วันพระญาวัน (วันพญาวัน)
วันพระญาวัน (วันพญาวัน)
ในปี พ.ศ. 2567 นี้ ตรงกับวันที่ 16 เมษายน 2567 เป็นวันเถลิงศกเริ่มต้นศักราชใหม่วันนี้
ประชาชนจะตื่นแต่เช้าไปทำบุญตักบาตรที่วัด พร้อมกับนำช่อทุงไปปักที่เจดีย์ทรายที่ได้ร่วมกันทำไว้ในวันก่อน การถวายภัตตาหารหรือที่เรียกว่า ทานขันเข้า (อ่าน "ตานขันเข้า") นี้ บางคนก็จะทำบุญกันหลายสำรับ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษหรือญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วด้วย บางคนอาจนำสำรับอาหารไปมอบให้แก่บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้ที่ตนเคารพนับถือโดยความเคารพอย่างการถวายให้แก่พระสงฆ์ด้วย ซึ่งการทำบุญเช่นนี้ เรียกว่า ทานขันเข้าคนเฒ่าคนแก่ ฟังพระธรรมเทศนา เช่น เทศน์อานิสงส์ปีใหม่ ๑ กัณฑ์ เสร็จแล้วโอกาสเวนทานและเวนทานต่างๆ ตลอดถึงเวนทานเจดีย์ทรายด้วย
เตรียมไม้ง่ามไปถวายสำหรับค้ำต้นโพธิ์ ไม้ง่ามนี้จะมีกรวยดอกไม้ธูปเทียนและกระบอกบรรจุน้ำและทรายผูกติดกับไม้ง่ามไปด้วย การทานไม้ง่ามนี้ ถือคติว่าเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการจะช่วยกันค้ำจุนพระศาสนาให้ยืนยาวต่อไป
นำเอาน้ำเข้าหมิ่นส้มป้อย คือน้ำอบน้ำหอม ซึ่งปรุงด้วยฝักส้มป่อยและดอกไม้หอมที่ตากแห้งเช่น ดอกสารภีที่เตรียมมาด้วยนั้น สรงน้ำทั้งพระพุทธรูป สถูปเจดีย์ รวมทั้งสรงน้ำพระภิกษุเจ้าอาวาสด้วย
มีการไปดำหัวหรือไปคารวะผู้เฒ่าผู้แก่ บิดามารดา ญาติพี่น้องผู้อาวุโสหรือผู้มีบุญคุณหรือผู้ที่เคารพนับถือ เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษอันเนื่องจากที่อาจได้ประพฤติในสิ่งที่ไม่สมควรต่อท่านเหล่านั้น การดำหัวนี้ก็อาจกระทำแก่ครูบาอาจารย์ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลสำคัญในชุมชนนั้นๆเช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
"วันพระญาวัน (๑) (วันเถลิงศก)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 12. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 6231-6232.
อุดม รุ่งเรืองศรี. "ปีใหม่ (สงกรานต์)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 3834-3841..
ในปี พ.ศ. 2567 นี้ ตรงกับวันที่ 16 เมษายน 2567 เป็นวันเถลิงศกเริ่มต้นศักราชใหม่วันนี้
ประชาชนจะตื่นแต่เช้าไปทำบุญตักบาตรที่วัด พร้อมกับนำช่อทุงไปปักที่เจดีย์ทรายที่ได้ร่วมกันทำไว้ในวันก่อน การถวายภัตตาหารหรือที่เรียกว่า ทานขันเข้า (อ่าน "ตานขันเข้า") นี้ บางคนก็จะทำบุญกันหลายสำรับ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษหรือญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วด้วย บางคนอาจนำสำรับอาหารไปมอบให้แก่บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้ที่ตนเคารพนับถือโดยความเคารพอย่างการถวายให้แก่พระสงฆ์ด้วย ซึ่งการทำบุญเช่นนี้ เรียกว่า ทานขันเข้าคนเฒ่าคนแก่ ฟังพระธรรมเทศนา เช่น เทศน์อานิสงส์ปีใหม่ ๑ กัณฑ์ เสร็จแล้วโอกาสเวนทานและเวนทานต่างๆ ตลอดถึงเวนทานเจดีย์ทรายด้วย
เตรียมไม้ง่ามไปถวายสำหรับค้ำต้นโพธิ์ ไม้ง่ามนี้จะมีกรวยดอกไม้ธูปเทียนและกระบอกบรรจุน้ำและทรายผูกติดกับไม้ง่ามไปด้วย การทานไม้ง่ามนี้ ถือคติว่าเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการจะช่วยกันค้ำจุนพระศาสนาให้ยืนยาวต่อไป
นำเอาน้ำเข้าหมิ่นส้มป้อย คือน้ำอบน้ำหอม ซึ่งปรุงด้วยฝักส้มป่อยและดอกไม้หอมที่ตากแห้งเช่น ดอกสารภีที่เตรียมมาด้วยนั้น สรงน้ำทั้งพระพุทธรูป สถูปเจดีย์ รวมทั้งสรงน้ำพระภิกษุเจ้าอาวาสด้วย
มีการไปดำหัวหรือไปคารวะผู้เฒ่าผู้แก่ บิดามารดา ญาติพี่น้องผู้อาวุโสหรือผู้มีบุญคุณหรือผู้ที่เคารพนับถือ เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษอันเนื่องจากที่อาจได้ประพฤติในสิ่งที่ไม่สมควรต่อท่านเหล่านั้น การดำหัวนี้ก็อาจกระทำแก่ครูบาอาจารย์ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลสำคัญในชุมชนนั้นๆเช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
"วันพระญาวัน (๑) (วันเถลิงศก)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 12. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 6231-6232.
อุดม รุ่งเรืองศรี. "ปีใหม่ (สงกรานต์)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 3834-3841..
(จำนวนผู้เข้าชม 103 ครั้ง)