการบริหารจัดการเอกสารจดหมายเหตุของประเทศไทย”
เป้าหมายขององค์กร
1. แสวงหา รวบรวม ประเมินคุณค่า เก็บรักษา อนุรักษ์ และให้บริการเอกสารสำคัญของชาติ
|
2. ศึกษา ค้นคว้าและวิจัยทางวิชาการจดหมายเหตุ เพื่อการพัฒนาและเผยแพร่ เอกสารสำคัญของชาติ
|
3. บันทึกเหตุการณ์สำคัญของชาติที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประ เทศไว้เป็นหลักฐานอ้างอิงทาง
ประวัติศาสตร์ของชาติ
|
4. แสวงหา รวบรวม ประเมินคุณค่า เก็บรักษา อนุรักษ์และให้บริการภาพยนตร์ไทย
|
5. ดำเนินงานจดหมายเหตุในส่วนภูมิภาค
|
6. เป็นศูนย์กลางความร่วมมือเกี่ยวกับกิจการจดหมายเหตุทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
|
7. เป็นศูนย์รับฝากเก็บเอกสารสำคัญของส่วนราชการ
|
8 . เป็นศูนย์ให้บริการสารนิเทศจดหมายเหตุ
|
9 . เผยแพร่กิจกรรมจดหมายเหตุ
|
10. นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานจดหมายเหตุ
|
เป้าหมายระดับสำนัก
๑. เป็นหน่วยงานหลักในการรวบรวม เก็บสงวนรักษา และให้บริการเอกสารสำคัญที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
๒. เป็นหน่วยงานจัดระบบสืบค้นที่ได้มาตรฐาน ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเอกสารต่าง ๆ ได้ง่าย
๓. เป็นศูนย์กลางการซ่อมอนุรักษ์เอกสารสำคัญที่ได้รับความเชื่อถือ และไว้วางใจในระดับชาติและภูมิภาค
(จำนวนผู้เข้าชม 362 ครั้ง)