วันเนา (วันเนา วันเนาว์ หรือ วันเน่า)
วันเนา (วันเนา วันเนาว์ หรือ วันเน่า)
ในปี พ.ศ.2567 วันเนามี 2 วัน คือวันที่ 14-15 เมษายน 2567 วันเนา
ซึ่งชาวล้านนานิยมเรียกว่า วันเน่า วันที่อยู่ระหว่างวันสงกรานต์อันเป็นวันสิ้นสุดของปีเก่าและวันพระญาวันหรือวันเถลิงศกในศักราชใหม่ เป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ระหว่างราศีมีนและราศีเมษ แม้จะเข้าสู่ราศีเมษบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่สถิตเต็มราศีจึงเป็นระยะที่ยัง "เนา" ไว้ก่อน แต่ในการออกเสียงแล้วทั่วไปมักเรียก "วันเน่า" โดยปกติแล้วแต่ละปีจะมีวันเนาเพียงวันเดียว แต่ในบางปีก็อาจจะมีวันเนาถึงสองวันก็ได้ ซึ่งก็แล้วแต่ผลของการคำนวณวิถีการโคจรของดวงอาทิตย์
ห้ามการกระทำสิ่งที่ไม่เป็นมงคล โดยเฉพาะห้ามการด่าทอทะเลาะวิวาทกัน กล่าวกันว่าผู้ใดที่ด่าทอผู้อื่นในวันนี้แล้ว ปากของผู้นั้นจะเน่าและหากวิวาทกันในวันนี้ บุคคลผู้นั้นจะอัปมงคลไปตลอดปี ส่วนผู้ประสงค์จะปลูกเรือนด้วยไม้ไผ่ ก็ให้รีบตัดในวันนี้ เพราะเชื่อกันว่าไม้จะ "เน่า" และไม่มีมอดหรือปลวกมากินไม้ดังกล่าว นอกจากนี้ยังต้องระวังเนื้อระวังตัว อย่าให้เกิดบาดแผลขึ้นได้ เพราะจะเกิดเน่ารักษาให้หายได้ยาก
วันเนานี้จะเป็นวันเตรียมงาน จัดเตรียมสิ่งของต่างๆ อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันดา ชาวบ้านจะพากันไปซื้อของเพื่อกินและใช้ รวมไปถึงของที่นำไปทำบุญในวันพระญาวัน ขนมที่นิยมทำกันในเทศกาลสงกรานต์นี้มีหลายชนิด เช่น เข้าหนมจ็อก คือขนมใส่ไส้อย่างขนมเทียน เข้าหนมปาดหรือศิลาอ่อนคือขนมอย่างขนมถาดของภาคกลาง เข้าวิทู คือข้าวเหนียวแดงเข้าแดนคือขนมนางเล็ด เข้าแตบ คือข้าวเกรียบซึ่งมีขนาดประมาณฝ่ามือ เข้าตวบ คือข้าวเกรียบว่าว เข้าพอง คือขนมอย่างข้าวพองของภาคกลาง เข้าหนมตายลืม คือข้าวเหนียวคนกับกะทิและใส่น้ำอ้อยแล้วนึ่งแต่ไม่ให้สุกดีนัก เข้าต้มหัวหงอก คือข้าวต้มมัดที่โรยด้วยฝอยมะพร้าวขูด เข้าหนมวงคือขนมกง เข้าหนมเกลือ คือขนมเกลือ แต่ทั้งนี้ ขนมที่นิยมทำมากที่สุดในช่วงสงกรานต์คือ เข้าหนมจ๊อก
มีการขนทรายจากแม่น้ำไปก่อเจดีย์ทรายกันที่วัด ปกติทรายที่นำเข้าวัดนั้นมักกองรวมกันทำเป็นเจดีย์ซึ่งบางครั้งจะมีกระบะไม้หรือไม้ไผ่สานสำหรับกั้นขอบทรายเพื่อให้สามารถกองต่อเนื่องกันสูงขึ้นไปเป็นรูปเจดีย์การขนทรายเข้าวัดนี้ถือว่าเป็นการนำทรายมาทดแทนส่วนที่ดิดเท้าของตนออกจากวัด ซึ่งเสมอกับได้ลักของจากวัด จัดเตรียมตัดกระดาษสีต่างๆ มาทำ ทุง หรือธงอย่างธงตะขาบหรืออาจจะทำช่อซึ่งเป็นธงรูปสามเหลี่ยมบ้างก็ได้ คันทุงมักทำด้วยก้านของต้นเขือง ชาวบ้านจะนำทุงที่ตัดเป็นลวดลายจำนวนหลายตัวมาแขวนไว้กับก้านเขืองเตรียมไว้สำหรับนำไปปักที่เจดีย์ทรายในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวัน พระญาวัน เริ่มมีการเล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน
เอกสารอ้างอิง
อุดม รุ่งเรืองศรี. "ปีใหม่ (สงกรานต์)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 3834-3841.
