บ้องไฟเมืองน่าน
บ้องไฟเมืองน่าน
จาก สารคดี 5 นาที กองวิทยาการ กรมประชาสัมพันธ์ ปี พ.ศ. 2513
เอนก ส่งแสง
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๓
ประเพณีการแห่บ้องไฟของชาวจังหวัดน่านที่ผู้เขียนจะได้นํามาเสนอ ท่านผู้ฟังในวันนี้เก็บความมาจาก พงศาวดารเมืองเหนือ ตอนที่ว่า ด้วยเมืองน่าน และจากรายงานกิจการประจำปีของจังหวัดน่าน ปี ๒๕๐๖ เพราะเห็นว่ามีสาระน่ารู้ควรแก่การที่จะได้นําออกเสนอให้ท่านผู้ฟังได้ทราบบ้าง เท่ากับเป็นการรักษาไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามอีกโสดหนึ่งด้วย
การแห่บ้องไฟของชาวจังหวัดน่าน มีปรากฏในพงศาวดารเมืองน่านว่า ครั้งพญาการเมืองโปรดให้สมโภชเฉลิมฉลององค์พระธาตุแช่แห้งครั้งแรก (พระธาตุแช่แห้งเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดน่าน) ซึ่งได้ทรงก่อสร้างและประจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง ประชาชนได้จัดทำบ้องไฟนําไปจุดเป็นพุทธบูชามากหลาย การจุดบ้องไฟในครั้งนั้น กล่าวว่าเป็นเวลานานถึง ๗ วัน ๗ คืน จึงหมดสิ้น ด้วยเหตุนี้เมื่อมีงานพิธีทางศาสนา เช่น มีงานสมโภชเฉลิมฉลองวัดวาอาราม จึงนิยมจุดบ้องไฟเป็นพุทธบูชาเสมอมา เฉพาะงานเทศกาลนมัสการพระธาตุแช่แห้ง พระธาตุเขาน้อย พระพุทธรูปทองทิพย์ ซึ่งเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญของจังหวัดน่าน มีการแห่แหนน้องไฟกันอย่างมโหฬาร ซึ่งสมัยเมื่อยังมีเจ้าครองนครด้วยแล้วจะต้องมีบ้องไฟส่วนพระองค์อย่างน้อย ๓ กระบอก และต้องทำให้กระบอกใหญ่กว่าของราษฎร จะต้องไปทรงเป็นประธาน ณ ประรำที่พักซึ่งจัดไว้ และเจ้าครองนครจะต้องทรงจุดบ้องไฟนําก่อนด้วย
ขบวนแห่บ้องไฟแต่ละคณะและวัดต่าง ๆ นั้น ประกวดประชันกันยิ่งนัก มีกลองยาว ฉิ่ง ฉาบ ฆ้องโหม่งใหญ่ เล็ก หลายลูกตามลำดับ มีประสานเสียงกันอย่างครื้นเครง (ทํานองเดียวกันกับการตีประกอบฟ้อนเล็บเชียงใหม่) มีนักรำ ร่ายรำเข้ากับจังหวะฆ้องกลอง เป็นระเบียบสวยงามและร้องหมู่เป็นคํากลอนเรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า “กําฮ่กบ่อกไฟ” เป็นคํากล่าว ยกย่องบูชาสิ่งเคารพในพุทธศาสนาซึ่งต้องนําบ้องไฟไปจุดเป็นพุทธบูชา
เมื่อแห่บ้องไฟไปถึงที่จะจุดแล้ว ก็มีผู้นําบ้องไฟขึ้นไปบนห้างหรือค้างซึ่งทำไว้สำหรับจุดบ้องไฟโดยเฉพาะเมื่อนําบ้องไฟขึ้นไปเพื่อเตรียมจุดนั้น ผู้จุดซึ่งอยู่บนค้างจะประกาศให้บรรดาผู้ดูทราบว่าเป็นบ้องไฟของคณะศรัทธาวัดไหน เมื่อได้ประกาศให้ผู้ดูทราบแล้วก็จะถึงเวลาจุด ในการจุดนั้นมีวิธีอยู่ ๒ วิธีคือ จุดทางหัวลงและจุดทางท้ายขึ้น จุดทางหัวลงใช้สายชนวนสอดลงไปตามรูที่เจาะไว้ จุดทางท้ายขึ้นใช้หลอดไม้ไผ่ยาว สอดสายชนวนไปตามหลอดไม้ไผ่แล้วสอดไม้ไผ่เข้าไปตามรูที่เจาะไว้
