ครุฑยุดนาค
ครุฑยุดนาค
วัสดุ : ไม้ ล่องชาด ปิดทอง ประดับกระจก
แบบศิลปะ/อายุสมัย ศิลปะรัตนโกสินทร์ ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ (๑๐๐-๒๐๐ ปีมาแล้ว)
ประวัติ : ผู้ว่าราชการจังหวัดน่านรับมอบจากพระครูศิริคุณาทาน เจ้าอาวาสวัดท่าล้อ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน สันนิษฐานว่าเดิมประดับอยู่ในส่วนของหน้าบันอาคาร เช่น วิหาร เป็นต้น
ครุฑ อ้าปาก สวมมุงกุฎยอด หรือมงกุฎชัย กรรณเจียกจร กรองศอ กำไลแขน กำไลข้อมือ เปลือยท่อนบน นุ่งผ้าชายเพือย ทำท่าในลักษณะเท้าทั้งสองจับส่วนลำตัวนาค แขนทั้งสองจับส่วนหัว และส่วนหางของนาค ปีกทั้งสองสยายออกข้างลำตัว กล่าวว่าการจับนาคจะจับบริเวณต้นกับเกือบถึงปลายหางเพื่อป้องการการเหนี่ยวรัดและแว้งกัด กรงเล็บจะขย้ำลงที่ใต้ท้องนาค
ในครุฑปุราณะ กล่าวว่า นางกัทรุขอพระจากพรกัศยปมุนีให้มีบุตรเป็นนาค ส่วนนางวินตามีบุตรเป็นครุฑ ซึ่งนางทั้งสองแก่งแย่งชิงดีกัน ครุฑมักจะกินนาคเป็นอาหารเสมอ แม้ในวรรณคดีสันสกฤตเอง ยังมีการกล่าวถึงครุฑว่า ครุฑมีอาหารเป็นนาค เพราะฉะนั้นครุฑจึงกินนาคเป็นอาหาร ในกาลต่อมาครุฑกับนาค จึงกลับกลายมาเป็นศัตรูกันสืบมา
ครุฑยุดนาค หรือ ครุฑจับนาค เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ระหว่างดีและชั่ว
เอกสารอ้างอิง
พระบุญสม ธมฺมวโร (เชิดสูงเนิน). การศึกษาเปรียบเทียบครุฑในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
และพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๖๓.
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/77/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%91%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84/1.jpg)
วัสดุ : ไม้ ล่องชาด ปิดทอง ประดับกระจก
แบบศิลปะ/อายุสมัย ศิลปะรัตนโกสินทร์ ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ (๑๐๐-๒๐๐ ปีมาแล้ว)
ประวัติ : ผู้ว่าราชการจังหวัดน่านรับมอบจากพระครูศิริคุณาทาน เจ้าอาวาสวัดท่าล้อ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน สันนิษฐานว่าเดิมประดับอยู่ในส่วนของหน้าบันอาคาร เช่น วิหาร เป็นต้น
ครุฑ อ้าปาก สวมมุงกุฎยอด หรือมงกุฎชัย กรรณเจียกจร กรองศอ กำไลแขน กำไลข้อมือ เปลือยท่อนบน นุ่งผ้าชายเพือย ทำท่าในลักษณะเท้าทั้งสองจับส่วนลำตัวนาค แขนทั้งสองจับส่วนหัว และส่วนหางของนาค ปีกทั้งสองสยายออกข้างลำตัว กล่าวว่าการจับนาคจะจับบริเวณต้นกับเกือบถึงปลายหางเพื่อป้องการการเหนี่ยวรัดและแว้งกัด กรงเล็บจะขย้ำลงที่ใต้ท้องนาค
ในครุฑปุราณะ กล่าวว่า นางกัทรุขอพระจากพรกัศยปมุนีให้มีบุตรเป็นนาค ส่วนนางวินตามีบุตรเป็นครุฑ ซึ่งนางทั้งสองแก่งแย่งชิงดีกัน ครุฑมักจะกินนาคเป็นอาหารเสมอ แม้ในวรรณคดีสันสกฤตเอง ยังมีการกล่าวถึงครุฑว่า ครุฑมีอาหารเป็นนาค เพราะฉะนั้นครุฑจึงกินนาคเป็นอาหาร ในกาลต่อมาครุฑกับนาค จึงกลับกลายมาเป็นศัตรูกันสืบมา
ครุฑยุดนาค หรือ ครุฑจับนาค เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ระหว่างดีและชั่ว
เอกสารอ้างอิง
พระบุญสม ธมฺมวโร (เชิดสูงเนิน). การศึกษาเปรียบเทียบครุฑในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
และพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๖๓.
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/77/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%91%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84/1.jpg)
(จำนวนผู้เข้าชม 3189 ครั้ง)