"วันเนา (ก่อนวันเถลิงศก)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 12. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 6226-6226.
ในปี พ.ศ.2567 วันเนามี 2 วัน คือวันที่ 14-15 เมษายน 2567 วันเนา
ซึ่งชาวล้านนานิยมเรียกว่า วันเน่า วันที่อยู่ระหว่างวันสงกรานต์อันเป็นวันสิ้นสุดของปีเก่าและวันพระญาวันหรือวันเถลิงศกในศักราชใหม่ เป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ระหว่างราศีมีนและราศีเมษ แม้จะเข้าสู่ราศีเมษบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่สถิตเต็มราศีจึงเป็นระยะที่ยัง "เนา" ไว้ก่อน แต่ในการออกเสียงแล้วทั่วไปมักเรียก "วันเน่า" โดยปกติแล้วแต่ละปีจะมีวันเนาเพียงวันเดียว แต่ในบางปีก็อาจจะมีวันเนาถึงสองวันก็ได้ ซึ่งก็แล้วแต่ผลของการคำนวณวิถีการโคจรของดวงอาทิตย์
ห้ามการกระทำสิ่งที่ไม่เป็นมงคล โดยเฉพาะห้ามการด่าทอทะเลาะวิวาทกัน กล่าวกันว่าผู้ใดที่ด่าทอผู้อื่นในวันนี้แล้ว ปากของผู้นั้นจะเน่าและหากวิวาทกันในวันนี้ บุคคลผู้นั้นจะอัปมงคลไปตลอดปี ส่วนผู้ประสงค์จะปลูกเรือนด้วยไม้ไผ่ ก็ให้รีบตัดในวันนี้ เพราะเชื่อกันว่าไม้จะ "เน่า" และไม่มีมอดหรือปลวกมากินไม้ดังกล่าว นอกจากนี้ยังต้องระวังเนื้อระวังตัว อย่าให้เกิดบาดแผลขึ้นได้ เพราะจะเกิดเน่ารักษาให้หายได้ยาก
วันเนานี้จะเป็นวันเตรียมงาน จัดเตรียมสิ่งของต่างๆ อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันดา ชาวบ้านจะพากันไปซื้อของเพื่อกินและใช้ รวมไปถึงของที่นำไปทำบุญในวันพระญาวัน ขนมที่นิยมทำกันในเทศกาลสงกรานต์นี้มีหลายชนิด เช่น เข้าหนมจ็อก คือขนมใส่ไส้อย่างขนมเทียน เข้าหนมปาดหรือศิลาอ่อนคือขนมอย่างขนมถาดของภาคกลาง เข้าวิทู คือข้าวเหนียวแดงเข้าแดนคือขนมนางเล็ด เข้าแตบ คือข้าวเกรียบซึ่งมีขนาดประมาณฝ่ามือ เข้าตวบ คือข้าวเกรียบว่าว เข้าพอง คือขนมอย่างข้าวพองของภาคกลาง เข้าหนมตายลืม คือข้าวเหนียวคนกับกะทิและใส่น้ำอ้อยแล้วนึ่งแต่ไม่ให้สุกดีนัก เข้าต้มหัวหงอก คือข้าวต้มมัดที่โรยด้วยฝอยมะพร้าวขูด เข้าหนมวงคือขนมกง เข้าหนมเกลือ คือขนมเกลือ แต่ทั้งนี้ ขนมที่นิยมทำมากที่สุดในช่วงสงกรานต์คือ เข้าหนมจ๊อก
มีการขนทรายจากแม่น้ำไปก่อเจดีย์ทรายกันที่วัด ปกติทรายที่นำเข้าวัดนั้นมักกองรวมกันทำเป็นเจดีย์ซึ่งบางครั้งจะมีกระบะไม้หรือไม้ไผ่สานสำหรับกั้นขอบทรายเพื่อให้สามารถกองต่อเนื่องกันสูงขึ้นไปเป็นรูปเจดีย์การขนทรายเข้าวัดนี้ถือว่าเป็นการนำทรายมาทดแทนส่วนที่ดิดเท้าของตนออกจากวัด ซึ่งเสมอกับได้ลักของจากวัด จัดเตรียมตัดกระดาษสีต่างๆ มาทำ ทุง หรือธงอย่างธงตะขาบหรืออาจจะทำช่อซึ่งเป็นธงรูปสามเหลี่ยมบ้างก็ได้ คันทุงมักทำด้วยก้านของต้นเขือง ชาวบ้านจะนำทุงที่ตัดเป็นลวดลายจำนวนหลายตัวมาแขวนไว้กับก้านเขืองเตรียมไว้สำหรับนำไปปักที่เจดีย์ทรายในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวัน พระญาวัน เริ่มมีการเล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน
เอกสารอ้างอิง
อุดม รุ่งเรืองศรี. "ปีใหม่ (สงกรานต์)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 3834-3841.
"วันเนา (ก่อนวันเถลิงศก)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 12. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 6226-6226.
(จำนวนผู้เข้าชม 671 ครั้ง)