ในการทำบ้องไฟนั้นอุปกรณ์ในการทำก็มี ไม้ไผ่ป่าขนาดพอเหมาะที่จะทำเป็นกระบอกบ้องไฟได้ (ปัจจุบันนิยมใช้กระบอกสังกระสีเป็นกระบอก) ไม้เรี้ย ดินประสิว ถ่าน และหวาย ดินประสิวมากน้อยตามขนาดของบ้องไฟ ตําดินประสิวกับถ่านคลุกกันให้ละเอียดอย่างดินปืนธรรมดา แล้วบรรจุลงในกระบอกไม้กระทุ้งให้แน่นจนได้ที่ ตอนปลายสุดของกระบอกไม้ให้เหลือไว้ประมาณ ๑ ศอก ใช้ดินเหนียวผสม บรรจุลงในกระบอกไม้ที่เหลือไว้ แล้วกระทุ้งให้แน่น ทับดินปืน ใช้เหล็กจี (เหล็กแหลม ) ขนาดต่าง ๆ เจาะเนื้อดินเหนียวและดินปืนที่บรรจุในกระบอกไม้ ตลอดตั้งแต่ท้ายจดหัว แล้วตัดไม้เรี้ยเป็นท่อน ๆ ตามลำดับปล้องสั้นยาว ลดหลั่น กันมากน้อยตามขนาดของบ้องไฟ ตรงปากกระบอกไม้ตกแต่งให้เป็นรูปปากฉลามทั้งหมดนี้รวม เรียกว่า “โหว้บอกไฟ” หางของบ้องไฟต้องใช้ไม้เรี้ยยาวและตรงตลอด ตอนหัวของไม้เรี้ยที่ทำเป็นหาง ตรงปากกระบอกตกแต่งเป็นรูปปากฉลามเช่นเดียวกับ โหว้ เรียกว่า โตน แล้วนําโตนกับโหวมาประกอบกันเอาหวายมัดให้แน่นติดกับลําตัวของบ้องไฟ เมื่อบ้องไฟพุ่งขึ้นไปบนอากาศ จนหมดกําลังดินปืนแล้วจะหันหัวตกลงสู่พื้นดิน เมื่อโหว้และโตนที่ผูกติดกับลําตัวของบ้องไฟถูกลมเป่าตอนกลาง จึงเกิดเสียงดังขึ้นหลายเสียงตามเสียงลดหลั่นของกระบอกไม้เป็นเสียงประสานและดังกึกก้องเป็นที่ชื่นชอบของคนดูและเจ้าของบ้องไฟ ฆ้องกลองจะตีประสานกันอย่างอื้ออึง หนุ่มสาวเฒ่าแก่ก็ฟ้อนรําสลับกันไปด้วย เป็นที่สนุกสนานยิ่งนัก
การจุดบ้องไฟเป็นพุทธบูชานี้ ชาวเมืองน่านยังคงกระทำเป็นประเพณีอยู่จนทุกวันนี้ และทำเป็นประจำทุกปีที่ถือกันว่าเป็นงานใหญ่ก็คือ จุดในงานเทศกาลนมัสการพระธาตุแช่แห้ง พระธาตุเขาน้อย และพระพุทธรูปทองทิพย์ โดยถือเอาวันเพ็ญเดือน ๓ วันเพ็ญเดือน ๖ และ วันสงกรานต์ ตามลำดับเป็นวันเริ่มจุด หากท่านผู้ฟังใคร่จะได้เห็นประเพณีดังกล่าวนี้แล้วละก้อ ควรจะได้ไปให้ตรงกับงานเทศกาลดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนขอรับรองว่าท่านจะไม่ผิดหวัง
ภาพงานประเพณีสงกรานต์ เทศบาลเมืองน่าน ปี 2542
เอกสารอ้างอิง
กรมประชาสัมพันธ์. กองวิทยาการ. สารคดี 5 นาที. โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ : กรุงเทพฯ. 2515 เข้าถึงได้โดย https://digital.library.tu.ac.th/.../Info/item/dc:138634
จาก สารคดี 5 นาที กองวิทยาการ กรมประชาสัมพันธ์ ปี พ.ศ. 2513
เอนก ส่งแสง
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๓
ประเพณีการแห่บ้องไฟของชาวจังหวัดน่านที่ผู้เขียนจะได้นํามาเสนอ ท่านผู้ฟังในวันนี้เก็บความมาจาก พงศาวดารเมืองเหนือ ตอนที่ว่า ด้วยเมืองน่าน และจากรายงานกิจการประจำปีของจังหวัดน่าน ปี ๒๕๐๖ เพราะเห็นว่ามีสาระน่ารู้ควรแก่การที่จะได้นําออกเสนอให้ท่านผู้ฟังได้ทราบบ้าง เท่ากับเป็นการรักษาไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามอีกโสดหนึ่งด้วย
การแห่บ้องไฟของชาวจังหวัดน่าน มีปรากฏในพงศาวดารเมืองน่านว่า ครั้งพญาการเมืองโปรดให้สมโภชเฉลิมฉลององค์พระธาตุแช่แห้งครั้งแรก (พระธาตุแช่แห้งเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดน่าน) ซึ่งได้ทรงก่อสร้างและประจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง ประชาชนได้จัดทำบ้องไฟนําไปจุดเป็นพุทธบูชามากหลาย การจุดบ้องไฟในครั้งนั้น กล่าวว่าเป็นเวลานานถึง ๗ วัน ๗ คืน จึงหมดสิ้น ด้วยเหตุนี้เมื่อมีงานพิธีทางศาสนา เช่น มีงานสมโภชเฉลิมฉลองวัดวาอาราม จึงนิยมจุดบ้องไฟเป็นพุทธบูชาเสมอมา เฉพาะงานเทศกาลนมัสการพระธาตุแช่แห้ง พระธาตุเขาน้อย พระพุทธรูปทองทิพย์ ซึ่งเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญของจังหวัดน่าน มีการแห่แหนน้องไฟกันอย่างมโหฬาร ซึ่งสมัยเมื่อยังมีเจ้าครองนครด้วยแล้วจะต้องมีบ้องไฟส่วนพระองค์อย่างน้อย ๓ กระบอก และต้องทำให้กระบอกใหญ่กว่าของราษฎร จะต้องไปทรงเป็นประธาน ณ ประรำที่พักซึ่งจัดไว้ และเจ้าครองนครจะต้องทรงจุดบ้องไฟนําก่อนด้วย
ขบวนแห่บ้องไฟแต่ละคณะและวัดต่าง ๆ นั้น ประกวดประชันกันยิ่งนัก มีกลองยาว ฉิ่ง ฉาบ ฆ้องโหม่งใหญ่ เล็ก หลายลูกตามลำดับ มีประสานเสียงกันอย่างครื้นเครง (ทํานองเดียวกันกับการตีประกอบฟ้อนเล็บเชียงใหม่) มีนักรำ ร่ายรำเข้ากับจังหวะฆ้องกลอง เป็นระเบียบสวยงามและร้องหมู่เป็นคํากลอนเรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า “กําฮ่กบ่อกไฟ” เป็นคํากล่าว ยกย่องบูชาสิ่งเคารพในพุทธศาสนาซึ่งต้องนําบ้องไฟไปจุดเป็นพุทธบูชา
เมื่อแห่บ้องไฟไปถึงที่จะจุดแล้ว ก็มีผู้นําบ้องไฟขึ้นไปบนห้างหรือค้างซึ่งทำไว้สำหรับจุดบ้องไฟโดยเฉพาะเมื่อนําบ้องไฟขึ้นไปเพื่อเตรียมจุดนั้น ผู้จุดซึ่งอยู่บนค้างจะประกาศให้บรรดาผู้ดูทราบว่าเป็นบ้องไฟของคณะศรัทธาวัดไหน เมื่อได้ประกาศให้ผู้ดูทราบแล้วก็จะถึงเวลาจุด ในการจุดนั้นมีวิธีอยู่ ๒ วิธีคือ จุดทางหัวลงและจุดทางท้ายขึ้น จุดทางหัวลงใช้สายชนวนสอดลงไปตามรูที่เจาะไว้ จุดทางท้ายขึ้นใช้หลอดไม้ไผ่ยาว สอดสายชนวนไปตามหลอดไม้ไผ่แล้วสอดไม้ไผ่เข้าไปตามรูที่เจาะไว้
ในการทำบ้องไฟนั้นอุปกรณ์ในการทำก็มี ไม้ไผ่ป่าขนาดพอเหมาะที่จะทำเป็นกระบอกบ้องไฟได้ (ปัจจุบันนิยมใช้กระบอกสังกระสีเป็นกระบอก) ไม้เรี้ย ดินประสิว ถ่าน และหวาย ดินประสิวมากน้อยตามขนาดของบ้องไฟ ตําดินประสิวกับถ่านคลุกกันให้ละเอียดอย่างดินปืนธรรมดา แล้วบรรจุลงในกระบอกไม้กระทุ้งให้แน่นจนได้ที่ ตอนปลายสุดของกระบอกไม้ให้เหลือไว้ประมาณ ๑ ศอก ใช้ดินเหนียวผสม บรรจุลงในกระบอกไม้ที่เหลือไว้ แล้วกระทุ้งให้แน่น ทับดินปืน ใช้เหล็กจี (เหล็กแหลม ) ขนาดต่าง ๆ เจาะเนื้อดินเหนียวและดินปืนที่บรรจุในกระบอกไม้ ตลอดตั้งแต่ท้ายจดหัว แล้วตัดไม้เรี้ยเป็นท่อน ๆ ตามลำดับปล้องสั้นยาว ลดหลั่น กันมากน้อยตามขนาดของบ้องไฟ ตรงปากกระบอกไม้ตกแต่งให้เป็นรูปปากฉลามทั้งหมดนี้รวม เรียกว่า “โหว้บอกไฟ” หางของบ้องไฟต้องใช้ไม้เรี้ยยาวและตรงตลอด ตอนหัวของไม้เรี้ยที่ทำเป็นหาง ตรงปากกระบอกตกแต่งเป็นรูปปากฉลามเช่นเดียวกับ โหว้ เรียกว่า โตน แล้วนําโตนกับโหวมาประกอบกันเอาหวายมัดให้แน่นติดกับลําตัวของบ้องไฟ เมื่อบ้องไฟพุ่งขึ้นไปบนอากาศ จนหมดกําลังดินปืนแล้วจะหันหัวตกลงสู่พื้นดิน เมื่อโหว้และโตนที่ผูกติดกับลําตัวของบ้องไฟถูกลมเป่าตอนกลาง จึงเกิดเสียงดังขึ้นหลายเสียงตามเสียงลดหลั่นของกระบอกไม้เป็นเสียงประสานและดังกึกก้องเป็นที่ชื่นชอบของคนดูและเจ้าของบ้องไฟ ฆ้องกลองจะตีประสานกันอย่างอื้ออึง หนุ่มสาวเฒ่าแก่ก็ฟ้อนรําสลับกันไปด้วย เป็นที่สนุกสนานยิ่งนัก
การจุดบ้องไฟเป็นพุทธบูชานี้ ชาวเมืองน่านยังคงกระทำเป็นประเพณีอยู่จนทุกวันนี้ และทำเป็นประจำทุกปีที่ถือกันว่าเป็นงานใหญ่ก็คือ จุดในงานเทศกาลนมัสการพระธาตุแช่แห้ง พระธาตุเขาน้อย และพระพุทธรูปทองทิพย์ โดยถือเอาวันเพ็ญเดือน ๓ วันเพ็ญเดือน ๖ และ วันสงกรานต์ ตามลำดับเป็นวันเริ่มจุด หากท่านผู้ฟังใคร่จะได้เห็นประเพณีดังกล่าวนี้แล้วละก้อ ควรจะได้ไปให้ตรงกับงานเทศกาลดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนขอรับรองว่าท่านจะไม่ผิดหวัง
ภาพงานประเพณีสงกรานต์ เทศบาลเมืองน่าน ปี 2542
เอกสารอ้างอิง
กรมประชาสัมพันธ์. กองวิทยาการ. สารคดี 5 นาที. โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ : กรุงเทพฯ. 2515 เข้าถึงได้โดย https://digital.library.tu.ac.th/.../Info/item/dc:138634
(จำนวนผู้เข้าชม 144 ครั้ง)